วันพุธที่ 29 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ประวัติความเป็นมาของศาสตร์แห่งการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก (The history of fractography)

มนุษย์ตั้งแต่ยุคหิน (Stone Age) ได้มีการนำความรู้เรื่องการแตกหักมาประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน


นักโบราณคดีได้ค้นพบ อุปกรณ์เครื่องใช้ อาวุธยุทธภัณฑ์ และเครื่องมือที่ขึ้นรูปจากหิน โดยการควบคุมการแตกหักให้เป็นไปตามทิศทางที่ต้องการ ชี้ให้เห็นว่ามนุษย์รู้จักการเลือกหินโดยพิจารณาจากพฤติกรรมการแตกหัก

ในปี 1722 ได้มีการประยุกต์ใช้ลักษณะทางมหภาคของผิวหน้าแตกหักมาใช้ในการกำหนดคุณภาพของวัสดุโลหะ (metallic materials) ซึ่งศึกษาโดย Reaumur

ประมาณปี 1943 ได้มีการตรวจสอบที่กำลังขยายสูงด้วย OM กำลังขยายไม่เกิน 1,000 เท่า

จนกระทั่งได้มีการตรวจสอบกำลังขยายสูงด้วย scanning electron microscope (SEM)

การบัญญัติศัพท์ของคำว่า fractography ก็คล้ายกับการเริ่มใช้คำว่า metallography นั่นคือ คำว่า fracto มาจากภาษาลาติน คือ fractus หมายถึง การแตกหัก และคำว่า graphy มาจากภาษากรีก คือ grapho หมายถึง การอธิบายหรือพรรณนา

Fractography หมายถึง การอธิบายผลที่ได้จากการตรวจสอบผิวหน้าแตกหักของวัสดุจากภาพถ่าย

ได้มีการบัญญัติในปี 1944 โดย Carl A. Zapffe หลังจากเขาค้นพบวิธีในการหาตำแหน่งที่เหมาะสมของเลนส์กล้องจุลทรรศน์ เพื่อให้มีระยะใกล้กับวัตถุเพียงพอ จนสามารถมองเห็นผิวหน้าแตกได้อย่างชัดเจน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...