สิ่งที่ควรระวังในการเก็บข้อมูลที่หน้างานนั้น
บางครั้งอาจจำเป็นต้องมีการใช้ปากกาหรือสีเพื่อระบุ (Marking)
ตำแหน่งต่างๆ บนชิ้นงาน เพื่อเน้นบริเวณสำคัญระหว่างการถ่ายภาพ
อาจทำให้บริเวณดังกล่าวอาจมีการเปลี่ยนแปลงสมบัติความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้
หรือเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบทางเคมีของผลิตภัณฑ์การกัดกร่อน
สิ่งหนึ่งที่ผู้ตรวจสอบความเสียหายควรพึงระวัง คือ
ควรรักษาสภาพการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นให้มีสภาพสมบูรณ์ที่สุดก่อนทำการเคลื่อนย้าย
หรือก่อนการแยกส่วนประกอบของชิ้นส่วน ควรบันทึกเหตุการณ์ให้เป็นสายโซ่ของเหตุการณ์(Chain
of Events)รวมทั้งถ่ายภาพชิ้นส่วนที่เสียหายเอาไว้ทุกแง่ทุกมุม
โดยพยายามถ่ายภาพให้ได้สีที่เป็นจริง (True Color) ซึ่งอาจใช้แผ่นสี(Color
Chart) มาประกอบการถ่ายภาพ เนื่องจากสีที่ได้จากการถ่ายภาพ
ส่วนหนึ่งมักเปลี่ยนความเข้มและความคมชัดตามปริมาณแสงที่ตกกระทบ
การถ่ายภาพตะกรันที่เกิดจากการกัดกร่อนควรทำให้สามารถมองเห็นชั้นตะกรันแต่ละชั้นได้ชัดเจน
โดยเฉพาะการถ่ายภาพชิ้นงานในห้องปฏิบัติการ ควรมีการควบคุมปริมาณแสงให้เหมาะสม
ก่อนที่จะนำชิ้นส่วนนั้นไปทำการวิเคราะห์ต่อไป สิ่งที่ต้องจดจำคือบางครั้งผู้ใช้งานจะให้ข้อมูลที่ไม่ตรงความเป็นจริง
โดยเฉพาะข้อมูลที่ทำให้เจ้าของงานเสียผลประโยชน์ ดังนั้นผู้ที่ทำการวิเคราะห์ฯ
หรือตัวแทนควรเข้าร่วมการตรวจสอบที่หน้างาน (Onsite Investigation)
ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นนั้น
ผู้ทำการวิเคราะห์จะต้องเก็บรายละเอียดเกี่ยวกับประวัติของชิ้นส่วนอย่างสมบูรณ์
ประกอบไปด้วยรายละเอียดของความเสียหายและข้อมูลประวัติของการผลิตก่อนที่จะทำการเลือกขั้นตอนและวิธีการทดสอบที่เหมาะสมอันชาญฉลาดเพื่อใช้ในการวิเคราะห์ความเสียหาย
รายละเอียดสำคัญที่ควรเก็บข้อมูลมีดังนี้
ข้อมูลเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่เสียหาย
- ตำแหน่ง
ชื่อของชิ้นส่วน หมายเลขบ่งชี้ เช่น หมายเลขชิ้นส่วน (Part
No.) หมายเลขสายการผลิต (Lot No.) เจ้าของ
ผู้ใช้งาน ผู้ผลิต และผู้ประกอบ/ติดตั้ง
- หน้าที่การใช้งาน
- อายุการใช้งานก่อนเกิดการเสียหาย- การจัดอันดับของชิ้นส่วน ระดับการปฏิบัติการ การรับแรงแบบปกติหรือไม่ปกติ ความถี่ในการรับแรง ลักษณะของสิ่งแวดล้อม
- ชนิดของวัสดุที่ใช้ผลิตชิ้นส่วน
