เพลาปั๊มน้ำ (Water pump shaft) เกิดการแตกหักในระหว่างใช้งาน
(รูปที่ 1) เพลาดังกล่าวมีอายุการใช้งานประมาณ 10 เดือน
ชิ้นส่วนดังกล่าวผลิตจากเหล็กกล้าที่เติมโครเมียมสูง (รูปที่ 2) ปั๊มทำหน้าที่ดูดน้ำเสียที่ผ่านการบำบัด
ปั๊มไม่ได้ทำงานต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง
รูปที่ 1 เพลาปั๊มน้ำที่แตกหัก
รูปที่ 2 ส่วนผสมทางเคมีของเพลาปั๊มน้ำ
การตรวจสอบด้วยสายตา
เพลามีจุดเริ่มการแตกหักบริเวณบ่าเพลาที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่หน้าตัด
ซึ่งโดยรูปร่างจะเป็นตำแหน่งที่มีความเข้มของความเค้นสูง
(High stress concentration site) เมื่อตรวจสอบอย่างละเอียดบริเวณจุดเริ่มรอยแตกพบลักษณะของการกัดกร่อน
ไม่พบการยืดตัวหรือเสียรูปของเพลาแต่อย่างใด และผิวหน้าแตกทำมุมตั้งฉากกับแกนเพลา
การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก
ลักษณะทางมหภาคของผิวหน้าแตกหักแสดงให้ว่าเป็นการแตกหักด้วยกลไกการล้าจากการรับแรงดัดเป็นหลัก
(Unidirectional bending fatigue) และแรงบิด ผิวหน้าแตกหักสามารถแบ่งออกเป็น
2 โซน (ดังรูปที่ 3) ดังนี้
รูปที่ 3 ลักษณะทางมหภาคของผิวหน้าแตกหักของเพลาปั๊มน้ำที่แตกหัก
ผิวหน้ารอยแตกที่มีการขยายตัวของรอยแตกอย่างช้าๆ
จากการล้า (Fatigue zone) พบการขยายตัวของรอยแตกเริ่มจากบริเวณผิวด้านนอกของเพลาบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่หน้าตัด
โดยมีจุดเริ่มเพียงจุดเดียว (Single origin) แสดงให้เห็นว่าเพลาเกิดแตกหักจากการได้รับแรงกระทำแบบคาบในระหว่างใช้งานไม่สูงมาก
(Low overstress) แต่น่าจะเกิดจากความเค้นที่สะสมเฉพาะจุดมีค่าสูงมาก
มีลักษณะของผิวหน้าค่อนข้างเรียบ พบแนวการขยายตัวของรอยร้าวล้า (Fatigue
cracking) ในระดับมหภาคคือ Beach marks ในลักษณะที่ชัดเจน
และมีพื้นที่ที่เกิดความเสียหายด้วยกลไกการล้าตัวประมาณ 85 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะดังกล่าวเป็นการยืนยันว่าเพลาเกิดการแตกหักจากการได้รับแรงเค้นไม่สูงมาก
ผิวหน้ารอยแตกโซนที่ 2
เป็นโซนที่เกิดการแตกแบบทันทีทันใดจากการรับแรงเกินพิกัด (Final
overload zone) พบการขยายตัวของรอยแตกมาจาก Fatigue zone เป็นลักษณะของการขยายตัวของรอยแตกอย่างรวดเร็ว
ผิวหน้าแตกหักมีลักษณะขรุขระ ไม่เรียบ เมื่อเทียบกับผิวหน้าแตกของโซนที่
1คิดเป็นพื้นที่ประมาณ 15 เปอร์เซ็นต์
ลักษณะดังกล่าวชี้ให้เห็นว่าแรงที่กระทำในระหว่างการแตกหักช่วงสุดท้ายไม่สูงมากนัก
ดังนั้นการแตกหักน่าจะมาจากวัสดุมีจุดบกพร่องในบริเวณที่มีความเข้มของความเค้นสูง
รูปที่ 4 ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบทางเคมีบริเวณกัดกร่อนด้วย EDS
จากการตรวจสอบผิวหน้าบริเวณจุดเริ่มต้นรอยแตก
(ขวามือของรูปที่ 3) พบความไม่ต่อเนื่องของวัสดุจากการกัดกร่อน ซึ่งยืนยันได้จากผลการวิเคราะห์ด้วย
EDS (รูปที่ 4) ที่มีลักษณะเป็นรูบริเวณผิวหน้าของเพลา
ซึ่งลักษณะดังกล่าวจะเป็นจุดรวมความเค้นและส่งเสริมให้เกิดการแตกได้ง่ายยิ่งขึ้น
การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาค
จากการตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคบริเวณจุดเริ่มรอยแตก
พบลักษณะการสูญเสียโลหะ (Metal loss) จากการกัดกร่อนดังรูปที่ 5-6
