พอดีมีโอกาสได้ส่งบทความไปให้วารสารฉบับหนึ่ง ซึ่งต้องมีการตรวจสอบจาก reviewer วันนี้จึงขอนำเสนอบทความสั้น..Why Reviewers Review
Most reviewers are authors, researchers, or sometimes editors in their own right. The peer review process allows these authors and editors an opportunity to use and develop their own expertise in a number of significant ways.
By assessing the quality and validity of another author’s work, within the same area of expertise, reviewers:
Uphold the integrity of the journal by identifying invalid research, as well as helping to maintain the quality standards of the journal
Fulfill a sense of duty to the scientific community and their own area of concentration
Establish relationships with reputable journals and may also increase their opportunities to be invited to join an Editorial Board
Reciprocate the same courtesy shown to them when other reviewers review their own authored works
Establish their expertise in and knowledge of the field
Increase their reputation and exposure in the field
Stay up to date and “in the loop” with respect to their discipline’s literature
Have access to the very latest research and discoveries in the field prior to colleagues
Learn about their discipline as well as exercise the critical thinking skills essential to the practice of science.
วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันอังคารที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2552
การถ่ายภาพด้วยรังสีกับงานวิเคราะห์ความเสียหาย
มีหลายท่านให้ความสนใจเทคดนโลยีในการตรวจหาจุดบกพร่องในวัสดุด้วยเทคนิคแบบไม่ทำลาย ดังนั้นวันนี้จึงขอถือโอกาสนำเสนอบทความสั้นๆ เกี่ยวกับการตรวจสอบวัสดุด้วยการฉายภาพด้วยรังสีเอ๊กซ์ (Raioscopic Inspection System) ซึ่งที่ทำงานของผมมีให้บริการดังนี้
ปัจจุบันนี้ได้มีการพัฒนาเทคนิคการตรวจสอบแบบไม่ทำลาย (Non-destructive Testing; NDT) เพื่อมาประยุกต์ใช้กับงานวิเคราะห์ความเสียหายหลายเทคนิคด้วยกัน เช่นเทคนิคสารละลายแทรกซึม (PT) เทคนิคการใช้ผงแม่เหล็ก (MT) และเทคนิคคลื่นเสียงอุลตร้าโซนค (UT) เป็นต้น สำหรับการประยุกต์ใช้ในงานวิเคราะห์ที่เกี่ยวกับโลหะนั้น มีเทคนิคการตรวจสอบแบบไม่ทำลายอีกวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้กัน คือ การฉายภาพด้วยรังสี ซึ่งมีทั้งการใช้แหล่งรังสีจากธรรมชาติ (Gamma Ray) และแหล่งจ่ายจากพลังงานไฟฟ้าซึ่งเรียก X-Ray แต่เนื่องจากการใช้แหล่งจ่ายรังสีจากธรรมชาตินั้นเป็นวิธีที่ค่อนข้างอันตราย และเสียเวลากับกระบวนการที่เกี่ยวกับฟิล์ม โดยเฉพาะการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่มีปริมาณมากและต้องการทราบผลที่รวดเร็ว เพื่อใช้ในการตัดสินใจเชิง
มีเทคนิคการตรวจสอบแบบไม่ทำลายอีกวิธีหนึ่งที่นิยมนำมาใช้ในการตรวจสอบเพื่อหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นภายในวัสดุหลังจากกระบวนการผลิต ประกอบและติดตั้ง Radioscopic inspection system เป็นเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์หาความผิดปกติภายใน จุดบกพร่องและความไม่ต่อเนื่อง (defects and discontinuity) ของวัสดุด้วยรังสีเอกซ์ พร้อมโปรแกรมการวิเคราะห์ เช่น การวิเคราะห์ภาพแบบ 3 มิติ บอกชนิดของจุดบกพร่อง สามารถวัดขนาดจุดบกพร่องใต้ผิวหน้าของวัสดุที่ไม่สามารถวัดได้ด้วยวิธีทั่วไป อีกทั้งสามารถแสดงความแตกต่างของความหนาแน่นภายในวัสดุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งชิ้นงานที่ผ่านการขึ้นรูปด้วยวิธีการหล่อหลอมซึ่งมีความเสี่ยงต่อการเกิด รูพรุน โพรงอากาศ การแตกร้าว ซึ่งเครื่องวิเคราะห์ด้วยเอกซเรย์ที่ทางศูนย์ฯ มีอยู่ในปัจจุบันสามารถตรวจพบได้อย่างรวดเร็ว
ข้อมูลเบื้องต้นของเครื่อง
น้ำหนักชิ้นงานที่รับได้สูงสุด : 75 กิโลกรัม
มิติของชิ้นงาน : 50x50x70 ซม. (W x D x H)
