วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม พ.ศ. 2559

การวิเคราะห์ความเสียหายงานโลหะครั้งที่ 4 (4th Workshop of Metallurgical Failure Analysis)

การสัมมนาเชิงปฏิบัติการเรื่องการวิเคราะห์ความเสียหายงานโลหะ
Workshop of Metallurgical Failure Analysis

วันที่              11 - 16 กรกฏาคม 2559
สถานที่           โรงแรมการ์เด้น คลิฟ รีสอร์ท แอนด์ สปา พัทยา จ.ชลบุรี
จัดโดย            ห้องปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุและเทคโนโลยีพื้นผิว
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ (เอ็มเทค)
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)

หลักการและเหตุผล
ความเสียหายที่เกิดขึ้นกับชิ้นส่วนอุปกรณ์ของเครื่องจักรและโครงสร้าง เป็นปัญหาที่มักพบได้เสมอในชีวิตประจำวันของเรา แม้ว่าในปัจจุบันจะมีอุปกรณ์ช่วยในการออกแบบ และมีการใช้เทคนิคในการซ่อมบำรุงที่ทันสมัย เพื่อช่วยในการตรวจสอบสภาพการใช้งานของเครื่องจักรมากขึ้นก็ตาม แต่สภาวะการทำงานจริงของชิ้นส่วนมักไม่เป็นไปตามที่ออกแบบไว้ ทำให้มีโอกาสที่ส่วนใดส่วนหนึ่งของโครงสร้างหรืออุปกรณ์จะรับภาระกรรมเกินขีดจำกัด ซึ่งนำไปสู่การแตกหักเสียหายหรือเสื่อมสภาพในที่สุด ความเสียหายที่เกิดขึ้นทำให้เกิดผลเสียทางเศรษฐกิจ ชีวิต ทรัพย์สิน และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นความสามารถในการวิเคราะห์การเสียหายของวัสดุได้อย่างถูกต้องแม่นยำนั้น ถือเป็นเป้าหมายสูงสุดอย่างหนึ่งในวิชาชีพวิศวกรรม เนื่องจากข้อมูลรายละเอียดที่ได้จากกระบวนการวิเคราะห์และผลการวิเคราะห์ จะเป็นประสบการณ์อันมีค่าที่จะทำให้เราเข้าใจธรรมชาติได้ดีขึ้น นอกจากนั้นยังจะเพิ่มขีดความสามารถในการออกแบบและวิศวกรรมให้สูงขึ้น และจะเป็นประโยชน์ในการป้องกันและลดการเสียหายของชิ้นส่วนในอนาคต สาเหตุของการเกิดความเสียหายมีหลายประเด็น และการวิเคราะห์ทดสอบนั้นมีเทคนิคและขั้นตอนที่หลากหลาย
ดังนั้นการสัมมนาเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ จึงได้เน้นให้ผู้ร่วมสัมมนาได้พัฒนาทักษะและความรู้ด้านการวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุอย่างเป็นระบบและสามารถนำประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานที่ดูแลรับผิดชอบได้โดยตรง ทั้งนี้มีการเรียนรู้ทั้งด้านทฤษฎีและการลงมือปฏิบัติจากทีมวิทยากรที่มีประสบการณ์ทั้งจากสถาบันวิจัยและภาคเอกชน นอกจากนี้ผู้เข้าร่วมสัมมนายังมีโอกาสได้ประเมินความรู้ของตนเอง และได้รับประกาศนียบัตรรับรองสำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์การประเมินทดสอบความรู้

วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนามีความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวิศวกรรมวัสดุ
2. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาเข้าใจสาเหตุที่นำไปสู่การเสียหายของวัสดุ
3. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบแนวทางในการวิเคราะห์ความเสียหายตามหลักปฏิบัติที่เป็นสากล
4. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาทราบความสัมพันธ์ระหว่างสาเหตุและผลกระทบที่สำคัญของการเสียหายของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม
5. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้เรียนรู้หลักการเป็นผู้ตรวจสอบเบื้องต้นและผู้ควบคุมการวิเคราะห์ความเสียหาย
6. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้รับความรู้ที่จำเป็นในการดูแลหรือดำเนินการที่นำไปสู่การใช้งานชิ้นส่วนให้เกิดประสิทธิภาพ
7. สามารถสื่อสารและถ่ายทอดข้อมูลให้กับผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ โดยเฉพาะในกรณีที่ความเสียหายมีความซับซ้อน
8. สามารถพัฒนาวิธีการและเทคนิคใหม่ๆ ในการดำเนินการวิเคราะห์ความเสียหายอย่างเป็นระบบ
9. สามารถถ่ายทอดรู้ที่ได้ให้กับพนักงานภายในโรงงาน ทั้งนี้เพื่อลดค่าใช้จ่ายและเวลา
10. ได้รับความรู้ด้านเทคนิคและข้อมูลเชิงลึกในการหลีกเลี่ยงความเสียหายของชิ้นส่วนทางวิศวกรรม
11. ได้ลงมือปฏิบัติในการวิเคราะห์ความเสียหายและสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับองค์กรหรืองาน
12. เพื่อให้ผู้เข้าร่วมสัมมนาได้สร้างเครื่อข่ายนักวิเคราะห์ความเสียหายเพื่อนำไปแลกเปลี่ยนกันในอนาคต

รูปแบบกิจกรรม
-          อบรมเชิงปฏิบัติการเน้นการเรียนรู้ทั้งภาคทฤษฏีและปฏิบัติ
-          มีการสาธิตภาคปฏิบัติจากผู้เชี่ยวชาญ
-          มีการนำเสนอความรู้ภาคปฏิบัติเป็นรายกลุ่ม
-          มีการทดสอบและประเมินความรู้ของผู้เข้าร่วมการอบรม
-          มีการมอบประกาศนียบัตรรับรองสำหรับผู้ที่ผ่านเกณฑ์ประเมิน

คุณสมบัติของผู้สมัครเข้ารับการอบรม
-          วิศวกรที่มีความรู้พื้นฐานด้านวิศวกรรมวัสดุ เครื่องกล อุตสาหการ โลหการ ที่หรือสาขาที่ใกล้เคียง
-          วิศวกรที่ปฏิบัติงานในอุตสาหกรรมต่างๆ และผู้ที่สนใจทั่วไป

ผู้มีสิทธิ์ได้รับประกาศนียบัตรรับรอง
-          ผ่านเกณฑ์การประเมินความรู้ที่ระดับคะแนนสูงกว่าร้อยละ 70
-          มีเวลาเข้าการอบรมสะสมไม้น้อยกว่าร้อยละ 80

วิทยากร
1. ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์; Dr.–Ing. (Materials Engineering)
2. ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์; Ph.D. (Materials Science and Engineering)
3. ดร.ณมุรธา พอลสัน สถิรจินดา; Ph.D. (Chemical Science and Engineering)
4. ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์ Ph.D. (Metallurgical Engineering)
5. ดร.ปิติชน กล่อมจิต; Ph.D. (Materials Science and Engineering)
6. อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว; M. Eng (Metallurgical Engineering)
7. อ.สยาม แก้วคำไสย์; M. Eng (Metallurgical Engineering)
8. .นิรุช บุญชู M. Eng (Metallurgical Engineering)
9. อ.ปิยะ คำสุข M. Sc. (Industrial Chemistry)
10. อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน B. Eng (Metallurgical Engineering)
11. อ.ศิขริน ศรโชติ B. Eng (Electrical Engineering)
12. อ.วิษณุพงษ์ คนแรง B. Eng (Materials Engineering and Production Technology)
13. อ.มนูญศักดิ์ ฤกษ์ปราณี (บริษัท ไอเอส อินดัสตรีส์ จำกัด)


