ชิ้นส่วนสปริง
ซึ่งเป็นชิ้นส่วนหนึ่งของอุปกรณ์วาล์วควบคุมแรงดันเกินในระบบ (Pressure safety valve; PSV) ทำหน้าที่ป้องกัน
Shut down valve (SDV) ผลิตจากเหล็กกล้าไร้สนิมชนิดเพิ่มความแข็งโดยการตกตะกอน (Precipitation
hardening stainless steel) เกรด 17-7 PH (ASTM
A705) เกิดการแตกหักระหว่างใช้งานเนื่องจากกระบวนการทางความร้อนที่ส่งผลให้เกิด peak hardness
วันจันทร์ที่ 2 มิถุนายน พ.ศ. 2557
เหล็กกล้าไร้สนิม (ตอนที่ 28):เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกตะกอนประเภทโลหะผสมกึ่งออสเตนนิติก (Semi-austenitic)
เหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มเพิ่มความแข็งโดยการตกตะกอนประเภทกึ่งออสเตนนิติก
จะต่างจากประเภทมาร์เทนซิติก กล่าวคือ ถ้าผ่านการอบอ่อนจะนิ่มเพียงพอต่อการขึ้นรูป
มีโครงสร้างหลังการเย็นตัวจากขั้นตอนการอบอ่อนมาที่อุณหภูมิห้องเป็นออสเตนไนต์
ดังนั้นจึงมีสมบัติค่อนข้างนิ่ม ยืดตัวได้ดี และสามารถขึ้นรูปได้ง่าย
แต่โครงสร้างจะเปลี่ยนเป็นมาร์เทนไซต์ที่อุณหภูมิต่ำมาก (ประมาณ -73 องศาเซลเซียส) กล่าวคือ
มีอุณหภูมิเริ่มต้นในการเปลี่ยนเฟสเป็นมาร์เทนไซต์ต่ำกว่าอุณหภูมิห้อง [144]
การเปลี่ยนแปลงดังกล่าว
เป็นปัจจัยสำคัญในการเพิ่มความแข็งให้กับวัสดุก่อนที่จะทำการบ่มแข็ง โลหะผสมกึ่งออสเตนนิติกมีสมบัติในการดูดติดแม่เหล็ก
นอกจากนี้ปริมาณของธาตุนิกเกิลจะส่งผลกระทบต่อการเปลี่ยนเฟสไปเป็นมาร์เทนไซต์ (ถ้ามีปริมาณนิกเกิลสูงจะเปลี่ยนเฟสเป็นมาร์เทนไซต์ได้น้อย)
และอัตราการแข็งขึ้นจากการขึ้นรูปเย็นของโลหะผสมประเภทดังกล่าวนี้ เช่น เกรด 17-7
PH
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า ...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น