ความหนาสูงสุดของชิ้นงาน :
- อลูมิเนียม: 320 mm (ขนาดล้อแม็กรถยนต์ได้สบาย)
- เหล็ก: 15 mm
(ที่ 225 kV, 30 mA)
แท่นรองชิ้นงาน : สามารถปรับระดับ หมุน และมุมของฐานรองชิ้นงาน เพื่อค้นหาจุดบกพร่องในขณะที่ฉายรังสี ผนวกกับระบบรับภาพ CCIR Video standard ร่วมกับ Radioscopic images processor ดังนั้นจึงสามารถค้นหาจุดบกพร่องได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งสามารถแสดงผลออกทางหน้าจอได้ทันทีและที่มากกว่านั้นคือสามารถใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ในการวิเคราะห์รายระเอียดต่างๆ ของชิ้นงานได้ทันที
ตัวอย่างการตรวจสอบหาจุดบกพร่องในแนวเชื่อมด้วย X-ray (บริเวณสีขาว คือ โพรงหรือช่องว่าง)
อุตสาหกรรมที่ให้บริการเช่น
-Automatic system for the testing of castings
-Automatic system for the testing of alloy rings
-System for the testing of brake discs and alloy wheels
-System for the testing of food products เป็นต้น
สนใจใช้บริการติดต่อ คุณนิรุชหรือคุณจรูญ
0 2564 6500 ต่อ 4736
วันจันทร์ที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2552
ALL NEW NISSAN TEANA
ของเขาดีจริงๆ เลยอยากแนะนำ
ไอ้หลานชายตัวเล็กขอเป็นพรีเซนเตอร์
ALL NEW NISSAN TEANA
• เปลี่ยนโฉมใหม่หมด ราคากระชากใจ
• ที่สุดแห่งยนตรกรรมสมบูรณ์แบบ : Built for Excellence
บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด ได้แนะนำรถยนต์นั่งระดับหรู นิสสัน เทียน่า ใหม่ ที่ได้รับการพัฒนา และออกแบบใหม่หมดตลอดคัน โดยการทำการตลาด ภายใต้คอนเซ็ป ที่สุดแห่งยนตรกรรมสมบูรณ์แบบ (Built for Excellence) นิสสันเทียน่ารุ่นใหม่ล่าสุดนี้สะท้อนถึงมิติใหม่ของยนตรกรรมในรถยนต์นั่งขนาดกลาง ด้วยสุดยอดสมรรถนะ ความทันสมัย และ ความสะดวกสบายของห้องโดยสารที่กว้างขวางและการขับขี่ที่เงียบสนิท เสมือนหนึ่งเป็นห้องนั่งเล่นเคลื่อนที่ (Modern Living) ที่ให้ผู้ขับรู้สึกผ่อนคลายตลอดการเดินทาง
มร.โทรุ ฮาเซกาวา กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สยามนิสสัน ออโตโมบิล จำกัด กล่าวว่า "นิสสัน เทียน่าที่ปรับปรุง โฉมใหม่นี้เป็นเทียน่ารุ่นที่โดดเด่นหรูหรา ทันสมัย ที่สุดเท่าที่เคยมีมา ออกแบบและปรับแต่งทางวิศกรรมเพื่อมอบ ความสะดวกสบาย และคุณภาพที่ยอดเยี่ยมที่สุด ในรถยนต์ซีดานหรูรุ่นใหม่ ให้กับลูกค้าในประเทศไทย"
นิสสัน เทียน่า ขับเคลื่อนด้วยเครื่องยนต์เบนซิน ขนาด 2.5 ลิตร 6 สูบ (VQ25DE) และ ขนาด 2.0 ลิตร (MR20DE) อันทรงพลัง – ซึ่งเข้ากับ ระบบเกียร์ XTRONIC CVT ของนิสสัน ควบคุมการทำงานของเกียร์ด้วยระบบ Adaptive Shift Control (ASC) ที่พัฒนาปรับปรุงใหม่ ระบบกลไกทั้งสองอย่างช่วยควบคุม shift timing ตามรูปแบบการขับขี่ของผู้ขับแต่ละคน และสภาพแวดล้อมในการขับขี่ ด้วยรูปแบบการเปลี่ยนเกียร์ ถึง 700 รูปแบบเพื่อให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ และการประหยัดน้ำมันที่สูงสุด
คุณลักษณะที่เต็มไปด้วยพลังและความคิดสร้างสรรค์ของนิสสัน เทียน่าคือ โครงสร้าง D-Platform ที่ได้พัฒนาใหม่ล่าสุดซึ่งจะช่วยมอบ สมรรถนะสูงสุดในการควบคุมทุกสภาพการขับขี่ ความสบาย และความผ่อนคลายสูงสุดตลอดการเดินทาง
นิสสัน เทียน่าถูกออกแบบให้มีน้ำหนักเบาลง แต่มีช่วงล่างที่แข็งแกร่งให้การเกาะถนนที่ดีเยี่ยม ข้อแตกต่างบางประการ คือ การเพิ่มประสิทธิภาพของระบบช่วงล่างด้านหน้า, ระบบช่วงล่างด้านหลังแบบ Multi link ที่ได้รับการพัฒนาใหม่ การปรับเปลี่ยนตำแหน่งช่วงล่าง รวมถึง ตำแหน่งของโชคอัพ เพื่อเพิ่มสมรรถนะในการทรงตัวขณะขับขี่และลดแรงสั่นสะเทือน
นิสสัน เทียน่ารุ่นใหม่ Teana 250XV-V6 ติดตั้งซันรูฟ เป็นอุปกรณ์มาตรฐาน ทันสมัย สวยงาม ทำให้รู้สึกถึงความโปร่งโล่งสบายภายในห้องโดยสาร ทำจากแก้ว พร้อมฟิลม์กรองแสง เพื่อ ตัดรังสี UV ประกอบด้วยกลไกการเปิดปิดอัตโนมัติและนำเสนออุปกรณ์เสริม Navigation พร้อมระบบ Software ล่าสุดในรุ่น 250XV-V6 Sunroof Navigation
มิติตัวถังมีความยาว 4,850 มม. กว้าง 1,795 มม. สูง 1,485 มม. ฐานล้อ 2,775 มม. น้ำหนัก 1,437-1,531 กก.
