รูปที่ 1 ก้านทองเหลืองที่แตกหัก
เป็นที่ทราบกันดีว่า ชิ้นส่วนที่เสียหายด้วยกลไกการแตกหัก หัวข้อการทดสอบอย่างหนึ่งที่เราต้องดำเนินการ คือ การวิเคราะห์หน้าแตกหัก (Fracture surface analysis) เมื่อนำผิวหน้าแตกหักของก้านทองเหลืองไปตรวจสอบด้วยกล้องจุลทรรศน์อิเล็กตรอนแบบสแกน พบจุดบกพร่องจากการขึ้นรูปดังแสดงในรูปที่ 2 ซึ่งน่าจะเป็นโพรงที่เกิดจากการหดตัว (Shrinkage porosity) ในระหว่างขั้นตอน solidification นอกจากนั้นยังพบอนุภาคของเม็ดทราย มีลักษณะเป็นก้อนผลึกกระจายตัวอยู่ทั่วไปบนผิวหน้าชิ้นงาน
จุกพร่องบนผิวหน้าแตกหัก
ภาพขยายบริเวณจุดบกพร่อง
รูปที่ 2 ภาพถ่าย SEM แสดงลักษณะโพรงหดตัวจากการหล่อทองเหลืองบนผิวหน้าแตกหัก
เพื่อตรวจสอบและยืนยันว่าจุดบกพร่องดังกล่าวนำมาสู่ปัญหาการแตกหัก จึงได้มีการตรวจสอบเพิ่มเติมโดยการตรวจสอบภาคตัดขวางผ่านผิวหน้าแตกหัก จากการตรวจสอบพบโพรงอากาศขนาดใหญ่อยู่บริเวณผิวรอบนอกนอกของก้านทองเหลืองดังแสดงในรูปที่3
จุดบกพร่องที่ผิวด้านนอกของก้าน
ลักษณะของจุดบกพร่องที่กำลังขยายสูงที่ผิวด้านนอก
จุดบกพร่องที่พบภายในเนื้อวัสดุ
รูปที่ 3 ลักษณะจุดบกพร่องที่ตรวจพบใกล้บริเวณผิวหน้าแตกหัก
ดังนั้นจากความเสียหายที่เกิดขึ้นน่าจะเกิดจากการที่ภายในชิ้นงานมีจุดบกพร่องประเภทโพรงอากาศแทรกตัวอยู่ใกล้จุดเริ่มต้นการแตกหักและภายในเนื้อโลหะ ทำให้บริเวณดังกล่าวเป็นจุดรวมความเค้น (Stress concentrator) เมื่อได้รับความเค้นจากแรงดึงจากการขันก้านทำให้ชิ้นงานไม่สามารถคงรูปอยู่ได้จึงแตกหักออกจากกัน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น