วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2553

รูปแบบการเสียหายของวัสดุ : การคืบ (Creep) : ต่อ

บทความก่อนหน้านี้ ได้กล่าวการคืบของโลหะไปบ้างแล้ว แต่เนื่องจากการคืบมีหลายรูปแบบ ซึ่งจะยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

1. การโก่งงอจากการคืบ (Creep Buckling) เป็นรูปแบบการเสียหายของวัสดุที่เกิดขึ้นเมื่อกระบวนการการคืบทำให้วัสดุไม่สามารถรองรับแรงที่กระทำอยู่ต่อไปได้ และเป็นผลทำให้วัสดุเกิดการโก่งงอ


2. การแตกขาดจากกัน (Stress Rupture) หรือการแตกหักจากการคืบ (Creep Fracture) เป็นกลไกที่สัมพันธ์กับการคืบ ยกเว้นวัสดุจะเกิดการแตกหักจากการรับแรงทั่วไป จากที่กล่าวมาก่อนหน้านี้ การคืบจะเกิดขึ้นโดยการยืดตัวของวัสดุเมื่ออยู่ภายใต้การรับแรง และขึ้นอยู่กับเวลาและอุณหภูมิ เมื่อความเค้นมีค่ามากกว่าความสามารถของวัสดุจะรับได้ จึงเกิดการแตกหัก รอยแตกร้าวที่เกิดขึ้นจากการแตกหักสามารถเป็นไปได้ทั้งแบบผ่าเกรนและตามขอบเกรน ถ้าตรวจสอบบริเวณที่เกิดรอยแตกร้าวจะพบการเสียรูปอย่างถาวร (Plastic Deformation) ทั่วทั้งบริเวณ ซึ่งต่างจากรอยแตกร้าวเนื่องจากผลของความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress Corrosion Cracking) ที่เกิดการเสียรูปอย่างถาวรเฉพาะบริเวณรอบๆ รอยแตก
ตัวอย่าง Creep Voids หลังจากตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคแสดงในรูปที่ 1
รูปที่ 1 การตรวจสอบในระดับจุลภาคแสดง Creep voids เกิดขึ้นตาม grain boundaries

เพื่อป้องกันความเสียหายจากการแตกขาดจากกัน (Stress Rupture) หรือการแตกหักจากการคืบ (Creep Fracture) สิ่งสำคัญคือต้องทำความเข้าใจอุณหภูมิขีดจำกัดเกณฑ์สำหรับโลหะผสมแต่ละชนิด ตรวจสอบอุณหภูมิการทำงานและระดับความเค้น และดำเนินการตรวจสอบตามวาระเป็นประจำเพื่อระบุสัญญาณหรือตัวบ่งชี้ความเสียหายในระยะเริ่มต้น การออกแบบและติดตั้งชิ้นส่วนอย่างเหมาะสมสามารถช่วยป้องกันการเกิดเป็นจุดรวมความเค้นและลดความเสี่ยงต่อความเสียหายได้อีกด้วย

3. การหลวมเนื่องจากความร้อน (Thermal Relaxation) เป็นรูปแบบหนึ่งของการเสียหายจากการล้าตัว ซึ่งขึ้นอยู่กับอุณหภูมิ การเสียหายจาก thermal relaxation ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับวัสดุจำพวกสลักภัณฑ์ หรือวัสดุอื่นๆ ที่มีความเค้นกระทำระหว่างการขึ้นรูป เช่นเหล็กที่เสริมความแข็งแรงของคอนกรีต เพื่อให้รองรับแรงที่กระทำได้มากขึ้น ถ้าวัสดุเกิดการคืบที่อุณหภูมิสูง ความเค้นที่ตกค้างจะถูกกำจัดออกไป ทำให้วัสดุไม่สามารถรองรับแรงที่กระทำได้ต่อไป ยกตัวอย่าง เช่น แท่งคอนกรีตเสริมเหล็กที่เป็นชิ้นส่วนของทางด่วนดังรูปที่ 2

รูปที่ 2 แท่งคอนกรีตเสริมเหล็กที่มักเกิดการหลวมเนื่องจากความร้อน


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...