เทคโนโลยีความปลอดภัยที่ก้าวล้ำนำสมัย
ระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัว (Vehicle Dynamic Control: VDC) พร้อมด้วยระบบควบคุมการลื่นไหล (Traction Control System: TCS) ระบบถุงลมนิรภัยคู่หน้า SRS สำหรับผู้ขับขี่และผู้โดยสารด้านหน้า ระบบม่านถุงลมนิรภัย SRS เฉพาะในรุ่น 250XV Sunroof ที่นั่งด้านหน้าติดตั้งหมอนพิงศรีษะแบบ Active Head Restraints เพื่อป้องกันศรีษะในกรณีที่เกิดการชน
เข็มขัดนิรภัยสำหรับผู้ขับแบบปรับรัดได้ก่อนการชน double pre-tensioners ปลอดภัยสูงสุดด้วยโครงสร้างตัวถังนิรภัย Zone Body Construction เข็มขัดนิรภัย ELR สามจุดด้านหลังสำหรับผู้โดยสารสามคน
นิสสัน เทียน่า นำเสนอทางเลือกให้ลูกค้าด้วยสีของรถที่บ่งบอกถึงเอกลักษณ์เฉพาะตัวถึง 6 สี รวมถึงสีใหม่ คือ Deep Amethyst Gray ซึ่งเป็นสีใหม่ล่าสุดของนิสสันซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความทันสมัย เป็นผู้นำ และสมบูรณ์ด้วยบรรยากาศที่สบาย จากรูปลักษณ์ภายนอกที่โดดเด่น และหรูหราอย่างเป็นหนึ่งไม่เหมือนใคร
นิสสัน เทียน่ารุ่นแรกที่เปิดตัวในปี 2547 และได้รับรางวัล Car of the Year award in 2006 ในปี 2549 และ ได้รับรางวัล Outstanding Initial Quality Satisfaction for Upper Medium Passenger Car ในปี 2550 ด้านผลิตภัณฑ์ประเภทรถยนต์นั่งส่วนบุคคลขนาดกลางใหญ่
All New Nissan Teana ที่สุดแห่งยนตรกรรมสมบูรณ์แบบ
นับตั้งแต่นิสสันแนะนำ เทียน่า รถยนต์นั่งขนาดกลางในตลาดรถยนต์ไทยทดแทน เซฟิโร่ อีกหนึ่งรุ่นของนิสสันที่ได้รับความนิยมอย่างสูง ในปี 2547 ตั้งแต่นั้น เทียน่า ก็สร้างนิยามใหม่ของรถยนต์ขนาด D-Segment ทั้งในด้านของรูปลักษณ์ที่ล้ำสมัย เทคโนโลยี ความสะดวกสบายและความปลอดภัย
อย่างไรก็ตามแม้ เทียน่า จะได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวาง แต่นิสสันก็ไม่ได้อยู่นิ่งเฉยแต่อย่างใด ทีมวิศวกรนำโดย มาซารุ อริมิทสุ หัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ หรือ Chief Product Specialist และ คินิชิ ไซโตะ หัวหน้าฝ่ายออกแบบ หรือ Product Chief Designer ก็เริ่มต้นงานของพวกเขา นั่นคือพัฒนา รถยนต์ เทียน่า ใหม่ ภายใต้แนวคิดในการพัฒนาคือ Modern Living Concept หรือห้องนั่งเล่นเคลื่อนที่ จนกระทั่งได้ผลิตภัณฑ์ที่ออกมาเป็นผลงานที่สมบูรณ์แบบในทุกแง่มุม
อาริมิทสุ กล่าวว่า "เราอยากมอบคุณค่าที่ไม่มีวันลืมเลือน ของเทียน่าให้กับลูกค้า" ส่วนไซโตะ บอกว่า "เทียน่า เป็นรถซีดาน ที่จะเชิญชวนให้ลูกค้า ใช้ชีวิตประจำวันในทุกรูปแบบที่ต้องการได้อย่างสบายๆ"
Art Form
รูปทรงภายนอกของนิสสัน เทียน่า ใหม่ ออกแบบโดยยึดแนวคิด Art Form เพราะนิสสันเชื่อมั่นว่าการออกแบบรถที่ดี ก็เหมือนกับการสร้างศิลปะที่สวยงามลงตัว โดยมีท้องถนน เป็น แกลลอรี จัดแสดง Art Form ของ นิสสัน เทียน่า ใหม่ นอกจากจะเน้นมุมมองที่สวยงาม มีชีวิตชีวา และดึงดูดสายตาของผู้คนแล้ว นิสสันก็ไม่ละเลยในเรื่องความปลอดภัยและความสะดวกสบายในการใช้งาน เช่น การออกแบบมุมกันชนหน้าที่มีองศาหักหลบบริเวณขอบฝากระโปรงหน้า ลบเหลี่ยมลงไป ทำให้มุมมองด้านหน้านั้นลื่นไหลเชื่อมต่อกับโครงสร้างด้านข้างอย่างลงตัว ซึ่งการออกแบบวิธีนี้ นอกจากจะทำให้รถมีมุมมองที่ สวยงามและให้อารมณ์สปอร์ตแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยและความสะดวกในการหักเลี้ยวรถในที่แคบๆได้สะดวกยิ่งขึ้น ทำให้ไม่ต้องกังวลว่า รถจะได้รับความเสียหายเนื่องจากไปขูดขีดกับสิ่งกีดขวางอีกด้วย
พร้อมยังสอดรับกับรูปทรงใหม่ของกันชนหน้า นิสสัน เทียน่า ใหม่ ออกแบบกระจังหน้าแบบแนวนอนให้มีมุมมองสามมิติ ด้วยการติดตั้งโลโก้อยู่ด้านนอก เหมือนกับประติมากรรมนูนต่ำ ช่วยขับภาพความแข็งแกร่ง สปอร์ต และหรูหรามากยิ่งขึ้นด้วย
