จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อที่ 2
วิศวกรควรปฏิบัติงานเฉพาะสาขาวิชาชีพที่ตนมีความรู้ความสามารถเท่านั้น
นี่เป็นหลักจรรยาบรรณอีกข้อหนึ่งที่ฟังดูดี แต่ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถบอกได้ก่อนที่จะทำการตรวจสอบความเสียหายได้ว่า สิ่งที่เรากำลังจะค้นหาหรือตรวจสอบอยู่ในขอบเขตความสามารถในวิชาชีพของเรา
สมมุติว่าท่านถูกว่าจ้างให้ทำการตรวจสอบความเสียหายของชิ้นส่วนที่ถูกปิดล้อมด้วยชิ้นส่วนอื่นอยู่ ท่านก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นชิ้นส่วนนั้นได้เลยถ้าไม่มีการทำลายชิ้นส่วนที่ปิดบังออกก่อน ซึ่งท่านก็คงไม่รับงานจนกว่าผมจะเห็นชิ้นงานก่อนการทดสอบ ก็คงได้แต่หวังว่าก่อนที่จะเริ่มทำการตรวจสอบ ท่านจะสามารถค้นหาในสิ่งที่เป็นความสามารถในวิชาชีพของท่านได้
เราไม่ควรปฏิเสธการตรวจสอบงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเรา ด้วยเหตุว่าไม่เคยตรวจสอบชิ้นงานลักษณะนี้มาก่อน การเข้มงวดให้เราทำงานในขอบเขตที่เรามีความสามารถและเพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะด้าน จะมีผลกระทบในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการจำกัดการพัฒนาขีดความสามารถของเราให้กว้างขึ้น จริงอยู่เมื่อบุคคลคนเดียวกันได้เจอปัญหาที่คล้ายคลึงกันครั้งแล้วครั้งเล่า ก็จะเป็นโอกาสให้เขาได้พัฒนาขีดความสามารถในวิชาชีพ และทำให้เกิดมุมมองที่กว้าง เข้าใจงานได้ชัดเจนขึ้น แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ในเรื่องอื่นเพิ่มเติม ก็จะทำให้มุมมองยิ่งแคบลงไปทุกที ในขณะที่เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังทำให้การนำวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้งานได้ลำบากขึ้น ปัญหาอื่นๆ ที่เป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติงานที่อยู่ในขอบเขตความสามารถของเราอย่างเดียวอีกอย่างหนึ่ง คือ จะเกิดความลำบากในการติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ
หลักพื้นฐานทางวิศวกรรมจะแสดงให้เห็นว่า จะออกแบบอย่างไร และหลังจากการใช้งานชิ้นส่วนนั้นจะแสดงให้เห็นว่าการออกแบบนั้นเหมาะสมหรือไม่ มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาเสมอ ขอให้มีโจทก์เถอะ พวกเราสามารถแยกแยะประเด็นที่ซับซ้อน แม้จะเป็นสถานการณ์ใหม่ๆ ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ให้ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ถ้าเราเพิ่มขีดความสามารถหรือเพิ่มขอบเขตของความรู้ขึ้น เราจะต้องเพิ่มจรรยาบรรณที่เราเกี่ยวข้องด้วยเสมอ และต้องยอมรับต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
สำหรับจรรยาบรรณข้อนี้นั้น มีบางสาขาวิชาชีพ ได้กำหนดว่า ในกรณีงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ถ้าต้องการความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์อย่างอื่น นอกเหนือจากที่ตนเชี่ยวชาญ วิศวกรต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าของตนทราบอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งแนะนำให้รู้จักผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมกับงานนั้นๆ
โปรดติดตามตอนต่อไป...............
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า ...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น