รูปที่ 5 ภาคตัดตามแนวแกนของเพลาผ่านจุดเริ่มรอยแตกพบร่องหลุมจากการกัดกร่อน
รูปที่ 6 โครงสร้างจุลภาคบริเวณจุดเริ่มรอยแตกแสดงการสูญเสียโลหะ
วิเคราะห์ผล
ผลที่ได้จากการตรวจสอบชี้ให้เห็นได้อย่างชัดเจนว่าเพลาปั๊มเกิดการแตกหักด้วยกลไกการล้าร่วมกับการกัดกร่อน
(Corrosion fatigue fracture) ซึ่งเป็นรูปแบบของการเสียหายที่มักเกิดขึ้นกับโลหะและโลหะผสมหลายชนิดที่อยู่ภายใต้สภาวะการรับแรงแบบคาบ
(Cyclic load) ในสภาวะแวดล้อมต่างๆ [1] แม้ว่าเหล็กกล้าที่ใช้ทำเพลาดังกล่าวจะเติมโครเมียมมากถึง 13% เพื่อสร้างฟิล์มที่มีความต้านทานต่อการกร่อน (Passive film) แต่ในกรณีดังกล่าวพบว่าเกิดการกัดกร่อนแบบเฉพาะที่ (Localized
corrosion) ขึ้นบริเวณที่มีการเปลี่ยนแปลงขนาดพื้นที่หน้าตัด เป็นที่ทราบกันทั่วไปว่าชิ้นส่วนเพลาเหล็กกล้าที่มี
passive film เมื่อสัมผัสกับสิ่งแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งมีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบจะมีความไวต่อการกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting
corrosion) และในกรณีที่มีการรับแรงแบบคาบไปด้วยนั้น สนิมรูเข็มจะแสดงตัวเป็นจุดรวมความเค้น
(Stress concentrator) จึงมักเป็นจุดเริ่มของการแตกหักเนื่องจากการล้าร่วมกับการกัดกร่อน
[2, 3] ยิ่งไปกว่านั้น คือ Pitting corrosion ไปปรากฏในบริเวณที่มีความเข้มของความเค้นสูงอยู่แล้วก็ยิ่งจะเพิ่มความไวต่อการแตกหักได้ง่ายยิ่งขึ้น
(รูปที่ 7)
รูปที่ 7 ภาพจำลองแสดงความเข้มของความเค้นบริเวณเปลี่ยนขนาดพื้นที่หน้าตัดเพลา
การแตกหักเนื่องจากการล้าร่วมกับการกัดกร่อนมักเริ่มจากบริเวณที่ถูกกัดกร่อนจากสารเคมีหรือบริเวณที่เกิดความไม่ต่อเนื่องบนผิวหน้า
เช่น รอยขีดข่วน สารฝังใน เฟสที่เกิดการตกตะกอน รอยร้าวขนาดเล็ก หรือดิสโลเคชัน [4,
5] ในกรณีที่เกิดการกัดกร่อนจากสารเคมีนั้น
การกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับเหล็กกล้าที่มีฟิล์มปกป้องมักเกิดจากคลอไรด์ [6,
7] ซึ่งผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์การกัดกร่อน
(บริเวณที่เกิดสนิม) ในจุดเริ่มต้นการแตกหักพบว่ามีคลอไรด์เจือปน
ภายใต้สภาวะการรับแรงแบบคาบ สนิมรูเข็ม จะแสดงตัวเป็นจุดรวมความเค้น (Stress
Concentration) [8] ที่มักเป็นจุดเริ่มของการแตกร้าวเนื่องจากการล้าร่วมกับการกัดกร่อน
การแตกร้าวเนื่องจากการล้าร่วมกับการกัดกร่อนจะมีลักษณะบางอย่างคล้ายกับการแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน
[9] ทั้งจุดเริ่มต้นและการขยายตัวของรอยแตกร้าว ในกรณีดังกล่าวนี้
ศาสตร์การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักจะถูกนำมาใช้ในการยืนยันรูปแบบการแตกร้าวเนื่องจากการล้าร่วมกับการกัดกร่อน
โดยถ้าพบแนวการขยายตัวของรอยแตกแบบมหภาคที่เรียกว่า beach
marks ซึ่งเป็นสัญลักษณ์การขยายตัวของรอยแตกจากการล้าตัว และเมื่อตรวจสอบบริเวณจุดเริ่มรอยแตกจะพบจุดบกพร่องจากการกัดกร่อนและผิวหน้ารอยแตกรอบๆ
จุดเริ่มจะพบการทำปฏิกิริยากับสารละลายเกิดเป็นคราบออกไซด์ (ดังรูปที่ 3)
สรุปผล
เพลาปั๊มน้ำเกิดการแตกหักด้วยรูปแบบการแตกร้าวเนื่องจากการล้าร่วมกับการกัดกร่อน ซึ่งมีจุดเริ่มมาจากสนิมรูเข็มที่เกิดจากการทำปฏิกิริยาของคลอไรด์และเกิดในบริเวณที่มีความเข้มของความเค้นสูง