ในส่วนของไฟหน้า ออกแบบใหม่ หรูหรา โฉบเฉี่ยว และมีความล้ำสมัยเช่นเดียวกับรถรุ่นอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็นพรีเมี่ยม SUV MURANO, สปอร์ต coupe 370Z, และ ซูเปอร์คาร์ อย่าง GT-R การออกแบบได้แรงบันดาลใจจากสุดยอดอัญมณีเพชร สัญลักษณ์แห่งความปรารถนา พร้อมเลนสีฟ้า ขณะที่กระจกมองข้างติดตั้งไฟเลี้ยวแบบ LED เป็นอุปกรณ์มาตรฐานทุกรุ่น ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสวยงามแล้วยังเพิ่มความปลอดภัยในการใช้งานเนื่องจากช่วยให้รถคันอื่นสังเกตเห็นได้ง่ายอีกด้วย นอกจากนี้ยังติดตั้งไฟตัดหมอกหน้าแบบ Multi-Reflector เพิ่มความปลอดภัยในสภาพการขับขี่ที่ทัศวิสัยไม่ดี
ตัวถังออกแบบให้มีสันด้านข้างรูปโค้งตลอดคัน เหมือนกับเป็นมัดกล้ามเนื้อ ทำให้ดูทรงพลังและดุดันในตัว มือเปิดประตูชุบโครเมียมช่วยเพิ่มความหรูหรา สอดรับอย่างกลมกลืนลงตัวกับคิ้วโครเมียมบริเวณฝาท้าย และคิ้วกันกระแทกที่ชุบโครเมียมรอบคัน ซึ่งได้รูปแบบแนวคิดมาจากดาบอาวุธประจำกายของนักรบซามูไร กระจกหน้าต่างรอบด้านเป็นแบบที่เรียกว่า 6 Light Window ให้ความรู้สึกโปร่งโล่งและผ่อนคลาย
ด้านท้ายนอกจากจะออกแบบไฟท้ายใหม่ที่ช่วยขับบุคลิกสปอร์ต และหรูหราให้เด่นชัดมากยิ่งขึ้นจากไฟที่มีลักษณะเป็น 3 มิติ พร้อมกับหลอดไฟ LED ที่ออกแบบเป็นพิเศษ Iconic graphic เพื่อดึงดูดความสนใจของผู้คนรอบข้างที่ให้มากกว่าความสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้ยังสัมผัสถึงสุนทรียภาพในการขับขี่ยิ่งกว่า ด้วยซันรูฟ UV Cut ที่สะท้อนไลฟ์สไตล์ที่โดดเด่น พร้อมแผ่นบังแดด ควบคุมด้วยระบบไฟฟ้าเพียงปลายนิ้วสัมผัส ในรุ่น 250XV-V6 (Sunroof and Curtain Airbags) ไม่เพียงเท่านั้น เทียน่า ใหม่ ยังให้ความสนใจกับทุกรายละเอียด เพื่อให้เป็นรถที่ดูดีที่สุดไม่ว่ากำลังโลดแล่นอยู่บนท้องถนน หรือว่าจอดนิ่งอยู่ในลานจอดรถก็ตาม ซึ่งรวมถึงรายละเอียดของล้อ โดยออกแบบให้มีลายเส้นที่มีความโค้ง โดยแต่ละลายเส้นมีลักษณะนูนต่ำ และมีความสูงไม่เท่ากัน ดังนั้นเมื่อขับรถด้วยความเร็วต่ำ จะทำให้มองเห็นเป็นประกายแสงเงาสะท้อน สวยงาม
แนวคิด...ห้องนั่งเล่นเคลื่อนที่
ทำไม เทียน่า ใหม่ จึงมีแนวคิดในการสร้างว่าเป็นห้องนั่งเล่นเคลื่อนที่ หรือว่า Modern Living Concept คำถามนี้ทุกคนจะได้รับคำตอบทันที เมื่อเข้าไปนั่งอยู่ภายในห้องโดยสารที่เต็มไปด้วยความหรูหรา ทันสมัย และประณีตในทุกขั้นตอนการผลิต
ห้องโดยสารที่กว้างขวาง และยาวกว่ารุ่นเดิม 25 มม.พื้นที่เหนือศีรษะเบาะหน้าเพิ่มขึ้น 36 มม. พื้นที่เหนือศีรษะเบาะนั่งแถวหลังเพิ่มขึ้น ขณะที่ห้องเก็บของมีความจุมากถึง 506 ลิตร สิ่งที่เพิ่มขึ้นเหล่านี้ช่วยให้วิศวกรมีอิสระในการออกแบบภายในเพื่อเพิ่มอรรถประโยชน์ในการใช้งาน และรูปทรงต่างๆ ได้มากขึ้น และความกว้างขวางนี้จะเป็นจุดขายหลักอย่างหนึ่งของ เทียน่า ใหม่ ในการแข่งขันในตลาดรถยนต์นั่งขนาดกลาง
แนวคิดหลักของห้องนั่งเล่นเคลื่อนที่ คือจะต้องมีความหรูหรา ทันสมัย และนั่งสบาย โดยเบาะนั่งนั้น นอกจากจะออกแบบให้กว้างขวาง โอบกระชับ และเสริมเทคโนโลยีในการกระจายแรงกดทับจากการนั่ง ช่วยทำให้เพลิดเพลินตลอดทางแล้ว ในเรื่องของสีสัน หรือการเย็บแบบด้ายคู่ ก็ออกแบบให้สอดคล้องกับชิ้นส่วนอื่นๆ และที่สำคัญก็คือ ให้ผู้นั่งรับรู้ได้ถึงอารมณ์ผ่อนคลายสูงสุด
คอนโซลหน้าชิ้นบนออกแบบให้โค้งและ "ลอย" เด่นขึ้นเหนือคอนโซลหน้าชิ้นล่าง และบุด้วยวัสดแบบนุ่มพิเศษ (Soft Pads) ให้ความรู้สึกนุ่มนวลและอบอุ่น ผ่อนคลายยามขับขี่ตัดขอบด้วยลายไม้ และวัสดุสีเงินเพิ่มความหรูหรา มีระดับ
มาตรวัดต่างๆ เป็นแบบ Multi-Information Display พร้อมมาตรวัดเรืองแสง Fine Vision ตัดขอบอะลูมิเนียม หรูหรา สปอร์ต และอ่านข้อมูลได้ชัดเจน ทำให้ผู้ขับไม่ต้องละสายตาจากเส้นทางนานเกินไป เช่นเดียวกับแผงหน้าจอแสดงผลระบบปรับอากาศและเครื่องเสียง ที่ทำให้ผู้ขับขี่ใช้งานได้สะดวก เพิ่มความปลอดภัยมากขึ้น
ทั้งนี้การแสดงข้อมูลของมาตรวัดต่างๆ ที่สำคัญเช่น ระบบเตือนให้เหยียบเบรกก่อนสตาร์ท อัตราการสิ้นเปลืองขณะขับขี่ อัตราการสิ้นเปลืองเฉลี่ย ความเร็วเฉลี่ย ระยะเวลาที่ขับ ระยะทางที่ขับขี่ ระยะทางที่สามารถขับต่อไปได้ อุณหภูมิภายนอก ข้อมูลการบำรุงรักษา ไฟเตือนชั่วโมงในการขับขี่
