จากตอนที่ 10 ผมได้กล่าวถึงเหล็กกล้าไร้สนิมกลุ่มเฟอริติกประเภทแรก คือ โลหะผสมโครเมียมต่ำ สำหรับตอนนี้ ผมจะกล่าวถึงชนิดที่ 2 คือ โลหะผสมโครเมียมปานกลาง (16-18%) ซึ่งเป็นประภทที่มีความต้านทานการกัดกร่อนต่อบรรยากาศที่ดี [29] เช่นเกรด AISI 430 และ AISI 434 มักใช้ทำเป็นชิ้นส่วนประดับยนต์และภาชนะในห้องครัว (รูปที่ 1.13)
เกรด AISI 430 เป็นเกรดที่มีโครเมียมผสมอยู่ในช่วง 16-18% มีความต้านทานการกัดกร่อนและความร้อนที่ดี และต้านทานออกซิเดชันที่อุณหภูมิไม่เกิน 816 องศาเซลเซียส รวมทั้งมีสมบัติทางกลที่ดี จึงมักนำมาประยุกต์ใช้งานเป็นชิ้นส่วนประดับยนต์ อ่างล้างจาน ฝาครอบเตาเผา หัวเผาแก๊สและอุปกรณ์ให้ความร้อน ตกแต่งภายในอาคาร อุปกรณ์ในโรงงานผลิตกรดไนตริก อุปกรณ์ในโรงกลั่นน้ำมัน ชิ้นส่วนหลังคาและผนัง และเครื่องมืออุปกรณ์ที่ใช้ในภัตตาคาร เป็นต้น
เกรด AISI 434 เป็นเกรดที่ปรับปรุงมาจากเกรด AISI 430 โดยการเติมโมลิบดีนัมให้อยู่ในช่วง 0.75-1.25% เพื่อเพิ่มความต้านทานต่อการกัดกร่อนและการกัดกร่อนจากสารเคมีที่เป็นน้ำแข็ง มีสมบัติต้านทานความร้อนที่ดี และต้านทานต่อออกซิเดชันที่อุณหภูมิไม่เกิน 816 องศาเซลเซียส รวมทั้งมีสมบัติทางกลที่ดี มีการนำไปประยุกต์ใช้งานคล้ายกับเกรด AISI 430
ตอนหน้าผมจะนำเสนอประภทที่ 3 คือประเภทที่โครเมียมสูง คอยติดตามนะครับ.....
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า ...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น