การเลือกวัสดุจึงมีความสำคัญต่อการป้องกันการเสียหายจากการแตกร้าวเนื่องจากการล้าร่วมกับการกัดกร่อนนอกจากนี้
การควบคุมปริมาณสารเจือปนในสารละลาย การป้องกันการแช่นิ่งของสารละลายเป็นเวลานาน และการทำความสะอาดเพลาเพื่อกำจัดอนุภาคที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบเป็นประจำ
เป็นวิธีการที่สามารถลดปัญหาดังกล่าวได้
เอกสารอ้างอิง
[1] B.D.
Craig. Material Failure Modes, Part I: A Brief Tutorial on Fracture, Ductile
Failure, Elastic Deformation, Creep, and Fatigue, JFAP 2005; 5(5): 13-14,
39-45.
[2] S. Roychowdhury
et al., Effect of pH and specimen orientation on the corrosion fatigue behavior
of a duplex stainless steel in chloride solutions, Trans. Indian Inst. Met.
2004; 57(3): 265-70.
[3] C.R. Gagg and P.R. Lewis, In-service
fatigue failure of engineered products and structures – Case study review, Eng
Fail Anal 2009; 16(6): 1775-93.
[4] R. Ebara, Corrosion fatigue phenomena
learned from failure analysis, Eng Fail Anal 2006; 13: 516–25.
[5]
C.R. Gagg and P.R. Lewis, Failure of
components and products by engineered-in defects – case studies, Eng Fail Anal
2005; 12(6): 1000–26.
[6]
M. G. Fontana, Corrosion Engineering,
third ed., New York, McGraw-Hill, 1967: 51-4.
[7]
S.A.M. Refaey, Corrosion and Inhibition
of 316L stainless steel in neutral medium by 2-Mercaptobenzimidazole, Int. J.
Electrochem. Sci. 2006; 1: 80-91.
[8]
M. Cerit, K. Genel, S. Eksi, Numerical
investigation on stress concentration of corrosion pit, Eng Fail Anal 2009;
16(7): 2467–72.
[9]
N.J. Laycock and R.C. Newman,
Temperature dependence of pitting potentials for austenitic stainless steels
above their critical pitting temperature, Corrosion Science 1998;
40(6):887-902.
Really enjoyed this blog post, can you make it so I get an update sent in an email when you publish a new article?
ตอบลบrust remover bath
ตอบลบWell, Nice blog Thank you for the Information
You can also visit Carbon Steel Flanges
Thanks for sharing this awesome guide. I hope to see more blogs in the future.
ตอบลบYou can also visit: Round Bars Manufacturers
Nice And Informative blog Check Out This One PIPE FITTINGS MANUFACTURERS IN INDIA
ตอบลบNice info! You may also like Pipe and Tubes Manufacturers
ตอบลบSo much fun and easy to read! check out mine Monel fasteners manufacturers in india
ตอบลบIt's a really informative post, You may also check out Copper Tube Manufacturer
ตอบลบThanks for your great effort to share this valuable information with us, i truly appreciate it.you might also like this one Butterfly Valves Supplier in India
ตอบลบGreat Blog with an excellent idea! Thank you for such a valuable Blog. Aluminum Sheet Manufacturers in India
ตอบลบ