รูปที่ 1 การกัดกร่อนของท่อเหล็กกล้าที่ฝังใต้ดินเมื่อมีการเชื่อมต่อระหว่างท่อเก่ากับท่อใหม่
รูปที่ 2 การกัดกร่อนของโลหะต่างชนิดที่มีศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อน (Corrosion Potential) ต่างกัน
จากปรากฏการณ์ดังกล่าวก็สามารถนำมาอธิบายได้ว่า เพราะเหตุใดเมื่อนำท่อใหม่มาต่อเข้ากับท่อเก่าซึ่งเป็นท่อเห็กกล้าคาร์บอนที่ฝังอยู่ใต้ดิน จึงเกิดการกัดกร่อนขึ้นกับท่อใหม่ในอัตราที่เร็วมาก เมื่อพิจารณาจากตารางด้านล่าง จะเห็นว่าท่อเก่าซึ่งมีสนิมเกาะติดจะมีศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อนสูงกว่าท่อที่มีสภาพใหม่ (ค่าศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อนต่ำจะไวต่อการกัดกร่อนมากกว่าโลหะที่มีค่าศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อนสูง) เมื่อโลหะที่มีค่าศักย์ไฟฟ้าการกัดกร่อนที่ต่างกันมาต่อจะส่งเสริมให้เกิดการกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
ดังนั้นการกัดกร่อนจึงเกิดขึ้นกับท่อใหม่ และจะเกิดอัตราที่เร็วมากถ้ามีสัดส่วนของพื้นที่อาโนด/คาโธดต่ำ (อาโนดเล็ก คาโธดใหญ่) ดังรูปที่ 3
รูปที่ 3 การกัดกร่อนระบบท่อที่ฝังใต้ดินในกรณีที่นำท่อใหม่มาต่อกับท่อเก่า
ลักษณะดังกล่าวนี้ยังสามารถนำไปประยุกต์ใช้เพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับระบบท่อเก่าที่มีการเจียรผิว ซึ่งบริเวณดังกล่าวจะมีสภาพผิวที่ใหม่กว่า และ/หรือระบบท่อที่มีการขูดขีด หรือเสียดสี (รูปที่ 4) ลักษณะทางกายภาพดังกล่าวจะส่งเสริมให้เกิดการกัดกร่อนขึ้นกับชิ้นส่วนของเราได้
รูปที่ 4 ท่อที่มีรอยขีดข่วนสามารถส่งเสริมให้เกิดการกัดกร่อนได้ (ระบบท่อที่ใช้ระบบ Cathodic protection)
(http://www.corrconnect.com/cp1_inspect_protect/dissimilar-metal-galvanic-corrosion-cell)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น