บทความเรื่องรูปแบบการเสียหายของวัสดุมีเนื้อหาค่อนข้างเยอะ ดังนั้นผมจะทยอยนำมาลงเรื่อยๆ ก็คอยติดตามอ่านกันเรื่อยๆ นะครับ สำหรับตอนแรกที่จะนำเสนอนี้เป็นบทนำก่อนนะครับ..
ความเสียหายของวัสดุ (Materials Failure) เป็นศาสตร์ที่วิศวกรออกแบบและนักวิเคราะห์ความเสียหายต้องมีความรู้เป็นพื้นฐาน บุคคลทั้งสองกลุ่มจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับชนิดและสมบัติต่างๆ ของโลหะ รวมทั้งความสามารถในการใช้งานโลหะที่สภาวะต่างๆ เป็นอย่างดี การเลือกโลหะเพื่อใช้ในงานต่างๆ เป็นหน้าที่ของวิศวกรวัสดุ (Material Engineer) ส่วนนักออกแบบ (Designer) จะมีหน้าที่ในการตัดสินใจว่ามีสิ่งแวดล้อมและเงื่อนไขในการปฏิบัติการอะไรบ้างที่มีผลต่อวัสดุในระหว่างการใช้งาน และนักวิเคราะห์ความเสียหายจะมีหน้าที่ตอบคำถามว่า ระบบและอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องจะเกิดความเสียหายด้วยสาเหตุและรูปแบบใดได้บ้าง ดังนั้นเพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้น นักออกแบบควรตรวจสอบและตอบคำถามเหล่านั้นเช่นกัน ขั้นตอนแรกที่สามารถป้องกันการเสียหายได้คือ ต้องรู้และเข้าใจว่า ความเสียหายน่าจะเกิดในรูปแบบใดได้บ้าง (เป็นการคาดการณ์จากความรู้และประสบการณ์)
ถ้าวัสดุสามารถต้านทานความเสียหายในรูปแบบต่างๆ และใช้งานในสิ่งแวดล้อมได้ทุกรูปแบบแล้ว ในทางทฤษฎีสามารถกล่าวได้ว่าระบบหรือชิ้นส่วนที่ผลิตจากวัสดุนั้นๆ จะมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน แต่ในความเป็นจริงเป็นไปได้ยากมาก เพราะว่าวัสดุต่างๆ มีโอกาสเกิดความเสียหายได้ทั้งนั้น เนื่องจากไม่มีวัสดุชนิดใดที่มีความสมบูรณ์แบบโดยปราศจากจุดบกพร่อง ในบางครั้งวัสดุทางวิศวกรรมที่เราเลือกและคิดว่าดีที่สุดก็มีโอกาสเสียหายและก่อให้เกิดสภาวะการทำงานที่ไม่ปลอดภัยได้ หน้าที่ของวิศวกรออกแบบอีกอย่างหนึ่งคือ ต้องทำให้มีราคาหรือต้นทุนต่ำที่สุดและสามารถใช้งานได้ในระยะเวลาที่ยาวนาน โดยไม่มีการถอดเปลี่ยนหรือหยุดซ่อมบำรุงก่อนเวลาอันควร ดังนั้นจึงเป็นสิ่งสำคัญมากสำหรับนักออกแบบที่จะต้องตระหนักและมีความเข้าใจว่าวัสดุแต่ละชนิดสามารถเสียหายในรูปแบบใดได้บ้างและเกิดได้อย่างไร เพื่อป้องกันปัญหาความเสียหายในรูปแบบต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น
ความเสียหายของวัสดุไม่ได้มีความหมายเฉพาะการแตกหักหรือการแยกออกจากกันเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง การสูญเสียเนื้อโลหะหรือการเปลี่ยนสมบัติทางกล เมื่อชิ้นส่วนไม่สามารถใช้งานตามที่ออกแบบไว้ หรือเปลี่ยนหน้าที่และรูปร่างไปจากตอนเริ่มต้น เมื่อนั้นแสดงว่าชิ้นส่วนเกิดความเสียหายดังที่กล่าวนิยามมาแล้วก่อนหน้านี้
สภาวะแวดล้อมในการใช้งานและแรงกระทำระหว่างการปฏิบัติการ มักเป็นสาเหตุแรกเริ่มที่นำไปสู่การเสียหายของวัสดุโดยเฉพาะประเภทโลหะ ยกตัวอย่างเช่น สิ่งแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อน และอุณหภูมิการใช้งานสูง นอกจากนั้น ความเค้น แรงกระแทก และแรงจากการเสียดสี ก็เป็นตัวอย่างของสภาวะการรับแรงที่นำไปสู่ความเสียหายของวัสดุค่อนข้างบ่อย โดยเฉพาะปัจจัยที่เกิดร่วมกันระหว่างสิ่งแวดล้อมที่มีฤทธิ์กัดกร่อนและแรงทางกล มักนำไปสู่การสึกหรอและการเสียหายของชิ้นส่วนโลหะในอัตราที่เร็วยิ่งขึ้น
มีวิธีการป้องกันความเสียหายหลายอย่างที่สามารถนำมาประยุกต์ใช้ โดยขั้นตอนแรก คือ การเลือกใช้โลหะที่ถูกต้องเหมาะสมหรือ ซึ่งรวมถึงตัวแปรการผลิตอื่นๆ เช่น การเคลือบผิว การขึ้นรูปเย็นและอื่นๆ ที่สามารถประยุกต์ใช้ตามวัตถุประสงค์การใช้งานได้ นอกจากนั้นควรศึกษาสภาวะแวดล้อมของระบบปฏิบัติการ การรับแรงทางกล รูปแบบการเสียหายที่เกิดเป็นประจำและมีผลต่อการทำงานของระบบอย่างไรบ้าง
โปรดติดตามตอนต่อไป.........