พวงมาลัยหุ้มหนังและลายไม้ ออกแบบใหม่ที่ดูโฉบเฉี่ยวมากขึ้นอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่ทำให้เกิดความขัดแย้งในมุมมองกับชิ้นส่วนอื่นๆ มาพร้อมกับระบบมัลติฟังก์ชั่น ไม่ว่าจะเป็นปุ่มควบคุมระบบความเร็วอัตโนมัติ (Cruise control) ปุ่มควบคุมเครื่องเสียง (เฉพาะรุ่น 2.5L)
แผงคอนโซลเกียร์รูปทรงคลื่นโค้งมนตามหลักแนวคิด Wave Form ตกแต่งด้วยแผงลายไม้และวัสดุสีเงินที่ให้ความหรูหรายิ่งกว่า บ่งบอกรสนิยมผู้ขับขี่อย่างแท้จริง ออกแบบให้กลมกลืนกับที่เท้าแขนและกล่องเก็บของให้เหมือนกับเป็นอุปกรณ์ชิ้นเดียวกัน ไม่ใช่การยกกล่องสี่เหลี่ยมเอามาตั้งไว้ตรงกลางรถเท่านั้น การออกแบบด้วยวิธีนี้ทำให้ดูไม่แข็งกระด้าง และไม่น่าเบื่ออีกด้วย
เทียน่า ใหม่ ยังออกแบบให้มีกล่องเก็บอุปกรณ์ต่างๆหลายจุด และเพิ่มขนาดความจุ เช่น Glove Box จาก 5.8 ลิตร เป็น 8.6 ลิตร กล่องคอนโซลกลาง จาก 2.5 ลิตร เป็น 3 ลิตร ซึ่งเพียงพอกับการจัดเก็บซีดีได้ 13 แผ่น ระบบเครื่องเสียงเป็นแบบ 2 DIN เล่นซีดีได้ 6 แผ่น MP3 พร้อมช่อง AUX ลำโพง 6 ตัว ในการขับขี่ช่วงกลางคืน แสงไฟสีนวลบริเวณคอนโซลกลาง และที่เปิดประตู ช่วยให้มองเห็นอุปกรณ์ต่างๆ โดยไม่รบกวนสายตาแต่อย่างใด และการออกแบบบานประตู ให้สามารถเปิดออกได้กว้างขึ้น ก็ยิ่งทำให้คุณรู้สึกได้ว่าการเข้าออกห้องนั่งเล่นนี้ทำได้สมบูรณ์แบบอย่างแท้จริง
โครงสร้างตัวถัง D PlatForm ใหม่
เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดห้องนั่งเล่นเคลื่อนที่ เทียน่า ใหม่ ไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับการออกแบบภายนอก ภายในที่หรูหรา ทันสมัย และสะดวกสบายเท่านั้น ในเชิงวิศวกรรมก็จำเป็นจะต้องพัฒนาให้สอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน และที่สำคัญก็คือ จะต้องสร้างสมดุลของการรวมกัน ระหว่างสมรรถนะการขับขี่ และความสบายกับความปลอดภัยให้ลงตัว ตามหลักแนวคิดแบบ 3D แม้จะเป็นงานที่ท้าทาย แต่ก็ไม่ใช่เรื่องที่จะเป็นไปไม่ได้ ซึ่งคำตอบอยู่ในรถยนต์คันนี้เรียบร้อยแล้ว โดย 3D Concept ประกอบด้วย
D1: สมรรถนะในการขับขี่
โครงสร้างตัวถังใหม่ ลดอาการโยนตัว ทำให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถได้ดังใจ ทำงานควบคู่กับระบบช่วงล่าง New Multi-link แบบ Premium Class เพื่อให้สามารถดูดซับแรงสั่นสะเทือนของตัวถังได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมโครงสร้างตัวถังใหม่ ทำให้สามารถปรับมุม Caster ของล้อหน้า ส่งผลให้หน้ายางสัมผัสถนนมากขึ้น และใช้ระบบพวงมาลัยแบบ Twin Orifice Vehicle Speed Sensing Power Steering (TOPS) ควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ ทำให้ผู้ขับสามารถควบคุมได้อย่างมั่นใจในทุกการขับขี่
D2: ความสบายและผ่อนคลายขณะขับขี่
จัดวางตำแหน่งของระบบช่วงล่างใหม่ โดยปรับปรุงโครงสร้างของ New Multi-link ให้ดีขึ้น ใช้โช๊คอัพแบบ Rebound Spring ทั้ง 4 ล้อ และเลื่อนตำแหน่งโช๊คอัพหลังมาวางใกล้ล้อมากขึ้น ส่งผลให้ดูดซับแรงสั่นสะเทือนได้มากขึ้น นอกจากนี้ยังปิดกั้นช่องว่างของตัวรถได้อย่างสมบูรณ์ และตัดเสียงรบกวนจากภายนอกห้องโดยสารให้ลดลงโดยติดตั้งอุปกรณ์ซับเสียงไม่ให้เล็ดลอดเข้ามา นอกจากนี้เสียงที่แทรกเข้ามาภายในห้องโดยสารจะถูกลดให้เบาลงด้วยอุปกรณ์ซับเสียงที่ติดตั้งไว้อย่างเหมาะสม ทำให้สัมผัสได้ถึงความเงียบสงบในการขับขี่
D3: ความปลอดภัย
ใช้เหล็กที่มีความแข็งแรงเป็นพิเศษ (Ultra High Strength Steel) มากขึ้น เพิ่มโครงสร้าง X-type Cowl Top เสริมความแข็งแกร่งของห้องโดยสาร และ New Joint Member ระหว่างพื้นและห้องเครื่องยนต์ เพิ่มความแข็งแกร่งและลดอาการสั่นโยนของตัวถัง
เงียบเหนือความคาดหมาย
