จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อที่ 3
วิศวกรต้องให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง
ความรู้ด้านฟิสิกส์สมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า พื้นฐานความจริงส่วนมากได้มาจากการสังเกต แต่มีการตรวจสอบอยู่สองสามอย่างที่สามารถปฏิบัติด้วยวิธีการกระทำที่ต่างจากที่กล่าวมา นี่เป็นความจริงสำหรับการทำงานของนักวิเคราะห์ความเสียหาย ซึ่งเราจะเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นบางเหตุการณ์ได้มีชิ้นส่วนสูญหายหรือถูกทำลาย แต่ยังสามารถหาสาเหตุความน่าจะเป็นของการเสียหายได้ ทั้งนี้เนื่องจากเราต้องการจะส่งเสริมให้เกิดสวัสดิภาพขึ้นกับสังคม แต่วิธีการวิเคราะห์ด้วยรูปแบบนี้จะต้องไม่เอาความคิดเห็นส่วนตัวเข้ามาปน หรือสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เราควรจะมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบอ้างอิงในการทำงานของเราเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอยู่เสมอๆ และเพื่อเป็นการนำเสนอผลที่ได้จากการตรวจสอบของเราให้เป็นที่ยอมรับ
ถึงอย่างไรก็ตาม จรรยาบรรณข้อนี้ไม่ได้ห้ามการตอบข้อซักถาม ที่ต้องใช้การคาดคะเนและพินิจพิจารณาโดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง และความรู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง นอกจากนั้น ควรเปิดเผยถึงผลประโยชน์ใดๆ ที่ตนเกี่ยวข้อง ที่อาจจะมีผลกระทบต่อดุลยพินิจของตน ในเรื่องทางเทคนิคที่ตนได้แถลง หรือเป็นประจักษ์พยานอยู่
โปรดติดตามตอนต่อไป................
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า &q...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น