วันอาทิตย์ที่ 9 มกราคม พ.ศ. 2554

สาเหตุราก (Root Cause) ของความเสียหายของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม

Failure Analysis หมายถึง การวินิจฉัยหาสาเหตุที่แท้จริงของความเสียหายที่เกิดขึ้น สำหรับใช้เป็นแนวทางพิจารณาในการแก้ไข ซ่อมแซม หรือออกแบบใหม่ เพื่อป้องกันความเสียหายในรูปแบบเดิมที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

วัตถุประสงค์ของการวิเคราะห์ความเสียหาย
1. ชี้ชัดหรือระบุปัญหาที่เกิดขึ้น
2. เพื่อหารากของปัญหา (root cause)
3. เพื่อหาแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
4. เพื่อตรวจสอบและยืนยันแนวทางปฏิบัติที่ถูกต้อง
5. เพื่อดำเนินการเปลี่ยนแปลงและสร้างมาตรฐาน

รากของปัญหา
สำหรับการเสียหายของชิ้นส่วน อุปกรณ์ทางวิศวกรรมสามารถจำแนกรากของปัญหาได้ 4 ประเภทหลักๆ ดังนี้ :
1. ความบกพร่องจากการออกแบบ
2. วัสดุมีจุดบกพร่อง
3. จุดบกพร่องจากการประกอบ/ติดตั้ง
4. ความผิดปกติจากการใช้งาน
บางครั้งสาเหตุของปัญหาถูกซ่อนอยู่ ทำให้เรามองไม่เห็น คล้ายกับรากไม้ที่ถูกฝังอยู่ใต้ดิน

จากประสบการณ์ในการวิเคราะห์ความเสียหายของผู้เขียน พบว่า บางปัญหาของการเสียหายของชิ้นส่วนแม้ว่าจะสามารถหารูปแบบหรือกลไกในการแตกหักเสียหายได้ แต่เมื่อเจาะลึกลงไปในรายละเอียดกลับพบว่า ความเสียหายนั้นเกิดจากปัญหาด้านบริหาร ยกตัวอย่าง เช่น ฝ่ายซ่อมบำรุงได้ลดจำนวนพนักงานทำให้การดูแลรักษาเครื่องจักรไม่ทั่วถึง หรือเกิดการแกล้งกันระหว่างฝ่ายผลิตกับฝ่ายประกันคุณภาพหรือฝ่ายควบคุมคุณภาพ เป็นต้น

รากของปัญหาในมุมมองที่ต่างจากวิศวกรโลหการ
1. การออกแบบ
2. การปฏิบัติการ
3. ระบบการออกใบอนุญาตทำงาน
4. การทดสอบและซ่อมบำรุง
5. ขาดการเรียนรู้ HAZID
6. ขาดความเข้าใจอย่างถูกต้อง
7. ปัจจัยจากมนุษย์
8. สาเหตุจากปัจจัยภายนอก
9. การจัดการเมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลง
10. ไม่ได้เรียนรู้จากเหตุการณ์ที่เกือบเกิดความเสียหาย
11. การตอบสนองของระบบเตือนภัย
12. วัฒนธรรมองค์กร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...