วันพุธที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2553

อย่าขันแน่นเกินไป (Do not overtightening)

หลายท่านคงเคยได้ยินข่าวที่รถยนต์วิ่งไปอยู่ดีๆ แล้วเกิดล้อหลุดและวิ่งแซงหน้ารถไปดังภาพที่ 1 ด้านล่าง โชคดีที่เป็นรถแข่ง ที่มีความปลอดภัยสูงและคนขับที่มีทักษะที่ดีกว่าพวกเรา

ภาพที่ 1 ล้อรถหลุด

วันนี้จึงอยากนำเสนอผลของการขันน๊อตรถยนต์แน่นเกินไป

ถ้าท่านผู้อ่านเคยขับรถไปแถวชนบทหรือนอกเมือง มักจะเห็นอยู่บ่อยๆว่า อู่ซ่อมรถยนต์ เวลาเขาขันน๊อตมักใช้เท้าเหยียบ (กลัวไม่แน่นพอ) ดังภาพที่ 2 ตอนขันออกคงไม่เป็นไรมาก แต่ตอนขันเข้าสิ อันตราย เพราะอะไรครับ.....

ภาพที่ 2 การขันน๊อตที่ไม่สามารถกำหนดค่าทอร์คได้

ก็เพราะว่าค่าทอร์คตอนขันเข้ามักจะเกินข้อกำหนด ส่งผลให้บริเวณร่องเกลียวที่สัมผัสกันมีความเค้นตกค้างสูงดังภาพที่ 3 เป็นที่ทราบกันดีว่า ความเค้นตกค้างสูงจะส่งผลให้วัสดุเกิดการกัดกร่อนได้ง่ายกว่าบริเวณอื่น นอกจากนี้ยังอาจส่งผลให้เกิดรอยร้าวเล็กๆ ในร่องเกลียว

ภาพที่ 3 แรงเค้นจะสูงในบริเวณร่องเกลียว

ถ้าคุณไปขับรถหรือใช้งานในบริเวณที่มีฤทธิ์กัดกร่อนรุนแรง เช่น แถวชายฝั่งทะเลที่มีไอเกลือ (NaCl) สูง คุณอาจจะเจอปัญหาล้อหลุดวิ่งแซงรถออกไป ก็เป็นได้ นั่นก็คืออาจเกิดความเสียหายด้วยกลไกการแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress Corrosion Cracking)

ดังนั้นวิธีการที่ดีควรขันน๊อตด้วยค่าทอร์คตามข้อกำหนด เช่นภาพที่ 4 ซึ่งเป็นอุปกรณ์ขันน๊อตที่สามารถตั้งค่าทอร์คได้ การขับขี่ก็ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

ภาพที่ 4 การขันน๊อตด้วยเครื่องมือที่ได้มาตรฐานและสามารถกำหนดค่าทอร์คได้

 
เล็กๆ น้อยๆ อย่ามองข้ามนะครับ..............................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...