บทนำ
จากประสบการณ์ของผมซึ่งเป็นนักวิเคราะห์ความเสียหายชิ้นส่วนโลหะมามากกว่า 13
ปีพบว่า
การแตกร้าวมักเป็นสาเหตุส่วนใหญ่ของการเสียหายของชิ้นส่วนโลหะที่ถูกใช้งานในโรงงานปิโตรเคมี
เคมีและโรงไฟฟ้า
ซึ่งรูปแบบดังกล่าวอาจถือได้ว่าเป็นอันตรายต่อชิ้นส่วนทางวิศวกรรมมากที่สุด
เนื่องจากอาจนำไปสู่การแตกหักที่มักเกิดขึ้นแบบทันทีทันใดโดยมีสิ่งแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อนเป็นตัวส่งเสริมให้เกิดการแตกร้าว
เนื่องจากความรุนแรงของสิ่งแวดล้อมมักเป็นส่วนเสริมให้เกิดการแตกหักและเป็นตัวเร่งอัตราการเสียหายของวัสดุ
การแตกร้าวจากการส่งเสริมของสิ่งแวดล้อมจึงเป็นหัวข้อที่ควรศึกษาเพื่อให้เกิดความเข้าใจและรู้ข้อแตกต่างระหว่างกลไกความเสียหายแต่ละรูปแบบ
แม้ว่ากลไกที่ทำให้เกิดการแตกร้าวจะมีความซับซ้อน โดยทั่วไปมักแยกออกได้เป็น 3รูปแบบ คือ
3. การแตกร้าวจากการช่วยของไฮโดรเจน (Hydrogen-Assisted Cracking; HAC)
รูปแบบเหล่านี้จำเป็นต้องมีการจำแนกความแตกต่าง
เนื่องจากมีลักษณะที่ปรากฏบางอย่างคล้ายคลึงกันแต่มีบางอย่างที่แตกต่างกัน
ทั้งนี้เพื่อนำไปสู่การหาแนวทางในการป้องกันความเสียหายไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต
ผู้เขียนขอกล่าวถึงรูปแบบการแตกร้าวที่มีสิ่งแวดล้อมเป็นตัวช่วยเป็นลำดับดังนี้
การแตกร้าวจากการช่วยของไฮโดรเจน การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน
และการแตกร้าวจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน ซึ่งประกอบด้วยกลไกของการเกิด
ปัจจัยที่ส่งผลกระทบ และแนวทางในการแก้ไขและป้องกัน
นอกจากนี้ยังมีการเปรียบเทียบลักษณะเฉพาะที่ปรากฏของการแตกร้าวทั้งสามรูปแบบ
1.การแตกร้าวจากการช่วยของไฮโดรเจน
การที่ชิ้นส่วนโลหะมีไฮโดรเจนเจือปนอยู่ภายในสามารถส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพทางกลและทำให้มีความไวต่อการแตกร้าวได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าไฮโดรเจนเข้าไปกักขังแบบเฉพาะจุดในชิ้นส่วนโลหะ เช่น บริเวณส่วนปลายของรอยร้าว
จะสามารถเร่งให้เกิดการขยายตัวของรอยร้าวได้
ไฮโดรเจนสามารถเข้าไปอยู่ในโลหะได้หลายรูปแบบ โดยอาจอยู่ในรูปของน้ำ อากาศ
(แก๊สไฮโดรเจน ไอน้ำ มลภาวะ ฯ) และสารประกอบต่างๆ
และเมื่อไฮโดรเจนเข้าไปอยู่ในโลหะจะมีบทบาทสำคัญต่อการแตกร้าวหลายรูปแบบ ได้แก่
การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน การล้าร่วมกับการกัดกร่อน
และการแตกร้าวจากการล้า (fatigue cracking)
