วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552

การถ่ายภาพด้วยรังสีกับงานวิเคราะห์ความเสียหาย


มีหลายท่านให้ความสนใจเทคดนโลยีในการตรวจหาจุดบกพร่องในวัสดุด้วยเทคนิคแบบไม่ทำลาย ดังนั้นวันนี้จึงขอถือโอกาสนำเสนอบทความสั้นๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบวัสดุด้วยการฉายภาพด้วยรังสีเอ๊กซ์ (Raioscopic Inspection System) ซึ่งที่ทำงานของผมมีให้บริการดังนี้




ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-destructive Testing; NDT) เพื่อมาประยุกต์ใช้กับงานวิเคราะห์ความเสียหายหลายเทคนิคด้วยกัน เช่นเทคนิคสารละลายแทรกซึม (PT) เทคนิคการใช้ผงแม่เหล็ก (MT) และเทคนิคคลื่นเสียงอุลตร้าโซนค (UT) เป็นต้น สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับโลหะนั้น มีเทคนิคการตรวจสอบแบบไม่ทำลายอีกวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กัน คือ การฉายภาพด้วยรังสี ซึ่งมีทั้งการใช้แหล่งรังสีจากธรรมชาติ (Gamma Ray) และแหล่งจ่ายจากพลังงานไฟฟ้าซึ่งเรียก X-Ray แต่เนื่องจากการใช้แหล่งจ่ายรังสีจากธรรมชาตินั้นเป็นวิธีที่ค่อนข้างอันตราย และเสียเวลากับกระบวนการที่เกี่ยวกับฟิล์ม โดยเฉพาะการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมากและต้องการทราบผลที่รวดเร็ว เพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิง

มีเทคนิคการตรวจสอบแบบไม่ทำลายอีกวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการตรวจสอบเพื่อหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายในวัสดุหลังจากกระบวนการผลิต ประกอบและติดตั้ง Radioscopic inspection system เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความผิดปกติภายใน จุดบกพร่องและความไม่ต่อเนื่อง (defects and discontinuity) ของวัสดุด้วยรังสีเอกซ์ พร้อมโปรแกรมการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์ภาพแบบ 3 มิติ บอกชนิดของจุดบกพร่อง สามารถวัดขนาดจุดบกพร่องใต้ผิวหน้าของวัสดุที่ไม่สามารถวัดได้ด้วยวิธีทั่วไป อีกทั้งสามารถแสดงความแตกต่างของความหนาแน่นภายในวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นงานที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อหลอมซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิด รูพรุน โพรงอากาศ การแตกร้าว ซึ่งเครื่องวิเคราะห์ด้วยเอกซเรย์ที่ทางศูนย์ฯ มีอยู่ในปัจจุบันสามารถตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว

ข้อมูลเบื้องต้นของเครื่อง
น้ำหนักชิ้นงานที่รับได้สูงสุด : 75 กิโลกรัม
มิติของชิ้นงาน : 50x50x70 ซม. (W x D x H)

ความหนาสูงสุดของชิ้นงาน :
- อลูมิเนียม: 320 mm (ขนาดล้อแม็กรถยนต์ได้สบาย)
- เหล็ก: 15 mm
(ที่ 225 kV, 30 mA)

แท่นรองชิ้นงาน : สามารถปรับระดับ หมุน และมุมของฐานรองชิ้นงาน เพื่อค้นหาจุดบกพร่องในขณะที่ฉายรังสี ผนวกกับระบบรับภาพ CCIR Video standard ร่วมกับ Radioscopic images processor ดังนั้นจึงสามารถค้นหาจุดบกพร่องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถแสดงผลออกทางหน้าจอได้ทันทีและที่มากกว่านั้นคือสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์รายระเอียดต่างๆ ของชิ้นงานได้ทันที



















ตัวอย่างการตรวจสอบหาจุดบกพร่องในแนวเชื่อมด้วย X-ray (บริเวณสีขาว คือ โพรงหรือช่องว่าง)



อุตสาหกรรมที่ให้บริการเช่น
-Automatic system for the testing of castings
-Automatic system for the testing of alloy rings
-System for the testing of brake discs and alloy wheels
-System for the testing of food products เป็นต้น


สนใจใช้บริการติดต่อ คุณนิรุชหรือคุณจรูญ
0 2564 6500 ต่อ 4736

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...