วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ขั้นตอนการทำ Field Metallographic Inspection Technique for High Temperature Component

ก่อนหน้านี้ผมได้กล่าวถึงเรื่องการลอกลายโครงสร้างจุลภาคของโลหะ บางท่านอาจอยากทราบว่า มีวิธีการดำเนินการอย่างไรบ้าง จริงๆ ก็ได้กล่าวมาบ้างแล้ว แต่จะขอสรุปพอเป็นสังเขปดังนี้

1.) เลือกจุดที่จะทำ Replica โดยเลือกบริเวณที่มีโอกาสเกิด Creep damage สูง

2.) ทำ Replica ในจุดที่เลือกไว้ ซึ่งขั้นตอนและข้อควรระวัง เป็นไปตาม ASTM E12 “Standard Practice for Production and Evaluation of Field Metallographic Replicas”

2.1 ขั้นตอนการทำ replica ประกอบไปด้วย

2.1.1 เตรียมผิวหน้าด้วยการขัดหยาบด้วยเครื่องขัดและ/หรือขัดมือด้วยกระดาษทราย

2.1.2 ขัดละเอียดหรือขัดมันผิวหน้าด้วยผ้าสักหลาดและผงเพชร

2.1.3 ทำการกัดกรดที่ผิวหน้าด้วยสารเคมีที่เหมาะสมกับโลหะชนิดนั้นๆ

2.1.4 ทำการลอกลายโครงสร้างด้วยแผ่นพลาสติกพิเศษ

2.1.5 ตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคที่ปรากฏด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสงชนิดพกพา

2.1.6 ตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคอย่างละเอียดด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสงและ/หรือ SEM

3.) ให้ Creep damage Rating แก่รูป microstucture ซึ่งมี 2 มาตรฐานได้แก่

- EU standard จะให้ Creep damage rating ตาม มาตรฐาน VGB-TW507

“Guideline for the Assessment of Microstructure and Damage Development of Creep Exposed Materials for Pipes and Boiler Component”

Note : VGB Technische Vereinigung Der Grosskraftwerksbetreiber E. V
Technical Association of large Power Plant Operators

โดย แบ่ง Creep Damage Class ดังนี้



- US standard จะให้ creep damage rating ตาม Restlife Estimation of Creeping components by means of Replicas, in Advance in life Prediction Methods, American Society of Mechanical Engineers, New York , 1983 p 307-314

โดยแบ่ง Creep Damage Class ดังนี้



3 ความคิดเห็น:

  1. ไม่ระบุชื่อ2 กันยายน 2553 เวลา 15:01

    เยียมครับ ! >>>>>พัฒ<<<<<

    ตอบลบ
  2. ไม่ระบุชื่อ8 พฤษภาคม 2555 เวลา 20:42

    อยากทราบ program ที่ใช้ในการ ประเมิน การเกิด creep หาได้ที่ไหนครับ

    ตอบลบ
  3. เท่าที่ทราบก็มีที่ EGAT หรือ Shell หรือที่บางมด แต่ผมมีเอกสาร R5 และ R6 (ซื้อมาหลายแสน แต่ไม่ได้ใช้เลยครับ)

    ตอบลบ

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...