วันอังคารที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2557

River mark

นักวิเคราะห์ความเสียหายหลายท่านคงเคยได้เห็นลักษณะที่ปรากฏบนผิวหน้าแตกหักที่มีลักษณะคล้ายกับแม่น้ำสายย่อยต่างๆ ไหลมารวมกันเป็นสายน้ำขนาดใหญ่ที่เราเรียกกันว่า  river mark อยู่ใช่ไหมครับ


แล้วท่านทราบไหมครับลักษณะที่ปรากฏบนผิวหน้าแตกหักดังกล่าวมีประโยชน์ต่อการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกอย่างไรบ้าง


ซึ่งรูปแบบดังกล่าวจะแสดงทิศทางการขยายตัวของรอยแตกจากการล้าตัว ภาพด้านบนแสดงตัวอย่างของ river mark ที่ลอกมาจากผิวหน้าแตกหักของเพลาปั๊ม รูปแบบดังกล่าวมักเกิดขึ้นบนพื้นที่ที่มีการขยายตัวของรอยแตกอย่างรวดเร็วของบริเวณที่มีการแตกจากการล้าตัว (fatigue zone) บางครั้งมักพบในบริเวณที่มีการเป็นโซนของผิวหน้าแตกจาก fatigue zone ไปเป็น overload 

River mark ยังสามารถแสดงทิศทางการขยายตัวของรอยแตก บอกทิศทางได้อย่างไร? ก็ให้ลองนึกถึงน้ำแม่ปิง วัง ยม น่าน (ทางเหนือเรียก "แม่น้า" ว่า "น้ำแม่") ซึ่งจะไหมรวมกันเป็นแม่น้ำเจ้าพระยาที่ปากน้ำโพธิ์ บนผิวหน้าแตกหักก็เช่นเดียวกันครับ ก็จะสามารถบอกจุดเริ่มต้นการแตกหักว่ามาจากบริเวณไหน อย่างไรก็ตามรูปแบบดังกล่าวนี้ให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์น้อยมากต่อการนำไปวินิจฉัยเพื่อหาสาเหตุของความเสียหาย แต่จะมีประโยชน์อย่างมากในกรณีจุดเริ่มรอยแตกถูกทำลายดังภาพตัวอย่างด้านล่าง



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...