วันอังคารที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

กรณีตัวอย่าง: การเสียหายของใบมีดตัดเม็ดพลาสติก (Failure of cutting blade)

สำหรับกรณีตัวอย่างที่จะมานำเสนอในวันนี้นะครับ จะเกี่ยวกับการเสียหายของใบมีดที่ใช้ในการตัดเม็ดพลาสติก (ดังแสดงในรูปที่ 1) วัสดุดังกล่าวขึ้นรูปจากวัสดุผงไทเทเนียมคาร์ไบด์ (TiC) โดยการใช้งานใบมีดถูกประกอบแนบกับแม่พิมพ์ ด้วยแรงดันกดประมาณ 10 บาร์ ความเร็ว 700 รอบต่อนาที และสัมผัสกับเม็ดพลาสติกหลอมเหลวอุณหภูมิประมาณ 200 องศาเซลเซียส มีการระบายความร้อนด้วยน้ำหล่อเย็น ใบมีดเกิดการสึกหรอบริเวณคมตัดหลังจากใช้งานได้ประมาณ 14-30 วัน ซึ่งเป็นการใช้งานที่มีอายุค่อนข้างสั้น ดังนั้นจึงเป็นที่มาของการหาสาเหตุว่า ที่ใบมีดอายุสั้นนั้นเกิดจากอะไร เกิดจากตัวใบมีดเองหรือไม่? หรือว่าเกิดจากสภาวะการใช้งาน
รูปที่ 1 ใบมีดที่เกิดความเสียหาย
    
การตรวจสอบด้วยสายตาพบการสึกหรอของใบมีดจนทำให้ชิ้นงานสูญเสียเนื้อโลหะไป (รูปที่ 2) มีการกะเทาะของวัสดุ เมื่อนำไปตรวจสอบหารูปแบบและลักษณะทางกายภาพของผิวหน้าที่เกิดการสึกหรอด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบส่องกราด (SEM) พบรูปแบบความเสียหายที่เกิดจากจุดบกพร่องในเนื้อวัสดุที่ผ่านการขึ้นรูปจากโลหะผงและเกิดการไม่ประสานเป็นเนื้อเดียวกันอย่างสมบูรณ์ของอนุภาคของโลหะผง

รูปที่ 2 การตรวจสอบบริเวณที่เกิดการสึกหรอและกะเทาะออกของใบมีด

ซึ่งสามารถยืนยันได้จากการตรวจสอบโครงสร้างทางจุลภาคของชิ้นงานด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสงชนิดแสงสะท้อน (รูปที่ 3) ที่ตรวจพบช่องว่าง (porosity) ภายในเนื้อวัสดุที่เกิดจากกระบวนการผลิตโลหะผงที่มีการอัดตัวกันอย่างหลวมๆ หรือการหลอมยึดติดกันเป็นพันธะ (bonding) ไม่สมบูรณ์จำนวนมาก โลหะผงที่ใช้ในการขึ้นรูปเป็นแบบ acicular คล้ายกับตัวหนอน เมื่อการเกิดพันธะติดกันของอนุภาคโลหะผงไม่สมบูรณ์ คือมีโพรงอากาศหรือช่องว่างภายใน ทำให้ความแข็งแรงของพันธะต่ำ จุดบกพร่องดังกล่าวจะทำให้ความแข็งแรงของวัสดุลดลง เมื่อมีแรงกระแทกมากระทำจึงมีแนวโน้มที่จะแตกตามแนวของการประสานติดกันของอนุภาคโลหะผง

รูปที่ 3 การตรวจสอบภาคตัดขวางและโครงสร้างจุลภาคพบช่องว่างจากการขึ้นรูปจำนวนมาก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)

วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...