นิสสัน เทียน่า ใหม่ ออกแบบด้วยระบบคอมพิวเตอร์รวมถึงการติดตั้งฉนวนกันเสียงตามขอบประตู เพื่อลดช่องว่างที่จะทำให้เสียงเล็ดลอดเข้ามาในห้องโดยสาร หลังคา รวมทั้งการพัฒนาเครื่องยนต์รุ่นใหม่ที่มีเสียงนุ่มนวล และการออกแบบมุมกระจกหน้าให้ลดแรงประทะกับลม ทำให้ภายในห้องโดยสารนั้นเงียบจนเกินความคาดหมายเลยทีเดียว
เทียน่า ใหม่ ออกแบบระบบกุญแจอัจฉริยะ เพียงพกติดตัวไว้ก็สามารถเปิดปิดประตู ฝากระโปรงหลัง สตาร์ทเครื่อง ดับเครื่องด้วยการกดปุ่ม โดยไม่ต้องหยิบกุญแจออกมาแต่อย่างใด ซึ่งนอกจากจะเพิ่มความสะดวกแล้ว ยังเพิ่มความปลอดภัยจากการโจรกรรม เพราะต้องใช้กุญแจอัจฉริยะนี้ในการสั่งการระบบทำงานต่างๆของรถยนต์เท่านั้น
สำหรับรุ่นที่มีการติดตั้งระบบนำทางเนวิเกเตอร์ จะมาพร้อมกับจอแสดงผลแบบ Multi-function พร้อมนำทางคุณสู่จุดหมายปลายทาง ด้วยระบบนำทางเนวิเกเตอร์ ประมวลผลผ่าน GPS อย่างแม่นยำ แสดงแผนที่ที่ชัดเจนผ่านจอ LCD แบบสี ให้คุณสามารถวางแผนการเดินทางและไปถึงจุดหมายได้อย่างง่ายดาย พร้อมด้วยกล้องส่องมองหลังที่เพิ่มความปลอดภัยในการถอยเข้าจอด นอกจากนี้ยังแสดงอุณหภูมิแยกช้ายขวา และสถานะการทำงานของระบบเครื่องเสียงได้อีกด้วย ช่วยให้คุณสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น
ปลอดภัย มั่นใจสูงสุด
นอกจากไฟหน้า ไฟเลี้ยว และไฟท้ายที่ออกแบบใหม่เพื่อให้เห็นเด่นชัดขึ้นแล้ว เทียน่า ใหม่ ได้ติดตั้งถุงลมป้องกันการกระแทกคู่หน้าเป็นอุปกรณ์มาตรฐานในรุ่น เครื่องยนต์ 2.0 ลิตร แล้วสำหรับรุ่น 250XV-V6 ได้ติดตั้งถุงลมด้านข้างเพิ่มอีก 2 จุด และเพื่อความปลอดภัยที่พิเศษยิ่งขึ้น สำหรับรุ่น 250XV-V6 (Sunroof and Curtain Airbags) ติดตั้งถุงลมถึง 6 จุด โดยเพิ่มม่านถุงลมด้านข้างเข้าไป
เบาะนั่งพร้อมพนักพิง Active Head Restraints ในคู่หน้า ที่จะยกตัวสูงขึ้นเพื่อลดการบาดเจ็บบริเวณคอเมื่อเกิดการชน และแผ่นกันกระแทกบริเวณเท้า เทียน่า ใหม่ นอกจากนี้ยังมีระบบเซ็นเซอร์กะระยะถอยหลังเป็นอุปกรณ์มาตรฐานสำหรับรุ่นเครื่องยนต์ 2.5 ลิตร ให้สามารถขับรถเข้าที่จอดได้อย่างปลอดภัย
ขณะที่ระบบความปลอดภัยอื่นๆ ก็ติดตั้งไว้อย่างครบครัน ไม่ว่าจะเป็นระบบควบคุมเสถียรภาพการทรงตัวขณะเข้าโค้ง (Vehicle Dynamic Control: VDC) ระบบควบคุมการลื่นไถลของล้อขณะขับบนพื้นลื่น (TCS) ระบบช่วยเพิ่มแรงเบรกไปทั้ง 4 ล้อ (Brake Limited Slip Differential: BLSD) ระบบกระจายแรงดันน้ำมันเบรกให้สมดุลระหว่างล้อคู่หน้าและคู่หลัง (Electronic Brake of Force Distribution: EBD) ระบบป้องกันล้อล็อคขณะเบรก (ABS) และระบบเสริมแรงเบรก (Brake Assist: BA)
เครื่องยนต์ แรงขึ้น สิ้นเปลืองน้อยลง : ล้ำหน้าด้วยระบบเกียร์อัจฉริยะ XTRONIC CVT
การเปลี่ยนเกียร์ที่นุ่มนวลและสุดยอดสมรรถนะในการเร่งความเร็วจากการทดสอบจริง ให้กำลังเครื่องยนต์สูงสุด รวมทั้งยังได้มีการพัฒนาเรื่องการประหยัดน้ำมัน และความเงียบอีกด้วย นิสสัน เทียน่า ใหม่ มี 2 เครื่องยนต์รุ่นใหม่ให้เลือก โดยพัฒนาให้มีสมรรถนะที่ดีขึ้น ขณะที่การสิ้นเปลืองน้ำมัน และการปล่อยมลพิษลดลง ประกอบไปด้วย
VQ25DE มีสมรรถนะสูง ทั้งกำลังแรงม้าและแรงบิด ช่วยตอบสนองการขับขี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด และพร้อมปรับปรุงระบบท่อไอดีแบบใหม่ ช่วยให้อากาศไหลเข้าสู่เครื่องยนต์ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังใช้ระบบหัวฉีดแบบใหม่ สามารถฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ 12 รู ช่วยให้การฉีดจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นละอองฝอย เครื่องยนต์เผาไหม้หมดจดส่งผลในเรื่องของการประหยัดเชื้อเพลิงได้ดีเยี่ยม
MR20DE มีประสิทธิภาพในการทำงานให้ดียิ่งขึ้น โดยการใช้เทคนิคชั้นสูงในการประกอบชุดกระบอกสูบ (Bore Centralize) ซึ่งเป็นเทคโนโลยีเดียวกันกับการประกอบเครื่องยนต์ของรถแข่ง และยังออกแบบระบบการไหลเวียนของอากาศทั้งไอดีและไอเสียให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น ลดน้ำหนักของเครื่องยนต์โดยการออกแบบชิ้นงานของอ่างน้ำมันเครื่องกับเพลาถ่วงสมดุลให้เป็นชิ้นเดียวกัน ช่วยลดน้ำหนักเพื่อให้ประหยัดน้ำมันยิ่งขึ้น
