วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552

จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหาย (6)

จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อที่ 3

วิศวกรต้องให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง

ความรู้ด้านฟิสิกส์สมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า พื้นฐานความจริงส่วนมากได้มาจากการสังเกต แต่มีการตรวจสอบอยู่สองสามอย่างที่สามารถปฏิบัติด้วยวิธีการกระทำที่ต่างจากที่กล่าวมา นี่เป็นความจริงสำหรับการทำงานของนักวิเคราะห์ความเสียหาย ซึ่งเราจะเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นบางเหตุการณ์ได้มีชิ้นส่วนสูญหายหรือถูกทำลาย แต่ยังสามารถหาสาเหตุความน่าจะเป็นของการเสียหายได้ ทั้งนี้เนื่องจากเราต้องการจะส่งเสริมให้เกิดสวัสดิภาพขึ้นกับสังคม แต่วิธีการวิเคราะห์ด้วยรูปแบบนี้จะต้องไม่เอาความคิดเห็นส่วนตัวเข้ามาปน หรือสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เราควรจะมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบอ้างอิงในการทำงานของเราเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอยู่เสมอๆ และเพื่อเป็นการนำเสนอผลที่ได้จากการตรวจสอบของเราให้เป็นที่ยอมรับ

ถึงอย่างไรก็ตาม จรรยาบรรณข้อนี้ไม่ได้ห้ามการตอบข้อซักถาม ที่ต้องใช้การคาดคะเนและพินิจพิจารณาโดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง และความรู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง นอกจากนั้น ควรเปิดเผยถึงผลประโยชน์ใดๆ ที่ตนเกี่ยวข้อง ที่อาจจะมีผลกระทบต่อดุลยพินิจของตน ในเรื่องทางเทคนิคที่ตนได้แถลง หรือเป็นประจักษ์พยานอยู่

โปรดติดตามตอนต่อไป................

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...