วันอังคารที่ 19 ตุลาคม พ.ศ. 2553

เหล็กกล้าไร้สนิม (ตอนที่ 8) : ข้อจำกัดของเหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มออสเตนนิติก

สำหรับเนื้อหาตอนนี้เป็นตอนสุดท้ายของเรื่องเหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มออสเตนนิติก ส่วนตอนหน้าผมจะมานำเสนอเนื้อหาของกลุ่มเฟอริติก โปรดติดตามนะครับ...........

ความสัมพันธ์ระหว่างเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดต่างๆ แสดงในรูปที่ 1.9

รูปที่ 1.9 ความสัมพันธ์ระหว่างเหล็กกล้าไร้สนิมเกรดต่างๆ

ถึงแม้ว่าเหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มออสเตนนิติกมีสมบัติที่เด่นหลายอย่าง จนถูกนำมาประยุกต์ใช้งานกันอย่างแพร่หลาย โดยเฉพาะสมบัติต้านทานการกัดกร่อน แต่ยังพบข้อจำกัดบางอย่างของเหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มออสเตนนิติก [11] ที่มักเกิดขึ้นในระหว่างใช้งาน ดังนี้

• อุณหภูมิที่สามารถใช้งานได้สูงสุดในสภาวะแบบออกซิไดซิง คือประมาณ 925 องศาเซลเซียส

• เหมาะสำหรับการใช้งานเฉพาะกับกรดรีดิวซิง (Reducing Acid) ที่มีความเข้มข้นต่ำ (เกรดซุปเปอร์ออสเตนนิติกสามารถใช้ในสภาวะที่มีความเข้มข้นของกรดสูงขึ้นได้)

• ในบริเวณที่เป็นซอกหรือมุมอับจะไม่มีออกซิเจนมาช่วยสร้างฟิล์มได้อย่างเพียงพอ จึงทำให้เกิดการกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (เกรดซุปเปอร์ออสเตนนิติก กลุ่มดูเพล็กซ์ และเกรดซุปเปอร์เฟอร์ริติกสามารถใช้งานได้ดีในสภาวะดังกล่าว)

• ถ้าใช้งานในสภาวะที่มีไอออนของเฮไลด์สูง (อิออนของธาตุหมู่ 7 ในตารางธาตุ เช่น คลอไรด์ โบรไมด์ ไอโอไดด์ ฯ) สามารถทำให้ฟิล์มป้องกันเกิดการเสียหายได้ (เกรดซุปเปอร์ออสเตนนิติกและดูเพล็กซ์สามารถใช้งานได้ในสภาวะดังกล่าว)

ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เหล็กกล้าไร้สนิมเกรดต่างๆ แสดงในรูปที่ 1.10

รูปที่ 1.10 ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มออสเตนนิติกเกรดต่างๆ 

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...