วันอังคารที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (General or Uniform Corrosion)

จากที่ได้กล่าวบทนำเกี่ยวกับการกัดกร่อนไว้แล้วก่อนหน้านี้ วันนี้จะขอนำเสนอรูปแบบการกัดกร่อนแบบแรก คือ การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้

การกัดกร่อนแบบนี้สามารถพบเห็นได้ทั่วไป โลหะจะถูกกัดกร่อนอย่างสม่ำเสมอทั่วผิวหน้าของโลหะ ดังแสดงภาพจำลองในรูปที่ 1

รูปที่ 1 ภาพจำลองแสดงการกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า

โดยปกติจะเกิดขึ้นจากปฏิกิริยาเคมีหรือปฏิกิริยาเคมีไฟฟ้า การกัดกร่อนเกิดขึ้นอย่างสม่ำเสมอบนผิวหน้าหรือเป็นบริเวณกว้าง มีผลให้โลหะบางลงเรื่อยๆ หรือมีน้ำหนักหายไป คือ เบาลงเรื่อยๆ การกัดกร่อนประเภทนี้ในแง่ของเทคนิคไม่ค่อยเป็นปัญหาและไม่ก่อให้เกิดอันตรายรุนแรงเท่าใดนัก เนื่องจากสามารถคำนวณหาอัตราการกัดกร่อนและออกแบบเผื่อได้ พร้อมทั้งทำนายอายุการใช้งานของชิ้นส่วนที่เกิดการกัดกร่อนแบบนี้ได้ และเปลี่ยนใหม่เมื่อถึงเวลาอันควร ซึ่งอัตราการกัดกร่อนสามารถคำนวนได้สมการด้านล่าง
ซึ่งอัตราการกัดกร่อนสามารถใช้เป็นแนวทางในการพิจารณาว่าสภาวะการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใดดังแสดงในรูปที่ 2

รูปที่ 2 Corrosion rate guidline

การกัดกร่อนแบบสม่ำเสมอสามารถป้องกันหรือลดปริมาณการกัดกร่อนได้ดังรูปที่ 3

รูปที่ 3 แนวทางป้องกันการกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า


การกัดกร่อนในรูปแบบอื่นส่วนมากเป็นการกัดกร่อนที่เกิดขึ้นภายในและยากต่อการประเมินสภาพการกัดกร่อน นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นในพื้นที่เฉพาะของชิ้นส่วนหรือโครงสร้าง ซึ่งจะเป็นผลให้เกิดความเสียหายที่ไม่คาดคิดหรือความเสียหายก่อนกำหนดของเครื่องมือหรือเครื่องจักร ตัวอย่างการเสียหายจากการกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้าของโครงสร้างแสดงในรูปที่ 4

รูปที่ 4 ตัวอย่างชิ้นส่วนเสาเหล็กกล้าที่เกิดการกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...