วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure Investigation Procedures)

            ขั้นตอนพื้นฐานที่จะดำเนินการและช่วงของเทคนิคที่สามารถดำเนินการได้สำหรับงานวิเคราะห์ความเสียหายแสดงในรายละเอียดด้านล่าง ขั้นตอนเหล่านี้จะมีรายละเอียดเจาะลึกลงไปในลำดับถัดไป และขั้นตอนพื้นฐานเหล่านี้สามารถเลือกใช้ได้ตามความเหมาะสมของแต่ละงาน และลำดับในการตรวจสอบก็สามารถประยุกต์ใช้ได้ในแต่ละงานเช่นเดียวกัน ทั้งนี้ทังนั้นขึ้นอยู่กับธรรมชาติของการตรวจสอบ

1.       รวบรวมข้อมูลพื้นฐาน ประกอบด้วย

-          ข้อมูลทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย

-          ประวัติของชิ้นส่วน เช่น กระบวนการผลิตและการใช้งาน

-          มาตรการ ข้อกำหนดและมาตรฐาน

2.       ดำเนินการตรวจสอบด้วยสายตาของบริเวณที่เสียหายและพื้นที่ใกล้เคียง ทำการถ่ายภาพและบันทึกข้อมูล

-          จุดเริ่มต้นของการเสียหาย

-          การปรากฏของบริเวณที่เป็นจุดรวมความเค้น

-          การปรากฏของที่เกิดจากการอบคล้ายความเค้น หรือคราบออกไซด์บนผิวหน้าแตกหัก

-          รูปแบและกลไกของการเสียหาย

-          ทิศทางการขยายตัวของรอยแตกและลำดับของการเสียหาย

-          การปรากฏของความไม่สมบูรณ์ของเนื้อวัสดุ

-          ข้อมูลเกี่ยวกับขนาดและลักษณะทางกายภาพอื่นๆ

3.       ดำเนินการตรวจสอบผิวหน้าแตกหัก

4.       ดำเนินการวิเคราะห์ทางเคมีและเปรียบเทียบผลที่ได้กับข้อกำหนดของแต่ละมาตรฐาน วิเคราะห์ผลิตภัณฑ์การกัดกร่อน ตะกรันหรือสารเคลือบที่เกิดขึ้นบนผิวหน้า

5.       ดำเนินการทดสอบสมบัติทางกล โดยนำผลที่ได้ไปเปรียบเทียบกับข้อกำหนดหรือมาตรฐาน

6.       ดำเนินการตรวจสอบลักษณะทางมหภาคเพื่อประเมินความเป็นเนื้อเดียวกันของวัสดุ ความสมบูรณ์ และคุณภาพของชิ้นส่วน

7.       ดำเนินการตรวจสอบลักษณะทางโลหะวิทยาด้วยภาพถ่าย เพื่อประเมินลักษณะของโครงสร้างจุลภาค ตรวจสอบทิศทางการเสียรูปของผลิตภัณฑ์แบบแผ่นและความสัมพันธ์กับความเค้นกระทำและความเค้นตกค้าง

8.       ดำเนินการทดสอบความแข็งแบบจุลภาคเพื่อวัดหาความลึกของชั้นชุบผิวแข็ง เพื่อวิเคราะห์ถึงอิทธิพลจากการขึ้นรูปเย็น ตรวจสอบคุณภาพของแนวเชื่อม และช่วยในการยืนยันเฟสต่างๆ

9.       ดำเนินการตรวจสอบลักษณะทางโลหะวิทยาที่กำลังขยายสูงด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนเพื่อศึกษาเฟสที่ไม่สามารถตรวจสอบได้จากกล้องจุลทรรศน์แบบแสง

10.    ใช้ไมโครโพรบในการตรวจสอบลักษณะความผิดปกติ เช่น สารฝังในและการแยกตัวตกตะกอน ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้จากเทคนิคหยาบๆ

11.    ใช้เทคนิคเอกซเรย์เพื่อตรวจสอบ

-          ระดับของความเค้นตกค้าง

-          ยืนยันหรือตรวจสอบปริมาณสัมพันธ์ของเฟสต่างๆ เช่นออสเตนไนต์หรืออสสเตนไนต์เหลือค้าง เฟอร์ไรต์ เฟสซิกม่า เป็นต้น

12.    ดำเนินการทดสอบภายใต้สภาวะจำลองเพื่อประเมินลักษณะเฉพาะที่วิกฤติของวัสดุ เช่น แนวโน้มการแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อนในสิ่งแวดล้อมที่จะนำไปใช้งาน เพื่อศึกษาความไวต่อการแตกเปราะของวัสดุ หรือเพื่อยืนยันวิธีการในกระบวนการทางความร้อนหรือความสามารถในการชุบผิวแข็ง

13.    สรุปใจความสำคัญและวิเคราะห์ทุกข้อมูลที่ได้จากการวิเคราะห์ซึ่งอาจมีการปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญ

14.    เขียนรายงานและแจกแจงราละเอียด ในรายงานควรมีคำแนะนำที่สามารถนำไปปฏิบัติได้เพื่อป้องกันที่จะเกิดขึ้นอีกในอนาคตหรือปัญหาที่เกิดขึ้นในอุปกรณ์เดิมๆ

15.    ติดตามว่าคำแนะนำได้นำไปประยุกต์หรือไม่และได้ผลเป้นอย่างไร

16.    เก็บหลักฐานเพื่อให้ผู้อื่นได้ทำการทวนสอบ

 จากที่ท่านได้ทราบขั้นตอนเบื้องต้นในการดำเนินการวิเคราะห์ความเสียหายไปแล้ว เพื่อให้ท่านได้ทราบรายละเอียดในแต่ละขั้นตอน ผู้เขียนจะมาเพิ่มเติมรายละเอียดทีคาดว่าจะเป็นประโยชน์ในครั้งต่อไปนะครับ..โปรดรอติดตาม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)

วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...