1. ดูปากคนอื่นเวลาเขาพูดและพยายามทำตาม วิธีนี้อยู่บ้านก็ฝึกได้ เช่น เวลาเราดู โทรทัศน์ก็ลองทำปากเลียบแบบในทีวีและพูดตาม
2. พูดช้าๆ ไว้ (จนกว่าเราจะพูดสำเนียงที่ถูกต้องได้) การพูดช้าๆ ให้คู่สนทนาฟังรู้เรื่อง แน่นอนว่าต้องดีกว่าพูดเร็วปรื๋อฟังเผินๆ สำเนียงดี แต่ฝรั่งงงเพราะฟังเราไม่รู้เรื่องโขเลยล่ะค่ะ
3. ฟังเพลงภาษาอังกฤษ วิธีนี้น่าจะถูกใจใครหลายๆ คน ได้ฝึกภาษา ได้ศึกษาความแตกต่างของดนตรีในแต่ละภาษา แถมยังเพลินอีกต่างหาก
4. ใช้พจนานุกรม พออ่านมาถึงตอนนี้หลายคนบอกว่า ก็ใช้อยู่นะ เอ๋.. ไม่ใช่แค่ใช้หาศัพท์ค่า แต่คุณในฐานะผู้กำลังมีความมุ่งมั่นจะพูดภาษาอังกฤษเก่ง ถ้าเกิดว่าสามารถใช้ตัว Phonetics (สัทอักษร - สัญลักษณ์ที่ถอดเสียงคำอ่านภาษาอังกฤษ) ที่อยู่ในดิกชันนารีได้ การจะพูดให้เหมือนฝรั่งก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว เพราะคุณจะมีเสียงของทุกคำอยู่ในมือ เพียงแค่พลิกเปิดหาในดิกชันนารี แล้วออกเสียงตามเท่านั้น น่าสนใจใช่ไหมล่ะค่ะ
5. ทำบัญชีคำศัพท์ใช้บ่อยที่คุณคิดว่าออกเสียงยากแล้วลองนำคำศัพท์พวกนี้ไปให้คนที่พูดภาษาอังกฤษเก่งเค้าช่วยออกเสียงเป็นตัวอย่างให้ โอ๊ะ แต่ถ้าคุณกำลังคิดว่า"รอบๆตัวฉันไม่มีใครมีคุณสมบัตินี้ซักคน แล้วจะทำไงดีล่ะเนี่ย" ก็ข้ามไปอ่านข้อต่อไปเลยค่า
6. หาหนังสือที่มีเทปหรือซีดีไว้หัดพูดตามได้มาฝึก วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยคุณได้ฝึกอ่านจากหนังสือ แล้วออกเสียงตามจากเทปหรือซีดี หรือจะฝึกฟังก่อนแล้วค่อยไปเปิดหนังสือเช็ค ความแม่นยำของของทักษะการฟังคุณก็ยังได้ เวิร์กแน่นอนค่า
7. ออกเสียงท้ายคำ อีกปัญหาหนึ่งของคนไทยก็คือการละเลยการออกเสียงท้ายคำนะคะ แต่ถ้าอยากพูดให้เหมือนคุณฝรั่ง ต่อไปนี้ต้องเตือนตัวเองไม่ให้ลืมจุดนี้เด็ดขาดนะจ๊ะ โดยเฉพาะเสียง S และ ED การออกเสียงท้ายคำจะช่วยให้กล้ามเนื้อปากที่ใช้เวลา ออกเสียงภาษาอังกฤษของคุณ แข็งแรงขึ้นค่ะ
8. อ่านภาษาอังกฤษออกเสียงดังๆ ทุกๆ วัน วันละ 15-20 นาที จากผลการวิจัยที่ชี้ว่าการทำ อย่างนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จะช่วยให้กล้ามเนื้อปากแข็งแรงเหมาะสำหรับการฝึกพูดภาษาใหม่ๆ
9. อัดเสียงตัวเองเอาไว้ฟังเพื่อเช็คข้อผิดพลาดของตน คนเราส่วนใหญ่มักจะฟังที่คนอื่นพูด แต่ไม่ค่อยจะสนใจเสียงที่ตัวเองพุดออกไปเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณอยากรู้ข้อผิดพลาดของตัวเองล่ะก็ จงทำค่ะ เพราะเมื่อเรารู้ว่าเราบกพร่องตรงไหนแล้ว ก็จะได้แก้ปัญหาให้ถูกจุดยังไง ล่ะคะ
10. อดทนฝึกๆๆๆ หัดๆๆๆๆ และพยายามไปเรื่อยๆ มีคนจำนวนไม่น้อยเลยล่ะค่ะที่หวังจะ เก่งขึ้นมาให้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และพอไม่ได้ก็จะเกิดอาการท้อแท้ขึ้นมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน คนเราเก่งไม่ได้ในชั่วข้ามคืนหรอกนะคะ ต้องท่องเอาไว้ค่ะว่า ความ พยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ที่มา http://in.rediff.com/getahead/2005/sep/02accent.htm
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า &q...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น