“การกัดกร่อนสามารถสร้างความเสียหายให้กับรถของคุณได้ ลองใช้วิธีดังกล่าวเพื่อป้องกันไม่ให้รถของคุณเกิดการกัดกร่อน”
รูปที่ 1 รถในสภาพที่เจ้าของดูแลดี (รถผมเองครับ อิอิ)
สำหรับรถยนต์นั้น บางท่านอาจถือว่าเป็นแค่เครื่องอำนวยความสะดวกสำหรับการเดินทางเท่านั้น แต่อาจเป็นทุกสิ่งทุกอย่างสำหรับบางท่าน (เป็นทั้งบ้าน ที่นอนและอื่นๆ) แต่เจ้าของรถทั้งหลายเหล่านี้ไม่สามารถอยู่นิ่งได้ถ้าพบรอยขีดข่วนบนรถตัวเอง และจะเจ็บปวดมากถ้าพบว่ารถของตัวเองเกิดสนิม ดังนั้นวิธีที่จะป้องกันไม่ให้เกิดการกัดกร่อน (สนิม) คือการดูแลเอาใจใส่อย่างดี
รูปที่ 2 รถยนต์ที่เกิดการกัดกร่อนบนผิวเหล็กที่อยู่ภายใต้สีเคลือบที่หลุดร่อน
เป็นที่ทราบกันดีว่า สาเหตุสำคัญของการกัดกร่อนในรถยนต์ ก็คือ เกิดการสะสมของสิ่งสกปรก ความชื้นหรือสารเคมี (แต่ถ้าในต่างประเทศก็อาจจะมาจากการสะสมของเกลือที่ใช้ในการละลายหิมะบนท้องถนน) โดยเฉพาะในบริเวณที่เข้าถึงหรือกำจัดได้ยาก (ซอกหรือหลืบทั้งหลาย) เช่นบริเวณใต้ท้องรถ กรอบประตู รอยบิ่น รอยขีดข่วนหรือความเสียหายใดๆ ที่เกิดบนผิวสีอันเกิดจากอุบัติเหตุเล็กน้อยหรือรอยถลอกที่เกิดจากการกระแทกของหินและกรวด จุดบกพร่องเหล่านี้แหละครับ จะเป็นกักเก็บสะสมของสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน (Corrosive Media)
รูปที่ 3 บริเวณใต้ท้องรถมักเป็นที่สะสมของดินและโคลน
รูปที่ 4 ท่อลำเลียงน้ำมันเกิดการกัดกร่อนจนรั่วเนื่องจากใช้งานในแถบบางขุนเทียนซึ่งมีไอเกลือสูง
รูปที่ 4 ท่อลำเลียงน้ำมันเกิดการกัดกร่อนจนรั่วเนื่องจากใช้งานในแถบบางขุนเทียนซึ่งมีไอเกลือสูง
(จากรูปที่ 4 จากลักษณะที่ปรากฏดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าผิวหน้าชิ้นงานด้านที่สัมผัสบรรยากาศภายนอกสามารถสัมผัสกับบรรยากาศที่มีองค์ประกอบของสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อน จนทำให้ผิวหน้าของเหล็กชิ้นส่วนรถยนต์ถูกทำลายนำไปสู่การกัดกร่อน ซึ่งเป็นบริเวณที่ง่ายต่อการกัดกร่อนและเป็นจุดเริ่มต้นการแตกร้าว และเกิดผลิตภัณฑ์การกัดกร่อน (corrosion products) เป็นสนิมสีน้ำตาล-แดง และสารที่มีฤทธิ์กัดกร่อนซึ่งปะปนอยู่กับสิ่งแวดล้อม เช่น ปะปนกับดินโคลน เป็นต้น รูปแบบการกัดกร่อนแบบนี้เกิดขึ้นทั่วผิวหน้าของโลหะ ทำให้โลหะเกิดการสูญเสียเนื้อโลหะ ทำให้ชิ้นงานบางลงและเกิดรูรั่วบริเวณที่บางที่สุด)
สภาวะสิ่งแวดล้อม เช่น ฝุ่นสารเคมี บรรยากาศใกล้ชายฝั่งทะเล หรือมลพิษจากอุตสาหกรรมมักเป็นปัจจัยเร่งให้เกิดการกัดกร่อน โดยเฉพาะในสภาวะที่มีความชื้นสูงเหนือจุดเยือกแข็งมักเป็นสภาวะที่เลวร้ายที่สุดสำหรับรถยนต์ กล่าวคือ อัตราการกัดกร่อนจะเร็วมากในสภาวะดังกล่าว