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า ...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...
สวัสดีฮะพี่ ผมมีเรื่องรบกวนอยากถามนะคับ โรงงานแห่งหนึ่งเกิดอุบัติเหตุเนื่องจากความเสียหายของ Truck Crane ขณะกำลังใช้งาน หากท่านเป็นวิศวกรซ่อมบำรุง จงทำการวิเคราะห์ความเสียหายและแนวทางป้องกันแก้ไข โดยอาศัยข้อมูลจากลักษณะความเสียหายดังต่อไปนี้
ตอบลบข้อมูลพื้นฐาน(Background): บริเวณความเสียหายเกิดขึ้นกับ Bolts ซึ่งทำหน้าที่ยึดเกาะตัวCrane กับฐานราก(Base
carrier)ขณะกำลังยกวัตถุชิ้นงาน และถูกใช้งานมาแล้ว 800 วันก่อนเกิดการแตกหัก
ข้อมูลทางเทคนิค : จากการวิเคราะห์ความเค้นของชิ้นส่วน Bolts แต่ละตัวขณะใช้งาน โดยมีภาระกรรมดังนี้
dead weight = 125 MPa ,live weight = 50 MPa ,การใช้งานประมาณ 150 รอบต่อวัน
ขอรบกวนพี่ช่วยตอบคำถามด้วยนะคับ ____ สุคับ
โทษที่ครับที่เข้ามาตอบช้า เพิ่งเจอ
ตอบลบเบื้องต้นต้องไปตรวจสอบที่หน้างานเลยครับ ว่ามีสภาพแวดล้อมเป็นอย่างไร จากนั้นนำชิ้นส่วนที่เสียหายไปตรวจสอบผิวหน้าแตก เพื่อหา crack origin และรูปแบบของการแตก จากข้อมูลน่าจะเป็นการแตกจากการล้าตัว บนพื้นผิวหน้าแตกให้ดู fatigue zone มีพื้นที่มากน้อยเท่าไร เมื่อเทียบกับ overload zone ถ้าพื้นที่ FZ น้อยแสดงว่ารับแรงมากเกินไปหรือร่องเกลียวซึ่งเป็นจุดรวมความเค้นมีรอยร้าว ซึ่งอาจเกิดจาก machine cutthread หนือ ขันแน่นเกินไป หรือ ผ่านการอุบชุบที่ไม่ดี สำหรับการอบชุบไม่ดี มักปรากฏให้เห็น intergranular crack ในบริเวณจุดเริ่มรอยแตก ต้องมีวิเคราะห์โครงสร้างจุลภาค เพื่อศึกษาจุดบกพร่องภายใน โครงสร้างเป็นไปตามที่ควรจะเป็นหรือเปล่า เช่น บางครั้ง (จากประสบการณ์ผม) มักพบ manganese sulfide ต้องทดสอบส่วนผสมทางเคมีว่าอยู่ใน spec. หรือเปล่า ส่วนการทดสอบแรงดึงคงยากแล้วล่ะ เพราะขาดไปแล้ว
ดังนั้นถ้าพบว่าภาระกรรมสูงเกินไปต้องลดแรง ถ้าลดไม่ได้ต้องเปลี่ยนวัสดุที่มี strength สูงกว่า ถ้าพบว่าการอบชุบไม่ดีหรือส่วนผสมได้ spec ก็เคลม ถ้าเกิดจากขันแน่นเกินไป ต้องควบคุมค่าทอร์คตาม spec.
จริงๆ แล้วถ้าสั่งของเยอะ ก่อนใช้งานควรสุ่มมาตรวจสอบ เช่น ส่วนผสมทางเคมี ทดสอบแรงดึง วิเคราะห์ภาคตัดตามยาวและโครงสร้างจุลภาค ทั้งนี้เพื่อดูว่าวัสดุมีจุดบกพร่องที่จะส่งเสริมให้เกิดความเสียได้หรือไม่
ขอบคุณมากครับ
จริงๆ แล้ว น้องสามารถสอบถาม e-mail ก็ได้นะครับ
ตอบลบแล้วทิ้ง e-mail ให้พี่ด้วยจะดีมาก เพราะบางครั้ง ถ้าพี่มีไฟล์จะแนบไปให้ด้วย
สวัสดีครับอาจารย์ พอจะมีข้อลมูลการเกิด . การเกิด fatigue ในใบพัด helicopter บ้างไหมครับ หาข้อมูลได้จากไหนครับ kritthanomkul@gmail.com
ตอบลบมีเยอะแยะเลยครับ
ลบเดี๋ยวผมจะส่งเมล์ให้นะครับ