กำหนดการ
วันจันทร์ ที่ 11 กรกฎาคม 2559
บทปริทัศน์ และกระบวนการทางโลหะวิทยาและจุดบกพร่อง

08:00 . – 08:30 น.       ลงทะเบียน
08:30 น. – 09:00 น.       พิธีเปิดการสัมมนา (กำหนดการสัมมนา แนะนำวิทยากรและผู้เข้าร่วมสัมมนา)
                                                 (ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์)
09:00 น. – 10:30 .       บทปริทัศน์การวิเคราะห์ความเสียหายและการป้องกัน
- วัสดุเสียหายได้อย่างไร (Why material failure?)
- ความเสียหายและการวิเคราะห์ความเสียหาย (Failure and Failure Analysis)
- การป้องกันความเสียหาย (Failure Prevention)
(อ.สยาม แก้วคำไสย์)
10:30 . – 10:45 .       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:45 . – 12:00 .       โลหะวิทยาเบื้องต้นและสมบัติของวัสดุ
                                    - โครงสร้างของโลหะ (Structure of metals)
                                    - การขึ้นรูปทางกล (Mechanical working)
                                    - ธาตุผสมและโครงสร้างจุลภาคของโลหะ (Alloying of metals and microstructures)
                                    - ความแข็งแรง ความแกร่ง และความแข็ง (Strength, toughness, and hardness)
                                  (ดร.ปิติชน กล่อมจิต)
12:00 น. – 13:00 .       พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 . – 14:30 .       กระบวนการผลิตทางโลหะวิทยาและจุดบกพร่อง
- จุดบกพร่องจากการหล่อ (Casting defects)
- จุดบกพร่องจากการแปรรูป (Processing defects)
- จุดบกพร่องจากกระบวนการทางความร้อน (Heat treating defects)
(ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์)  
14:30 . – 14:45 .       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
14:45 . – 16:30 .       ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะเนื่องจากการเชื่อม (Failure of materials in welding)
(ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์)
16:30 . – 17:15 .       ภาคปฏิบัติ : การจำแนกชนิดของจุดบกพร่อง
แบ่งกลุ่มเป็น 5 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำการจำแนกชนิดของวัสดุ
17:20 . – 18:00 .       พักผ่อนตามอัธยาศัย
18:00 น. – 21:00 .       รับประทานอาหารค่ำและทำกิจกรรมร่วมกัน

วันอังคาร ที่ 12 กรกฎาคม 2559
ความเสียหายจากการกัดกร่อน และการทดสอบแบบไม่ทำลาย
08:45 . – 10:45 .       ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะเนื่องจากการกัดกร่อน
- การกัดกร่อนแบบทั่วผิวหน้า (Uniform corrosion)
- การกัดกร่อนแบบกัลวานิก (Galvanic corrosion)
- การกัดกร่อนแบบใต้รอยซ้อน (Crevice corrosion)
- การกัดกร่อนแบบรูเข็ม (Pitting corrosion)
- การสึกกร่อน-กัดกร่อน (Erosion-corrosion)
- การแตกร้าวเนื่องจากความเค้นร่วมกับการกัดกร่อน (Stress corrosion cracking)
- การแตกร้าวเนื่องจากความล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion fatigue cracking)
- การแตกร้าวจากการเหนี่ยวนำของไฮโดรเจน (Hydrogen induced cracking)
(ดร.วนิดา พงศ์ศักดิ์สวัสดิ์)  
10:45 น. – 11:00 .         พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
11:00 . – 12:15 น.         ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะเนื่องจากการกัดกร่อน
- การกัดกร่อนภายใต้ฉนวน (Corrosion under insulation)
- การตรวจสอบติดตามการกัดกร่อน (Corrosion monitoring)
(ดร.อำนวยศักดิ์ เจียรไพโรจน์)
12:15 น. – 13:15 .       พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:15 . – 15:30 น.       วิธีและเครื่องมือในการทดสอบแบบไม่ทำลาย
- การตรวจสอบด้วยสายตา (Visual inspection)
- การตรวจสอบด้วยสารแทรกซึม (Penetrant test)
- การตรวจสอบด้วยอนุภาคผงแม่เหล็ก (Magnetic particle test)
- การตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasonic test)
- การตรวจสอบด้วยการฉายรังสี (Radiographic test)
- การตรวจสอบด้วยคลื่นอะคูสติก (Acoustic emission test)
(อ.มนูญศักดิ์ ฤกษ์ปราณี)
15:30 น. – 15:45 น.       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
15:45 . – 19:00 .       สาธิตการใช้เครื่องมือและปฏิบัติการทดสอบ
แบ่งเป็น 5 สถานี ได้แก่
1. การตรวจสอบด้วยคลื่นอะคูสติก
2. การตรวจสอบโครงสร้างทางจุลภาค
3. การตรวจสอบด้วยสารแทรกซึมและการตรวจสอบด้วยอนุภาคผงแม่เหล็ก
4. การตรวจสอบด้วยอุลตร้าโซนิค
5. การตรวจสอบปริมาณเฟอร์ไรต์ ส่วนผสมทางเคมีแบบพกพา และการวัดความหนาชั้นเคลือบ
19:00 น. – 20:00 น.       รับประทานอาหารค่ำ 