ทั้ง 2 ขนาดเครื่องยนต์นี้ ใช้ระบบเกียร์ XTRONIC CVT ที่พัฒนาขึ้นมาใหม่ ให้ความนุ่มนวลทุกครั้งเมื่อมีการเปลี่ยนเกียร์ สามารถตอบสนองการขับขี่ทั้งในเมืองและทางหลวงได้อย่างลงตัว ด้วยแรงบิดสูงแต่รอบต่ำ นอกจากนี้การใช้พูเลย์ทำงานแค่ 2 ตัว ทำให้ลดน้ำหนักได้มาก เมื่อเทียบกับเกียร์ทั่วๆไปที่ใช้เฟืองเกียร์ 5-6 ตัว
CVT แบบใหม่นี้ได้รับการพัฒนาโดยปรับปรุงกำลังขับและลดการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงมากขึ้นเมื่อเทียบกับ CVT รุ่นเดิม ระบบอิเล็กทรอนิกส์ Adaptive Shift Control: ASC จะปรับการทำงานของเกียร์โดยพิจารณาจากพฤติกรรมการขับ, ความเร็วของรถยนต์, สภาพถนนและน้ำหนักตัวรถ พร้อมความสามารถในการปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงานได้ถึง 700 รูปแบบ จากนั้นจึงสั่งเปลี่ยนเกียร์ให้เหมาะสมกับการขับขี่ในช่วงเวลานั้นๆ รวมทั้งเพิ่มความรวดเร็วในการเปลี่ยนเกียร์ด้วยทำให้ผู้ขับขี่ไม่รู้สึกเครียด ขณะรถวิ่งและยังลดอัตราการสิ้นเปลืองเชื้อเพลิงดีเป็นเลิศด้วย
นิสสัน ถือเป็นผู้ผลิตรถยนต์รายแรกที่เล็งเห็นข้อดีของ ระบบเกียร์ XTRONIC CVT และได้เริ่มศึกษาและพัฒนามาตลอด จนกระทั่งในปี 2535 นิสสัน ได้แนะนำรถยนต์ขนาดเล็กที่ใช้ระบบเกียร์ CVT เป็นรุ่นแรก จากนั้นได้มีการพัฒนาให้สามารถใช้กับเครื่องยนต์ 3.5 ลิตรได้ในปี 2545 และในรถยนต์ระดับหรูอย่าง MURANO, MAXIMA, และ QASHQAI ในปี 2549 นิสสัน ได้เริ่มเปิดตัวรถยนต์ ระบบเกียร์ CVT ที่สามารถใช้กับเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรได้ ซึ่งประกอบด้วย CUBE, CUBIC, NOTE และ TIIDA ที่ขายในต่างประเทศ
ติดตามข่าวสารอื่นๆ ของนิสสัน ประเทศไทย ได้ที่ www.nissan.co.th
โอวาทพระอรหันต์จี้กง
ขอคั่นรายการทางวิชาการด้วยข้อคิดที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวัน นะครับ..........
1. ชีวิตย่อมเป็นไปตามวิถีแห่งกรรมลิขิต (ละชั่วทำดี) วอนขออะไร
2. วันนี้ไม่รู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้ กลุ้มเรื่องอะไร
3. ไม่เคารพพ่อแม่แต่เคารพพระพุทธองค์ เคารพทำไม
4. พี่น้องคือผู้ที่เกิดตามกันมา ทะเลาะกันทำไม
5. ลูกหลานทุกคนล้วนมีบุญตามลิขิต ห่วงใยทำไม
6. ชีวิตย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ ร้อนใจทำไม
7. ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย ทุกข์ใจทำไม
8. ผ้าขาดปะแล้วกันหนาวได้ อวดโก้ทำไม
9. อาหารผ่านลิ้นแล้วกลายเป็นอะไร อร่อยไปใย
10. ตายแล้วบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ ขี้เหนียวทำไม
11. ที่ดินคือสิ่งที่สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง โกงกันทำไม
12. โอกาสจะได้กลายเป็นเสีย โลภมากทำไม
13. สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือศีรษะเพียงสามฟุต ข่มเหงกันทำไม
14. ลาภยศเหมือนดอกไม้ที่บานอยู่ไม่นาน หยิ่งผยองทำไม
15. ทุกคนย่อมมีลาภยศตามวาสนาที่ลิขิต อิจฉากันทำไม
16. ชีวิตลำเค็ญเพราะชาติก่อนไม่บำเพ็ญ แค้นใจทำไม บำเพ็ญไวไว
17. นักเล่นการพนันล้วนตกต่ำ เล่นการพนันทำไม
18. ครองเรือนด้วยความขยันประหยัดดีกว่าไปขอพึ่งผู้อื่น สุรุ่ยสุร่ายทำไม
19. จองเวรจองกรรมเมื่อไรจะจบสิ้น อาฆาตทำไม
20. ชีวิตเหมือนเกมหมากรุก คิดลึกทำไม
21. ฉลาดมากเกินจึงเสียรู้ รู้มากทำไม
22. พูดเท็จทอนบุญจนบุญหมด โกหกทำไม
23. ดีชั่วย่อมรู้กันทั่วในที่สุด โต้เถียงกันทำไม
24. ใครจะป้องกันมิให้มีเรื่องเกิดขึ้นได้ตลอด หัวเราะเยาะกันทำไม
25. ฮวงซุ้ยที่ดีอยู่ในจิตไม่ใช่อยู่ที่ภูเขา แสวงหาทำไม
26. ข่มเหงผู้อื่นคือทุกข์ รู้ให้อภัยคือบุญ ถามโหรเรื่องอะไร
27. ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
1. ชีวิตย่อมเป็นไปตามวิถีแห่งกรรมลิขิต (ละชั่วทำดี) วอนขออะไร
