วันนี้ขอเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 3 คือ การบิดเบี้ยวแบบยืดหยุ่น ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วัสดุสามารถเสียหายโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงรูปร่างอย่างถาวร เมื่อวัสดุมีการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบยืดหยุ่น (Elastic Deformation) และมีการยืดตัวจนทำให้ไม่สามารถใช้งานต่อไปได้ การเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบยืดหยุ่น เกิดขึ้นเมื่อวัสดุอยู่ภายใต้การรับแรงที่ยังไม่เกินค่าความต้านทานแรงดึงของวัสดุ การบิดเบี้ยวที่ไม่มีการเสียรูปอย่างถาวร (Non-Permanent Distortion) มีผลเสียกับวัสดุหลายอย่าง ยกตัวอย่าง เช่น ขัดขวางการทำงานของชิ้นส่วนอื่นที่อยู่ติดกันจนทำให้เกิดการเสียหาย การบิดเบี้ยวแบบยืดหยุ่นสามารถเกิดขึ้นได้จากแรงที่กระทำและผลจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ เช่น ค่าโมดูลัสของความยืดหยุ่นของวัสดุขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ และถ้ามีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิเกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด จะทำให้วัสดุเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบยืดหยุ่นที่แรงต่ำๆ ได้มากกว่าสภาวะอุณหภูมิการใช้งานปกติ
การเลือกใช้วัสดุที่มีค่าโมดูลัสสูงเพียงพอโดยปราศจากการเปลี่ยนแปลงรูปร่างแบบยืดหยุ่นมาก่อนสามารถป้องกันการเสียหายด้วยรูปแบบดังกล่าวนี้ได้ โดยเฉพาะในกรณีที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิแบบทันทีทันใด การควบคุมตัวแปรในการใช้งานของวัสดุเพื่อไม่ให้มีการรับแรงและอุณหภูมิเกินกว่าที่วัสดุจะรับได้เป็นอีกหนทางหนึ่งที่ช่วยให้วัสดุไม่เกิดการเสียหายด้วยรูปแบบดังกล่าว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า ...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น