วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

แนวทางเบื้องต้นในการวิเคราะห์ความเสียหาย


แรกเริ่มและสำคัญที่สุดสำหรับการวิเคราะห์ความเสียหายคือ นักวิเคราะห์จะต้องดำเนินการตรวจสอบโดยปราศจากอคติหรือไม่มีธงในใจเกี่ยวกับสาเหตุของการเสียหาย จากประสบการณ์ของผู้เขียนพบว่า บางครั้งผู้ทำการวิเคราะห์มีความเอียงไปตามความคิดของตัวเอง ไมได้เปิดใจกว้าง เมื่อทำการตรวจสอบก็มุ่งหารายละเอียดเฉพาะที่จะสนับสนุนความคิดของตัวเอง แม้ว่าบางครั้งสิ่งที่ค้นหาอาจนำไปสู่การสรุปผลได้ แต่นั่นอาจไม่ใช่สาเหตุหลักหรืออาจเป็นเพียงปัจจัยเสริม หรือบางครั้งพบว่าลูกค้าได้แนะนำหรือโน้มน้าวให้ค้นหารายละเอียดบางอย่างที่เขาคาดว่าน่าจะพบและสามารถทำให้เขาชนะในคดีนั้น ยกตัวอย่างให้ชัดเข้ามาอีก คือ ลูกค้าบางรายต้องการให้ค้นสัญลักษณ์ของความเสียหายจากการล้า เช่น beach mark หรือ striation pattern แต่เมื่อพิจารณาสภาวะการใช้งานแล้วไม่พบลักษณะการทำงานแบบคาบทั้งจากแรงและความร้อน เป็นต้น ลักษณะดังกล่าวจะทำให้ความถูกต้องหรือความยุติธรรมสูญหายไปก่อนที่จะเริ่มงาน สำหรับนักวิเคราะห์ที่สามารถลืมคำแนะนำที่มีอคติเหล่านั้นได้และเปิดใจรับฟังก็สามารถเริ่มงานได้อย่างราบรื่นและถูกต้องตามความเป็นจริง

            การดำเนินการตรวจสอบด้วยตนเองควรออกแบบการทดสอบไว้แบบกว้างๆ ไม่จำเป็นต้องละเอียดมาก โดยเฉพาะในกรณีที่ไม่สามารถนำมาประยุกต์ได้จริง เนื่องจากอาจทำให้เสียค่าใช้จ่ายและเวลา การออกแบบขั้นตอนการตรวจสอบประกอบไปด้วย การเลือกวิธีการตรวจสอบด้วยลำดับที่ถูกต้องเหมาะสม การเรียงลำดับที่ผิดพลาดอาจทำเกิดความผิดพลาดจากมนุษย์หรือแม้แต่การทำลายสภาพเหตุการณ์ที่สำคัญ หรือแม้แต่การออกแบบการตรวจสอบที่ดีเยี่ยมอาจทำลายวัตถุประสงค์ของการตรวจสอบได้จนกว่าจะมีการดำเนินการอย่างระมัดระวังและเป็นระบบ

            เมื่อลำดับของการตรวจสอบแต่ละขั้นตอนให้ข้อมูลที่สามารถชี้ชัดปัญหาได้ งานนั้นก็ยังถือว่าไม่สำเร็จ โดยผู้ที่ทำการวิเคราะห์ควรให้ข้อเสนอแนะหรือคำแนะนำที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้จริงลงไปในรายงานด้วย (ในกรณีที่สามารถดำเนินการได้) โดยข้อเสนอแนะนั้นมีจุดประสงค์เพื่อลดปัญหาโดยการออกแบบใหม่ การเลือกวัสดุชนิดใหม่ การเปลี่ยนกระบวนการผลิต กระบวนการทางความร้อน หรือเทคนิคในการประกอบติดตั้ง และข้อเสนอแนะเหล่านี้ควรมีการทบทวนร่วมกับนักออกแบบ ผู้ผลิต นักวิเคราะห์ความเค้นหรือผู้เชี่ยวชาญอื่นๆ เพื่อให้การเปลี่ยนแปลงเหล่าเหล่านี้สนองต่อความต้องการและจะไม่เกิดปัญหาอื่นๆ ตามมา ปัญหาที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนคล้ายกันควรดำเนินการตรวจสอบเพื่อหาแนวการปฏิบัติที่ถูกต้องจะรวมวิธีการป้องกันสำหรับความเสียหายในลักษณะที่คล้ายกัน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...