จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อที่ 4
"วิศวกรต้องใช้ความรู้ ความสามารถ และความชำนาญในวิชาชีพอย่างซื่อตรง เพื่อผลประโยชน์ของผู้ว่าจ้าง หรือลูกค้า ซึ่งตนปฏิบัติงานให้ เสมือนเป็นตัวแทนที่ซื่อตรงหรือเป็นผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ และพึงหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อน"
หลักปฏิบัติของจรรยาบรรณข้อนี้ คือ ต้องซื่อตรงต่อลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง เมื่อต้องปฏิบัติหน้าที่ในฐานะที่ตนเป็นตัวแทน หรือเป็นผู้ได้รับความไว้วางใจจากลูกค้า จะต้องแสดงฐานะของตนให้ผู้ว่าจ้างทราบก่อนที่จะรับดำเนินการ ในกรณีที่ได้รับแต่งตั้งให้ตัดสินงานหรือสิ่งอื่นที่ตนอาจจะมีผลประโยชน์เกี่ยวข้องอยู่ด้วย จะต้องไม่เปิดเผยความลับของงานที่ตนรับทำ เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากผู้ว่าจ้าง ไม่เรียกรับผลประโยชน์ และเสนอผลการศึกษาของตนตามความเป็นจริงทุกประการ โดยไม่มีการบิดเบือน
บางครั้งพบว่า การหลีกเลี่ยงเพื่อไม่ให้เกิดผลประโยชน์ทับซ้อน ก็เป็นการปิดกั้นคนที่มีความรู้ความสามารถ ที่จะมาทำงานการตรวจสอบเป็นงานอดิเรก ซึ่งเขาสามารถใช้ประสบการณ์ให้เป็นประโยชน์กับเราได้ ดังนั้น บางครั้งก็น่าคิดเหมือนกันว่า การหลีกเลี่ยงผลประโยชน์ทับซ้อนมีความจำเป็นมากหรือน้อย เมื่อคำนึงถึงสวัสดิภาพของสาธารณชน
โปรดรออ่านจรรยาบรรณนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อต่อไปในโอกาสหน้านะครับ...........
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า &q...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น