- เทคนิคที่ใช้ในการผลิต (หล่อ รีด ทุบ)และการประกอบติดตั้ง (เชื่อม ขันนอต) รวมทั้งข้อกำหนดและมาตรการที่ใช้ในการผลิตและติดตั้ง การตรวจสอบและการปฏิบัติการของชิ้นส่วน
- แนวแรงที่มากระทำ ช่วงอุณหภูมิระหว่างปฏิบัติการ ความดัน ความเร็ว
- ความแข็งแรงและความแกร่ง
- กระบวนการทางความร้อน การลดความเค้นตกค้างหรือกระบวนการทางความร้อนอื่นๆ
- ขั้นตอนในการประกอบติดตั้ง เช่น การเชื่อม การทากาว การเคลือบผิว การขัน การย้ำหมุด
- รายงานเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ในการทดสอบและการควบคุมคุณภาพในระหว่างการผลิต การใช้งานและการซ่อมบำรุง
- อายุการใช้งานก่อนเกิดการเสียหาย- การจัดอันดับของชิ้นส่วน ระดับการปฏิบัติการ การรับแรงแบบปกติหรือไม่ปกติ ความถี่ในการรับแรง ลักษณะของสิ่งแวดล้อม
- ชนิดของวัสดุที่ใช้ผลิตชิ้นส่วน
- เทคนิคที่ใช้ในการผลิต (หล่อ รีด ทุบ)และการประกอบติดตั้ง (เชื่อม ขันนอต) รวมทั้งข้อกำหนดและมาตรการที่ใช้ในการผลิตและติดตั้ง การตรวจสอบและการปฏิบัติการของชิ้นส่วน
- แนวแรงที่มากระทำ ช่วงอุณหภูมิระหว่างปฏิบัติการ ความดัน ความเร็ว
- ความแข็งแรงและความแกร่ง
- กระบวนการทางความร้อน การลดความเค้นตกค้างหรือกระบวนการทางความร้อนอื่นๆ
- ขั้นตอนในการประกอบติดตั้ง เช่น การเชื่อม การทากาว การเคลือบผิว การขัน การย้ำหมุด
- รายงานเกี่ยวกับเทคนิคที่ใช้ในการทดสอบและการควบคุมคุณภาพในระหว่างการผลิต การใช้งานและการซ่อมบำรุง
ข้อมูลเกี่ยวกับความเสียหาย
- วันและเวลาที่เกิดความเสียหาย
อุณหภูมิและลักษณะของสิ่งแวดล้อม
- สภาพความเสียหาย
ลำดับของความเสียหาย อันตรายและบาดเจ็บ
- ขั้นตอนการดำเนินการเมื่อเกิดความเสียหายขึ้น
- พิมพ์เขียว
ภาพถ่ายหรือภาพสเกตซ์ของความเสียหายและบริเวณใกล้เคียง
- ความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นในระหว่างปฏิบัติการที่อาจส่งเสริมให้เกิดความเสียหาย
- ความคิดเห็นของพนักงานปฏิบัติการที่เกี่ยวข้องกับเหตุการณ์ความเสียหาย
ผู้ทำการวิเคราะห์ควรศึกษาพิมพ์เขียวและภาพที่ถูกบันทึกต่างๆ
อย่างระมัดระวัง เพื่อให้ได้ภาพของเรื่องราวของชิ้นส่วนที่เสียหาย ข้อมูลเหล่านี้ยังสามารถช่วยในการประเมินความเค้น
ถ้าเป็นไปได้
ผู้ทำการวิเคราะห์หรือผู้ที่มีอำนาจในการตัดสินใจควรไปตรวจสอบที่หน้างานด้วยตนเอง
ซึ่งถือว่าเป็นการตรวจสอบมือแรกทั้งนี้ยังเพื่อประโยชน์ในการคัดเลือกพื้นที่และชิ้นส่วนเพื่อนำมาใช้ในการวิเคราะห์