วันพุธ ที่ 13 กรกฎาคม 2559
ความเสียหายจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
08:45 . – 10:45 .      ความเสียหายของชิ้นส่วนโลหะจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
- การเสียหายด้วยรูปแบบคาร์บูไรเซชั่น (Carburization)
- การเสียหายด้วยรูปแบบซัลฟิเดชัน (Sulfidation)
- การเสียหายด้วยรูปแบบออกซิเดชัน (Oxidation)
- การเสียหายจากการคืบ (Creep)
(ดร.ณมุรธา พอลสัน สถิรจินดา)
10:45 น. – 11:00 .       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
11:00 . – 12:00 น.       กรณีความเสียหายของชิ้นส่วนจากการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
(อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
12:00 น. – 13:00 น.       พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00 . – 14:00 .       การวิเคราะห์ลักษณะและโครงสร้างของโลหะภาคสนาม (Replication)
(อ.นิรุช บุญชู)
14:00 น. – 14:15 .       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
14:15 . – 14:45 น.       สาธิตขั้นตอนการลอกลายโครงสร้างจุลภาค (Replica test)
(อ.วิษณุพงษ์ คนแรง)
14:45 น. – 17:00 .       ภาคปฏิบัติ:การลอกลายโครงสร้างจุลภาคของชิ้นส่วนโลหะที่ผ่านการใช้งานที่อุณหภูมิสูง
แบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยให้แต่ละกลุ่มทำตามขั้นตอนที่วิทยากรได้สาธิตให้ดู
(อ.วิษณุพงษ์ คนแรง ดูแลกลุ่มที่ 1, อ.ศิขริน ศรโชติ ดูแลกลุ่มที่ 2, อ.นิรุช บุญชู ดูแลกลุ่มที่ 3,
อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว ดูแลกลุ่มที่ 4, และ อ.ปิยะ คำสุข ดูแลกลุ่มที่ 5)
17:00 . – 18:00 .       การตรวจสอบโครงสร้างจุลภาคที่ได้จากการลอกลายด้วยกล้องจุลทรรศน์แบบแสง 
(อ.นิรุช บุญชู และ อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
18:00 . – 19:00 .       พักผ่อนตามอัธยาศัย
19:00 น. – 20:00 น.       รับประทานอาหารค่ำ 

