วันอังคารที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2553

มูลค่าความสูญเสียจากการกัดกร่อน (Costs of Corrosion)

ทื่อยากนำเสนอหัวข้อนี้ก็เพราะว่า มันมีมูลค่ามากกว่า % ที่รัฐมอบให้เพื่องานวิจัยและพัฒนาของประเทศ มากกว่าเท่าไร เราลองมาดูกัน...........................

การกัดกร่อนของวัสดุ เป็นปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นเสมอและสามารถพบเห็นได้ในชีวิตประจำวัน เมื่อเกิดขึ้นแล้วทำให้มีผลกระทบต่อด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม บางครั้งยังทำให้มีการสูญเสียชีวิต อันเป็นผลมาจากสาเหตุมากมายหลายประการ เช่น การขาดความรู้พื้นฐานของศาสตร์ด้านการกัดกร่อน ขาดความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้องในการเลือกใช้วัสดุที่เหมาะสมในสภาวะสิ่งแวดล้อมนั้นๆ มีการบำรุงรักษาและการป้องกันที่ไม่ถูกต้องและเหมาะสม นอกจากนั้นยังพบว่า เมื่อเกิดปัญหาแล้วไม่ได้ทำการตรวจสอบเพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เป็นต้น


ถ้าพิจารณากันจริงๆ แล้ว การกัดกร่อน เป็นเรื่องของธรรมชาติ คือ วัสดุต้องมีการเสื่อมสลายในที่สุด (จากกฏไตรลักษณ์ : เกิดขึ้น ตั้งอยู่ และดับไป) แต่เป็นกระบวนการที่ควบคุมได้ (Controllable Process)



จากข้อมูลที่ได้มีการสำรวจในประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา พบว่ามีการสูญเสียงบประมาณ (direct cost) ที่เกิดจากการกัดกร่อนประมาณ 3.1 % GDP โดยจากการสำรวจในปี ค.ศ. 1999-2001 และรายงานในปี  2002  คิดเป็นเงิน ~276 พันล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นเงินไทยประมาณ 10 ล้านล้านบาท ซึ่งยังไม่นับความสูญเสียทางอ้อมซึ่งมีค่าอีกเท่าตัว รวมกันก็ประมาณ 6%GDP (ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.corrosioncost.com/home.html หรือดาวน์โหลดเอกสารได้ที่ http://events.nace.org/publicaffairs/images_cocorr/ccsupp.pdf) และประเทศที่กำลังพัฒนา น่าจะมีการสูญเสียงบประมาณที่เกิดจากกัดกร่อนประมาณ 3-5% GDP สำหรับประเทศไทยนั้น ในปี 2008 มี GDP~$280 Billion ดังนั้น เราน่าจะมี costs จาก corrosion ประมาณ B285 Billion ถ้าคิดแค่ 3%GDP แต่ในความเป็นจริงแล้ว ประเทศเราน่าจะอยู่ในช่วง 5-10% โดยถ้าคิดที่ 5% เราต้องสูญงบประมาณที่เกิดจากการกัดกร่อนมากถึง 500,000 ล้านบาท เยอะไหมครับท่านผู้อ่าน (รัฐให้งบประมาณในการวิจัยและพัฒนาไม่ถึง 1%)

ดังนั้นในประเทศไทย จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะต้องส่งเสริมและเผยแพร่ความรู้ศาสตร์ด้านการกัดกร่อนของวัสดุ เพื่อให้ประชาชนมีความรู้ความเข้าใจอย่างถูกต้อง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในโรงงานอุตสาหกรรมที่มีการใช้วัสดุที่มีมูลค่าสูงๆ เช่น อุตสาหกรรมปิโตรเคมี โรงไฟฟ้า ชิ้นส่วนยานยนต์ และกระดาษ เป็นต้น เมื่อผู้ที่เกี่ยวข้องมีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์ของการกัดกร่อนของวัสดุแล้ว จะสามารถนำความรู้เหล่านั้นไปใช้ในการป้องการเสียหายจากการกัด-กร่อนในรูปแบบต่างๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกวัสดุที่เหมาะสม การบำรุงรักษาที่ถูกต้อง การวิเคราะห์หาสาเหตุที่เกิดขึ้น เป็นต้น ซึ่งจะทำให้เกิดการคุ้มค่าทางเศรษฐกิจ ลดมลพิษทางสิ่งแวดล้อม และผลกระทบต่อสิ่งมีชีวิต โดยเฉพาะโรงงานปิโตรเคมี


ในการที่จะประยุกต์ใช้วิศวกรรมการกัดกร่อนได้อย่างถูกต้องนั้น จะต้องมีความรู้เกี่ยวการกัดกร่อนเป็นอย่างดี ทั้งในด้านทฤษฎีและภาคปฏิบัติ อาทิเช่น ความรู้ทางด้านโลหะวิทยา เคมีไฟฟ้า การทดสอบและการเฝ้าระวัง เทคนิคในการป้องกันด้วยวิธีต่างๆ รูปแบบการกัดกร่อน และการวิเคราะห์หาสาเหตุ เป็นต้น

2 ความคิดเห็น:

  1. อยากได้ข้อมูลมูลค่าการสูญเสียจากการกัดกร่อนซึงเป็นปัจจุบันอ่ะค่ะ พอจะมีไหมคะ ขอบคุณค่ะ จะเอาไปทำวิจัยค่ะ ขอบคุณนะคะ

    ตอบลบ
  2. ในปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลครับ สำหรับประเทศไทย ตอนนี้ได้เริ่มโครงการสำรวจความเสียหายเนื่องจากการกัดกร่อนแล้ว โดยนักวิจัยของเอ็มเทคร่วมกับสมาคมการกัดกร่อน ถ้าสนใจก็สอบถาม ดร.วนิดาได้ครับ 0 25646500 ต่อ 4756

    ตอบลบ

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...