สำหรับสีเคลือบรถยนต์แล้ว ถ้ามีสิ่งแปลกปลอม เช่น เกลือ ทาร์ มูลนก และเศษจากอุตสาหกรรมที่ร่วงหล่นมาเกาะติดและถ้าทิ้งไว้อาจทำลายผิวหน้าสีเคลือบรถยนต์ได้ ดังนั้นควรกำจัดสารตกค้างให้เร็วที่สุด แต่ถ้ากำจัดออกยากควรเลือกใช้สารทำความสะอาดที่เหมาะสม โดยสารเหล่านั้นต้องไม่ทำลายผิวหน้าสีเคลือบของรถยนต์
ควรซ่อมรถและให้เสร็จทันทีในบริเวณที่เกิดการเสียหายของรถโดยเฉพาะบริเวณที่เกิดรอยขีดข่วนหรือเกิดการหลุดออกของสีเพื่อป้องกันการกัดกร่อนที่จะเกิดขึ้นกับเหล็ก
ความชื้น สิ่งสกปรกหรือโคลนสามารถสะสมตามพื้นและสามารถทำให้เกิดการกัดกร่อนได้ ดังนั้นจึงควรตรวจสอบบริเวณดังกล่าวอยู่เป็นประจำ เพื่อให้แน่ใจว่ามีความสะอาดและแห้ง และจะต้องตรวจสอบบ่อยยิ่งขึ้นถ้าคุณนำรถไปวิ่งนอกถนน เข้าป่าเข้าดง (Off-road) หรือวิ่งในฤดูฝน ควรทำความสะอาดรถของคุณด้วยสารละลายที่มีส่วนผสมของสบู่หรือสารทำความสะอาดที่มีฤทธิ์อ่อนๆ ผสมกับน้ำอุ่น เพื่อกำจัดสิ่งสกปรกที่ติดตัวรถเพื่อป้องกันการกัดกร่อน
รูปที่ 5 รถยนต์ประเภท OFF-Road ถ้าทำความสะอาดไม่ดีก็เกิดการกัดกร่อนได้ง่าย
สถานที่จอดรถยนต์เป็นปัจจัยที่สำคัญอีกประการหนึ่งที่ช่วยป้องกันการกัดกร่อน เราจะต้องมั่นใจว่ารถไม่ได้จอดในบริเวณที่มีความชื้นหรือบริเวณที่มีการถ่ายเทอากาศไม่ดี เนื่องจากถ้าโรงเก็บรถมีความชื้นสูงจะเร่งการกัดกร่อนได้เร็วยิ่งขึ้น ถ้าคุณไม่สามารถจอดรถในโรงเก็บรถได้ ก็แนะนำให้หาอุปกรณ์มาปกคลุม การปกคลุมด้วยวัสดุที่มีคุณภาพนอกจากจะช่วยป้องกันรังสียูวี ซึ่งมักทำลายสีของรถ ชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกและผ้าให้ซีดจางลงแล้ว ยังช่วยป้องกันการเกาะติดของฝุ่นและมลพิษทางอากาศบนพื้นผิวของรถท่านได้
รูปที่ 6 ล้อแม็กที่มักเกิดการกัดกร่อนแบบใต้ชั้นเคลือบ (Filiform Corrosion)
รูปที่ 7 การกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับแบตเตอรี่
รูปที่ 8 การกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วน torsion bar ซึ่งมีดินโคลนเกาะติด โดยเจ้าของรถไม่ทำการชะล้างออกจนเกิดการกัดกร่อนและเป็นจุดเริ่มต้นการแตกหักในที่สุด
รูปที่ 9 การกัดกร่อนที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนประตูเนื่องจากการเตรียมผิวไม่ดีก่อนการเคลือบ เมื่อนำไปใช้งานจึงเกิดการบวมของสีรถ ถ้าอย่ในช่วงประกันก็สามารถเคลมได้
ปล. หลืบ = crevice site แปลว่าซอก ที่อับอากาศ
เพื่อให้เข้าใจเพิ่มขึ้น โปรดศึกษาเพิ่มเติมได้จาก
http://siamkaewkumsai.blogspot.com/2010/05/galvanic-corrosion.html
ซึ่งจะกล่าวถึงความแตกต่างระหว่างการเคลือบด้วยสารที่เสถียรกว่าและด้อยกว่าบางส่วน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น