 วันพฤหัสบดี ที่ 14 กรกฎาคม 2559
ขั้นตอนการวิเคราะห์ความเสียหายและการวิเคราะห์ผิวหน้าแตก
09:00 น. – 10:30 น.       กระบวนการวิเคราะห์ความเสียหาย
- ขั้นตอนและเครื่องมือในการวิเคราะห์ความเสียหาย
- การประเมินสมบัติทางกลหลังเกิดความเสียหาย
(อ.วิษณุพงษ์ คนแรง)
10:30 . – 10:45 .         พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
10:45 น. – 12:00 น.       การวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก (Fractography)
(อ.สยาม แก้วคำไสย์)
12:00. – 13:00 .       พักรับประทานอาหารกลางวัน
13:00. – 14:30.         ภาคปฏิบัติ: การเก็บข้อมูล การรักษาตัวอย่าง การสุ่มตัวอย่าง และการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก แบ่งเป็น 5 กลุ่ม โดยวิทยากรจะจัดทำสถานีและแจกชิ้นส่วนผิวหน้าแตกหักให้กลุ่มละ 1 ตัวอย่าง
(อ.วิษณุพงษ์ คนแรง ดูแลกลุ่มที่ 1, อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน ดูแลกลุ่มที่ 2, อ.นิรุช บุญชู ดูแลกลุ่มที่ 3, อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว ดูแลกลุ่มที่ 4, และ อ.ปิยะ คำสุข ดูแลกลุ่มที่ 5)
14:30. – 14:45.       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
14:45. – 16:30 .       ภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก (ต่อ)
16:30. – 16:45 .       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
16.45 . – 17:30 .         สรุปภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ผิวหน้าแตกหัก
                                 (อ.วิษณุพงษ์ คนแรง และ อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน)
17.30 . – 18:00 .       ทีมวิทยากรทบทวนเนื้อหาเพื่อเตรียมตัวก่อนสอบ
                                 (ดร.ณมุรธา สถิรจินดา และ อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
18:00 . – 19:00 .       พักผ่อนตามอัธยาศัย
19:00 น. – 20:00 น.       รับประทานอาหารค่ำ 

วันศุกร์ ที่ 15 กรกฎาคม 2559
กรณีตัวอย่างและภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหาย
09:00 น. – 10:45 น.       กรณีตัวอย่างการวิเคราะห์ความเสียหาย
- การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมลำเลียงน้ำโอโซน
- การวิเคราะห์ความเสียหายของเพลา
- การวิเคราะห์ความเสียหายของ Rupture disk
- การวิเคราะห์ความเสียหายของท่อ AISI 321 ลำเลียงสารประกอบไฮโดรคาร์บอน
(อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
10:45 น. – 11:00 น.       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
11:00 น. – 12:00 น.       ทำแบบทดสอบหลังการฝึกอบรม (มีโล่ห์รางวัลสำหรับผู้ที่ได้คะแนนสูงสุด)
ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับใบประกาศนียบัตรต้องได้คะแนนมากกว่าร้อยละ 70
12:00 . – 13:00 .        พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00 . – 14:30 .        ภาคปฏิบัติ: การวิเคราะห์ความเสียหาย (แบ่งเป็น 5 กลุ่ม)
วิทยากรแจกชิ้นส่วนที่เสียหายให้กลุ่มละ1 ตัวอย่าง โดยจะจัดเตรียมข้อมูลให้บางส่วน เช่น
ภาพถ่าย SEM และ EDS spectra เป็นต้น และแต่ละกลุ่มจะมีพี่เลี้ยงจากทีมวิทยากรกลุ่มละ 1 คน
(อ.วิษณุพงษ์ คนแรง ดูแลกลุ่มที่ 1, อ.ศิริวรรณ อ่วมปาน ดูแลกลุ่มที่ 2, อ.นิรุช บุญชู ดูแลกลุ่มที่ 3,
อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว ดูแลกลุ่มที่ 4, และ อ.ปิยะ คำสุข ดูแลกลุ่มที่ 5)
(ควบคุมโดย อ.ศิขริน ศรโชติ)
14:30 . – 14:45 .       พักรับประทานอาหารว่าง เครื่องดื่ม และพบปะพูดคุยกัน
14:45 . – 16:00 .       ภาคปฏิบัติ: การวิเคราะห์ความเสียหาย (ต่อ)
16:00 . – 16:15 .       พักรับประทานอาหารว่างและเครื่องดื่ม
16:15 . – 18:00 .       แต่ละกลุ่มช่วยกันระดมสมองและจัดทำ presentation ในงานที่ได้รับมอบหมาย
18:00 . – 19:00 .       พักผ่อนตามอัธยาศัย
19:00 น. – 20:00 น.       รับประทานอาหารค่ำ 