ผู้ทำการวิเคราะห์ควรเก็บชิ้นส่วนที่จะวิเคราะห์อย่างทันที
เพื่อป้องกันการเปลี่ยนทางโครงสร้างและลักษณะที่ปรากฏต่างๆของวัสดุที่อาจเกิดขึ้นในระหว่างการลำเลียง
ความพยายามในการประกอบกลับที่เดิมของผู้ไม่รู้ การกัดกร่อน หรือปัจจัยอื่นๆ
เมื่อสามารถรวบรวมข้อมูลเบื้องต้นของชิ้นส่วนที่เสียหายได้แล้ว
ผู้วิเคราะห์ควรจะทำความรู้จักกับวัสดุ กระบวนการผลิต
และเทคนิคในการประกอบติดตั้งที่ใช้ในการผลิตชิ้นส่วน
เวลาที่เราใช้ไปในการวิจัยอาจจะไม่รู้ว่ามากเท่าไรในระหว่างการตรวจสอบ
การมีข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับชิ้นส่วนที่เสียหายถือว่ามีความสำคัญมาก
ยกตัวอย่างเช่นการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนท่อลำเลียงสารเคมีที่เกิดการรั่วหลังจากการใช้งานได้แค่ประมาณ 2-3
วัน
โดยข้อมูลเบื้องต้นจากผู้ที่รับผิดชอบแจ้งว่าท่อหลังจากการเชื่อมต่อเสร็จได้มีการตรวจสอบแนวเชื่อมด้วยวิธีแบบไม่ทำลายโดยการฉายรังสี (Radioscopic
Inspection) ไม่พบจุดพร่อง
หลังจากนั้นมีการทดสอบด้วยแรงดันน้ำที่ความดัน 1.5 เท่าของแรงดันปฏิบัติการ
ไม่พบการรั่วของท่อ แต่น้ำที่ใช้ในการทดสอบไม่ใช้น้ำที่ปลอดประจุ
และหลังจากทดสอบแรงดันน้ำเสร็จได้มีการระบายน้ำออกโดยไม่ได้ทำให้แห้ง
จึงมีบางบริเวณที่ถูกติดตั้งในตำแหน่งที่ต่ำกว่าบริเวณอื่น
ทำให้ท่อเหล็กล้าไร้สนิมถูกน้ำแช่ขังเป็นเวลามากกว่า 4 เดือน
และที่แย่ไปกว่านั้นจากข้อมูลการสุ่มตัวอย่างน้ำที่ใช้ในการทดสอบแรงดันน้ำพบว่ามีปริมาณคลอไรด์เจือปนประมาณ25
ppm ข้อมูลเบื้องต้นตรงนี้มีประโยชน์อย่างมากต่อการวิเคราะห์หาสาเหตุการรั่วของท่อ
เป็นที่ทราบกันดีว่าเหล็กกล้าไร้สนิมเมื่อสัมผัสกับสารละลายที่มีคลอไรด์เป็นองค์ประกอบและอยู่ในสภาพแช่นิ่ง(Stagnant
Condition) จะมีความไวต่อการกัดกร่อนแบบรูเข็มมาก
และถ้าสารละลายน้ำมีจุลชีพมาเจือปนก็ยิ่งจะเหนี่ยวนำให้ท่อเกิดการรั่วได้เร็วยิ่งขึ้นจากกลไกการกัดกร่อนจากจุลชีพ (Microbiologically
Induced Corrosion; MIC) โดยกลไกดังกล่าวสามารถยืนยันได้จากผลการตรวจสอบผลิตภัณฑ์การกัดกร่อนที่ตรวจพบองค์ประกอบของธาตุซัลเฟอร์
เมื่อทำการตรวจสอบภาคตัดขวางชิ้นส่วนที่เสียหาย พบการขยายตัวของรูเข็มมาจากผนังด้านในท่อ
ซึ่งสามารถนำไปสู่การสรุปผลสาเหตุของการเสียหายรวมทั้งข้อเสนอแนะที่สามารถนำไปปฏิบัติได้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น