อย่างไรก็ตามยังมีปรากฏการณ์การแตกร้าวที่เกิดขึ้นในชิ้นส่วนที่มีความสำคัญภายใต้การรับแรงแบบคงที่และในสภาวะที่มีไฮโดรเจนโดยที่ไม่มีกระบวนการกัดกร่อนมาร่วมด้วย
การแตกร้าวด้วยกลไกดังกล่าวนี้ (HAC) ถือว่าเป็นกลไกการแตกร้าวที่แยกมาจาก SCC
และ CF และการแตกร้าวจากการล้าทั่วไป
นอกจากนี้ ไฮโดรเจนยังสามารถเหนี่ยวนำให้เกิดความเสียหายเล็กน้อยขึ้นกับวัสดุ
โดยไม่ส่งผลต่อการแตกหักของวัสดุ ซึ่งคำว่า “การแตกร้าวจากการช่วยของไฮโดรเจน”มีนิยามแบบกว้างๆ และเป็นการนำเอากลไกต่างๆ
ที่เป็นผลจากไฮโดรเจนทั้งหมดมารวมไว้ด้วยกัน และบางกรณีอาจใช้แทนคำว่า“การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (hydrogen-induced
cracking)” “การแตกเปราะจากไฮโดรเจน (hydrogen
embrittlement)” และ“การเสียหายจากไฮโดรเจน (hydrogen
damage)”
บทความนี้จะถือว่าการแตกร้าวจากการช่วยของไฮโดรเจนเป็นกลไกที่ไฮโดรเจนมีบทบาทสำคัญต่อการเป็นจุดเริ่มต้นหรือการขยายตัวของรอยร้าว
ส่วนกลไกที่ไฮโดรเจนมีส่วนส่งเสริมให้เกิดความเสียหายขึ้นกับวัสดุ เช่น
การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อนและการล้าร่วมกับการกัดกร่อนจะอธิบายในลำดับถัดไป
รอยร้าวที่ขยายตัวจากการช่วยของไฮโดรเจนโดยทั่วไปมักไม่เป็นกิ่งก้านสาขา
(อาจพบในปริมาณเล็กน้อย) และการขยายตัวของรอยร้าวอาจเป็นไปได้ทั้งแบบผ่าเกรน (transgranular)
หรือตามขอบเกรน (intergranular) วัสดุที่เกิดความเสียหายด้วยกลไกนี้มักไม่พบการเสียรูปอย่างถาวรให้เห็นเด่นชัด
ดังนั้นการแตกหักที่เกิดขึ้นจากกลไก HAC จึงมักเป็นการแตกแบบเปราะ (brittle
fracture) กลไกความเสียหายจากไฮโดรเจนหลายรูปแบบสามารถแสดงผลร่วมกันหรือเป็นแบบเดี่ยวเพื่อให้เกิดจุดเริ่มต้นและการขยายตัวของรอยร้าว
ครั้งต่อไปผมจะมากล่าวถึง กลไกและรูปแบบต่างๆ ของการแตกร้าวจากการช่วยของไฮโดรเจน โปรดรอติดตามนะครับ
[1] พจนานุกรมศัพท์วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
บัญญัติ “Stress
Corrosion Cracking; SCC”ว่า“การเกิดรอยแตกเนื่องจากความเค้นในสภาวะกัดกร่อน”
ส่วนหนังสือการกัดกร่อนและการเลือกใช้วัสดุ ของ รศ.ศิริลักษณ์ นิวิฐจรรยงค์ ใช้ว่า “การเกิดการกัดกร่อนแล้วแตกจากความเค้น”
[2] พจนานุกรมศัพท์วัสดุศาสตร์และเทคโนโลยี
บัญญัติ “Corrosion
Fatigue; CF” ว่า “การกัดกร่อนร่วมกับความล้า”
ขอถามคำถามเกี่ยวกับท่อสแตนเลสที่ใช้ส่งแก๊สหน่อยนะคะ
ตอบลบคือ ถ้าในแก๊สมีปรอทปนเปื้อน มันสามารถรวมตัวกับชั้นป้องกันPassive film บนโลหะได้ แล้วัมนทำให้ชั้นป้องกันเสถียรมากขึ้นเนื่องจากมันมีค่าศักย์ไฟฟ้าที่สูง แล้วเมื่อมันเป็นชั้นป้องกันติดโลหะมันจะเกิดการกัดกร่อนแบบกัลวานิกมั้ยคะ???