วันเสาร์ ที่ 16 กรกฎาคม 2559
การนำเสนอและสรุปผล
08:45 น. – 11:00 น.       นำเสนอผลงานจากภาคปฏิบัติการวิเคราะห์ความเสียหายเป็นรายกลุ่ม
กลุ่มละ 20 นาที โดยนำเสนอ 15 นาที และถาม-ตอบ พร้อมรับฟังคำวิจารณ์
และข้อเสนอแนะจากทีมวิทยากร 5-10 นาที
(ดร.เอกรัตน์ ไวยนิตย์ ดร.ณมุรธา สถิรจินดา และ อ.โฆษิต วงค์ปิ่นแก้ว)
11:00 น. – 12:00 .       สรุปและมอบใบประกาศนียบัตรพร้อมถ่ายรูปหมู่ร่วมกัน
12:00 . – 13:00.       รับประทานอาหารกลางวันร่วมกัน
13:00.                      เดินทางกลับบ้านโดยสวัสดิภาพ                                        

รายละเอียดการลงทะเบียน
ค่าลงทะเบียน
บุคคลทั่วไป                                                                                30,000 บาท /ท่าน
สมาชิกศูนย์ฯ                                                                              27,000 บาท /ท่าน
สมาชิกสมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย                                       27,000 บาท /ท่าน
สมาชิกสมาคมการสึกหรอและการหลื่อลื่นไทย                                      27,000 บาท /ท่าน
                                                                                                
หมายเหตุ
- อัตราค่าลงทะเบียนรวมค่าอาหารว่าง อาหารกลางวัน อาหารเย็น เอกสารประกอบการอบรม 1 ชุด ใบประกาศนียบัตร (ผู้ที่ผ่านเกณฑ์) กระเป๋าใส่เอกสาร เสื้อยืด (รุ่นที่ 4) และภาษีมูลค่าเพิ่ม 7%
- ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ เป็นหน่วยงานของรัฐ จึงไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ต้องหักภาษี 3%
- ค่าโรงแรมในอัตราพิเศษเพียง 1,800 บาทต่อห้องต่อคืนเท่านั้น
- รับจำนวนจำกัดเพียง 30 ท่านเท่านั้น

ลงทะเบียน
· กรอกข้อความลงในใบสมัคร และส่งทางโทรสาร หมายเลข 0 2564 6505
**เพื่อหลีกเลี่ยงปัญหาที่นั่งในการอบรมเต็ม โปรดทำการลงทะเบียนตามช่องทางดังกล่าวเพื่อสำรองที่นั่งเอาไว้ก่อน แล้วค่อยดำเนินการโอนเงินชำระค่าลงทะเบียนในภายหลัง**
การชำระค่าลงทะเบียน
· เงินสด/ เช็ค สั่งจ่าย MTEC REVENUE
· โอนเงินเข้าบัญชีMTEC REVENUE ธนาคารกรุงเทพ จำกัด (มหาชน) ประเภทออมทรัพย์
สาขาย่อยอุทยานวิทยาศาสตร์ เลขที่บัญชี 080-0-001786 (กรุณาส่งหลักฐานการโอนเงินพร้อมระบุชื่อ,หน่วยงาน และหลักสูตรที่สมัครมาทางโทรสาร 0 2564 6505)

สมัครและสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
งานฝึกอบรม (คุณพลธร เวณุนันท์)
ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติ
โทรศัพท์ 025646500 ต่อ 4677 โทรสาร 0 2564 6505
E-mail : conferences@mtec.or.th

การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)

วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...