-
จุดบกพร่องจากการออกแบบ
-
ความไม่สมบูรณ์ของวัสดุจากกระบวนการผลิตหรือจากการประกอบติดตั้ง
-
การรับแรงเกินพิกัดและความผิดพลาดจากการใช้งาน
-
ขาดการซ่อมบำรุงที่สม่ำเสมอและการซ่อมไม่ถูกต้อง/เหมาะสม
-
เกิดการทำปฏิกิริยาระหว่างโลหะและสิ่งแวดล้อม
การเสียหายทีเกิดขึ้นไม่ได้นำไปสู่ความหายนะทุกกรณี
หลายๆ กรณีความเสียหายอาจเพียงแค่มีการเสื่อมสภาพของสมบัติของวัสดุหรือมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างมากเกินไปหรือเกิดการสึกหรอจนกระทั่งชิ้นส่วนไม่สามารถทำหน้าที่ต่อไปได้ตามอายุการใช้งานที่ออกแบบไว้
สำหรับความเสียหายเนื่องจากการสึกหรอการกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้านั้นมักไม่ค่อยส่งผลที่รุนแรงหรือน่าตื่นเต้นมากเท่าไร
แต่เมื่อมักนำไปสู่การสูญเสียวัสดุอย่างมากและทำให้เสียเวลาเสียโอกาสอย่างมากในแต่ละปี
แน่นอนว่าความเสียหายที่รุนแรงในช่วงก่อนๆ มักได้รับความสนใจอย่างมากจากผู้คน
อย่างไรก็ตาม ทุกๆ
กรณีความเสียหายควรได้รับความสนใจจากผู้ทำการตรวจสอบเนื่องจากความเสียหายที่เกิดขึ้นมักนำไปสู่การสูญเสียประสิทธิภาพหรือกำลังการผลิต
เกิดขยะของวัสดุ และเพิ่มค่าใช้จ่าย ในบางกรณียังนำไปสู่การเสียเสียชีวิตและทรัพย์สิน
และในท้ายที่สุดยังนำไปสู่ค่าใช้จ่ายจากการถูกฟ้องร้อง
จากประสบการณ์ที่ผ่านมาเราจะพบว่า
ภาคอุตสาหกรรมและภาคการศึกษาล้มเหลวในด้านการไม่ความสำคัญหรือขาดการเอาใจใส่อย่างเพียงพอในการการพัฒนาและส่งเสริมในด้านศาสตร์(และศิลป์)ในการดำเนินการวิเคราะห์ความเสียหายและความสำคัญของเผยแพร่ข้อมูล
และในบางสถานการณ์
แม้จะมีการดำเนินการตรวจสอบความเสียหายก็จริงแต่ผู้ผลิตหรือผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ประสงค์จะเผยแพร่ข้อมูลเหล่านั้นต่อสาธารณชน
อาจเนื่องจากความลับขององค์กร มีผลต่อรูปคดี
หรือสร้างภาพลักษณ์ที่ไม่ดีให้กับองค์กรนั้นๆ เป็นต้น ในบางครั้งอาจมีความเต็มใจในการเผยแพร่ข้อมูลแต่ช่องทางในการเผยแพร่ไม่เพียงพอในการที่จะสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ให้กับคนที่ได้ประโยชน์
เสียผลประโยชน์ หรือให้ผลสะท้อนกลับมา ท้ายที่สุดแม้ว่าภายในองค์กรนั้นๆ
ข้อมูลจากการวิเคราะห์ความเสียหายและการสรุปผลไม่มีการสื่อสารที่เพียงพอเพื่อให้นักออกแบบสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงการออกแบบเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์หรือเพื่อปฏิบัติการของพนักงานที่สามารถทำให้พวกเขาสามารถลดปัญหาจากการผลิตและเพิ่มการควบคุมคุณภาพ
บางครั้งอาจอย่างโชคดีที่การวิเคราะห์สามารถนำไปสู่การปรับปรุงในทางที่ดีได้
หัวข้อในการฝึกอบรมทางด้านวิเคราะห์ความเสียหายในปัจจุบันนี้
พบว่ามีหน่วยงานทั้งภาครัฐ สมาคมวิชาชีพ และเอกชนหลายแห่งได้จัดขึ้น
ยกตัวอย่างเช่น ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหายและการกัดกร่อนของวัสดุ
ซึ่งสังกัดศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
และศูนย์พัฒนาและทดสอบสมบัติขิงวัสดุ
สังกัดสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ เป็นต้น
สำหรับหนังสือทางวิชาการยังพบว่ามีในปริมาณน้อยมากที่เกี่ยวข้องกับการวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะโดยตรง
แต่ยังยากต่อการนำข้อมูลไปต่อยอดในการขั้นตอนการออกแบบและผลิต
การเสียหายไม่จำเป็นต้องวิเคราะห์ให้ได้รายละเอียดครบทุกขั้นตอน
โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิเคราะห์ชิ้นส่วนที่มีลักษณะความเสียหายแบบซ้ำๆ
ซึ่งกระบวนการตรวจสอบไม่ต้องมาตั้งต้นใหม่และพบว่าให้ผลที่ดี ผู้ผลิตโดยส่วนใหญ่มักน้อมรับคำวิจารณ์เกี่ยวกับผลิตภัณฑ์ของตัวเองเพื่อนำไปสู่การปรับปรุงให้ดีขึ้น
แต่มีผู้ผลิตไม่กี่รายในปัจจุบันที่ยังติดอยู่ในปรัชญาเดิมๆว่าผลิตภัณฑ์ของพวกเขาไม่มีตำหนิและไม่จำเป็นต้องปรับปรุง
พื้นฐานของแต่ละบุคคลที่ประกอบไปด้วยขอบเขตของความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในวิชาชีพ
ยังคงส่งผลอย่างดียิ่งต่อรูปแบบและวิธีการในการดำเนินงานวิเคราะห์ความเสียหาย
ยกตัวอย่างเช่น
วิศวกรโยธาหรือเครื่องกลอาจดำเนินการตรวจสอบอย่างละเอียดรอบคอบเกี่ยวกับแรงเค้นและภาระกรรมที่ส่งผลต่อความเสียหายโดยอาจไม่ได้ใส่ใจปัจจัยด้านโลหะวิทยามากนัก
และสามารถกล่าวในนัยเดียวกันได้ว่านักโลหะวิทยาอาจดำเนินการตรวจสอบอย่างระมัดระวังในมุมมองด้านโลหะวิทยาที่ส่งผลกระทบต่อการเสียหาย
อาจดำเนินการตรวจสอบหรือมีมุมมองด้านปัจจัยทางกลแบบผิวเผิน ความไม่สมดุลในแนวทางการตรวจสอบแต่ละด้านนี้อาจเกิดขึ้นเมื่อมีการดำเนินการวิเคราะห์ด้วยผู้ปฏิบัติการ
วิศวกรการเชื่อม หรือวิศวกรการกัดกร่อนก็ได้
จะมีวิศวกรเพียงไม่กี่คนที่สามารถเรียนรู้ในทุกศาสตร์สาขาที่เกี่ยวข้องกับความเสียหาย
ดังนั้น การทำงานเป็นทีมที่ประกอบไปด้วยผู้เชี่ยวชาญหลากหลายสาขาถือว่าเป็นแนวทางเดียวที่จะนำไปสู่ภาพของการวิเคราะห์ความเสียหายที่สมบูรณ์
แนวทางดังกล่าวนี้ยังนำไปสู่การสร้างคุณภาพของทีมงานวิเคราะห์ความเสียหาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น