หลังจากที่สมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทยได้ร่วมมือกับศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) จัดอบรมเชิงปฏิบัติการเรื่อง "การวิเคราะห์ความเสียหายงานโลหะ" เมื่อวันที่ 13-18 มิถุนายน 2554 ที่โรงแรมฟูรามา จอมเทียน จังหวัดชลบุรี ที่ผ่านมา ผมก็เป็นหนึ่งในคณะวิทยากรโดยได้บรรยายในหัวข้อ "ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเสียหาย" และ "การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก" ซึ่งทั้งสองหัวข้อผู้เข้าอบรมนอกจากจะได้ความรู้ด้านทฤษฎีแล้วยังได้ลงมือปฏิบัติ ซึ่งผมสังเกตดูแล้วทุกท่านตั้งใจอย่างมากหลักสูตรนี้มุ่งเน้นให้ผู้ผ่านการฝึกอบรมมีความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติสำหรับนำไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน โดยมีอุตสาหกรรมเป้าหมาย คือ อุตสาหกรรมเคมี อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงกลั่นนำมัน และผลิตไฟฟ้า ซึ่งถือว่าเป็นหลักสูตรการฝึกอบรมรูปแบบใหม่ที่มีการนำเครื่องมือทดสอบด้านการวิเคราะห์ความเสียหายของโลหะไปฝึกในภาคปฏิบัติในพื้นที่ตั้งของกลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมาย
ความสำคัญของหลักสูตรฝึกอบรมนี้ นอกจากเรียนรู้หลักการเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้น และผู้ควบคุมการวิเคราะห์ความเสียหายแล้ว ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้ความรู้ด้านเทคนิคและข้อมูลเชิงลึกเพื่อนำไปกำหนดแนวทางการปฏิบัติงานสำหรับป้องกันความเสียหายของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม เพื่อลดการสูญเสียเวลาและค่าใช้จ่าย และที่สำคัญคือ สามารถพัฒนาวิธีการที่จำเป็นและเทคนิคใหม่ในการดำเนินการวิเคราะห์ความเสียหายได้ด้วยตัวเอง โดยผู้เข้าอบรมทั้งหมดได้ผ่านเกณฑ์การทดสอบและประเมินที่กำหนดไว้ของหลักสูตรในครั้งนี้ และได้รับประกาศนียบัตรรับรองการผ่านหลักสูตรฯ จากศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค) โดยได้รับเกียรติจากรองศาสตราจารย์ ศิริลักษณ์ นิวิฐจรรยงค์ นายกสมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย และรองผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นประธานในพิธีมอบประกาศณียบัตรแก่ผู้ผ่านการฝึกอบรม
ผู้เข้าร่วมอบรมถ่ายรูปร่วมกับคณะวิทยากร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น