วันอังคารที่ 12 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รูปแบบการเสียหายของวัสดุ : บริเนลลิง (Brinelling)

การเสียหายด้วยรูปแบบดังกล่าวสามารถนิยามได้ง่ายๆ คือการเสียหายจากการถูกกดนั่นเอง (เหมือนการทดสอบความแข็งแบบบริเนล) เมื่อผิวหน้าวัสดุถูกกดแบบเฉพาะที่แบบซ้ำแล้วซ้ำเล่าหรืออยู่ภายใต้การรับแรงแบบคงที่แต่เกินค่าความต้านทานแรงดึงที่จุดครากของวัสดุ ทำให้วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวร ซึ่งสามารถพิจารณาได้ว่าวัสดุเกิดการเสียหายแบบบริเนลลิง นอกจากนี้การกดยังเป็นสาเหตุให้เกิดการสั่นสะเทือน เสียงรบกวนและความร้อนเพิ่มขึ้น การเสียหายด้วยรูปแบบบริเนลลิงสามารถเกิดขึ้นได้จากการลำเลียงหรือการใช้งานชิ้นส่วนที่ไม่ถูกต้อง เช่น การให้แรงเพื่อนำแบริ่งเข้าเสื้อลูกปืนที่ให้แรงกดมากเกินไป การทิ้งแบริ่งให้กระแทกกับชิ้นส่วนอื่น หรือจากการสั่นสะเทือนอย่างรุนแรงหรือด้วยความถี่สูง เช่น ที่เกิดขึ้นระหว่างการล้างด้วยอุลตร้าโซนิค ดังนั้นการเลือกใช้วัสดุที่มีความแข็งสูงหรือการดูแลอย่างดีเป็นพิเศษระหว่างการลำเลียงขนส่ง ติดตั้ง และการทำความสะอาดสามารถป้องกันการเสียหายแบบบริเนลลิงได้ ตัวอย่างชิ้นส่วนที่เสียหายแบบบริเนลลิงแสดงในภาพด้านล่าง
การเสียหายแบบบริเนลลิง
(ขอบคุณภาพจาก http://www.elephantracing.com/techtopic/rollerbearings.htm)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...