วันศุกร์ที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2566

ผิวแตกเก่าและผิวแตกใหม่ (Old and new crack)

ผิวหน้าแตกหักของรางรถไฟ

ถ้าบนผิวหน้าแตกหักของชิ้นส่วนมีลักษณะของพื้นผิวที่ต่างกันดังเช่นในภาพ (ผิวหน้าแตกหักของรางรถไฟ) คือมีรอยแตกที่ดูเหมือนแตกใหม่และแตกมานานแล้ว บอกอะไรเรา และเราจะเอาไปใช้ประโยชน์อย่างไรได้บ้าง?

รอยแตกที่เกิดขึ้นใหม่จะมีขอบเขตที่ชัดเจน พื้นผิวที่แตกหักสะอาด และมีขอบที่คม พื้นผิวของรอยแตกที่เพิ่งเปิดออกมักมีสีมันวาวหรือสว่างกว่ารอยแตกเก่า มักเป็น overload zone ที่แตกหักตอนสุดท้าย

รอยแตกที่เกิดขึ้นก่อนมักมีขอบที่ถูกกัดกร่อน/โค้งมน และพื้นผิวแตกหักมักมีสีเปลี่ยนไปจากการทำปฏิกิริยากับความชื้นหรือมีสนิมปกคลุมอยู่ บริเวณดังกล่าวมักปรากฏให้เห็นจุดเริ่มรอยแตก (ด้านล่างของภาพซึ่งเป็นส่วนฐานของรางรถไฟ)

ความสำคัญของการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหักนอกจากจะอยู่ที่การหาจุดเริ่มให้เจอแล้ว ส่วนต่อไปคืออะไรที่ก่อให้เกิดจุดเริ่ม ซึ่งอาจนำไปตรวจสอบด้วย SEM หรือผ่าดูโครงสร้างจุลภาคนั่นเอง
ผิวหน้าแตกหักของปลอกล้อรถไฟ


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...