วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหาย (4)


จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อที่ 1

วิศวกรต้องรับผิดชอบและให้ความสำคัญต่อความปลอดภัย สุขภาพ สวัสดิภาพของสาธารณชน และสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก

หลักจรรยาบรรณข้อแรกนี้ อ่านดูแล้วเหมือนกับว่าจะง่ายต่อการปฏิบัติ แต่บางครั้งเราพบว่าการกระทำที่ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยของคนกลุ่มหนึ่ง ได้ส่งผลกระทบที่ไม่ดีกับสุขภาพของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นจึงมีคำถามว่า ทำอย่างไร กิจกรรมของแต่ละกลุ่มจะตอบสนองต่อจรรยาบรรณข้อนี้ ยกตัวอย่าง เช่น ในทุกวันนี้เทคโนโลยีและวิศวกรรมการขนส่งได้พยายามทำให้มีความเร็วสูงเท่าที่จะทำได้ อันส่งผลให้สาธารณชนได้รับสินค้าในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ถามว่า รถขนส่งที่มีความเร็วสูงได้ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยกับสาธารณชนหรือไม่ หลายประเทศได้มีการพัฒนาอาวุธยุทธภัณฑ์ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนของเขา แต่ขอถามอีกว่า เมื่อมีการสู้รบกัน มันได้ทำให้เกิดสวัสดิภาพต่อมวลมนุษยชาติขึ้นจริงหรือไม่ เท่าที่เห็น คือ มีแต่ความทุกข์ทนทุกหย่อมหญ้า มีคนตายกันเกลื่อน นี่หรือสวัสดิภาพ?

เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ สำหรับนักวิเคราะห์ความเสียหาย จึงมีหลักปฏิบัติ คือ หลีกเลี่ยงการรับงานที่ไม่เกิดความเป็นธรรมกับสาธารณชน ทำงานให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมที่เป็นที่ยอมรับ พยายามป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสาธารณชน ถ้าตรวจเจอปัญหา ต้องแจ้งให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับทราบ และให้ความรู้ ความเข้าใจกับสาธารณชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...