2. วันนี้ไม่รู้เหตุการณ์ในวันพรุ่งนี้ กลุ้มเรื่องอะไร
3. ไม่เคารพพ่อแม่แต่เคารพพระพุทธองค์ เคารพทำไม
4. พี่น้องคือผู้ที่เกิดตามกันมา ทะเลาะกันทำไม
5. ลูกหลานทุกคนล้วนมีบุญตามลิขิต ห่วงใยทำไม
6. ชีวิตย่อมมีโอกาสประสบความสำเร็จได้ ร้อนใจทำไม
7. ชีวิตใช่จะพบเห็นรอยยิ้มกันได้ง่าย ทุกข์ใจทำไม
8. ผ้าขาดปะแล้วกันหนาวได้ อวดโก้ทำไม
9. อาหารผ่านลิ้นแล้วกลายเป็นอะไร อร่อยไปใย
10. ตายแล้วบาทเดียวก็เอาไปไม่ได้ ขี้เหนียวทำไม
11. ที่ดินคือสิ่งที่สืบทอดแก่คนรุ่นหลัง โกงกันทำไม
12. โอกาสจะได้กลายเป็นเสีย โลภมากทำไม
13. สิ่งศักดิ์สิทธิ์อยู่เหนือศีรษะเพียงสามฟุต ข่มเหงกันทำไม
14. ลาภยศเหมือนดอกไม้ที่บานอยู่ไม่นาน หยิ่งผยองทำไม
15. ทุกคนย่อมมีลาภยศตามวาสนาที่ลิขิต อิจฉากันทำไม
16. ชีวิตลำเค็ญเพราะชาติก่อนไม่บำเพ็ญ แค้นใจทำไม บำเพ็ญไวไว
17. นักเล่นการพนันล้วนตกต่ำ เล่นการพนันทำไม
18. ครองเรือนด้วยความขยันประหยัดดีกว่าไปขอพึ่งผู้อื่น สุรุ่ยสุร่ายทำไม
19. จองเวรจองกรรมเมื่อไรจะจบสิ้น อาฆาตทำไม
20. ชีวิตเหมือนเกมหมากรุก คิดลึกทำไม
21. ฉลาดมากเกินจึงเสียรู้ รู้มากทำไม
22. พูดเท็จทอนบุญจนบุญหมด โกหกทำไม
23. ดีชั่วย่อมรู้กันทั่วในที่สุด โต้เถียงกันทำไม
24. ใครจะป้องกันมิให้มีเรื่องเกิดขึ้นได้ตลอด หัวเราะเยาะกันทำไม
25. ฮวงซุ้ยที่ดีอยู่ในจิตไม่ใช่อยู่ที่ภูเขา แสวงหาทำไม
26. ข่มเหงผู้อื่นคือทุกข์ รู้ให้อภัยคือบุญ ถามโหรเรื่องอะไร
27. ทุกสิ่งจบสิ้นลงด้วยความตาย วุ่นวายทำไม
สุขอื่นยิ่งกว่าความสงบไม่มี
การทดสอบการกัดกร่อนตามมาตรฐาน ASTM B117
ขอคั่นหัวข้อ จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายก่อนนะครับ...............
ปัจจุบันนี้ หลายโรงงานในประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชั้นเคลือบต่างๆ ฯ ได้หันมาสนใจในการทดสอบพฤติกรรมการกัดกร่อนของโลหะเหล่านั้น เพื่อศึกษาความทนทานเมื่อต้องนำไปใช้งานในสภาวะที่สัมผัสกับหมอกเกลือ (เช่น เมื่อนำไปใช้ในงานใกล้ชายฝั่งทะเล) หรือความชื้นทั่วไป ซึ่งการทดสอบที่นิยมใช้กัน คือ การทดสอบด้วยหมอกเกลือตามมาตรฐาน ASTM B117 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
การทดสอบการกัดกร่อนแบบต่อเนื่องด้วยหมอกเกลือ ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการทดสอบการกัดกร่อนของวัสดุในราวปี ค.ศ. 1939 เมื่อสมาคมการทดสอบและวัสดุแห่งอเมริกา (ASTM) ได้จัดทำและพิมพ์เป็นมาตรฐานการทดสอบด้วยหมอกเกลือและกำหนดรหัสเป็น ASTM B117 ในช่วงเวลาต่อมามาตรฐานดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและเป็นสากลมากขึ้น และยังถูกนำไปประยุกต์เป็นมาตรฐานต่างๆ ขึ้นมา เช่น BSI ของอังกฤษหรือ DIN ของเยอรมนี เป็นต้น คำว่า “salt spray” “salt fog” หรือ “salt mist” เป็นคำที่สามารถใช้แทนกันได้ตามชนิดของการทดสอบ เช่นเดียวกับคำว่า chamber หรือ cabinet ที่ใช้เรียกชื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
การทดสอบด้วยหมอกเกลือ เป็นวิธีการทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งให้เกิดผล โดยมีจุดประสงค์ เพื่อประเมินความสามารถในการต้านทานต่อการกัดกร่อนของวัสดุ โดยการจำลองสภาวะการใช้งานจริงในภาคสนามมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ได้ในระยะเวลาสั้น ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าแผ่นเคลือบ การหาสารเคลือบผิวชนิดใหม่ หรือแม้กระทั่งสารทำความสะอาดผิวและสีทารองพื้น ที่นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าแผ่นที่ทาเคลือบผิวด้วยสีโลหะ เป็นต้น
สิ่งที่ผู้ทดสอบและผู้ใช้งานต้องการจากการทดสอบแบบเร่งให้เกิดผล คือ ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ โดยผลที่ได้จากการทดสอบมีความสัมพันธ์หรือใกล้เคียงกับสภาวะที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันนี้เราพบว่า ยังไม่มีใครที่ออกมาพิสูจน์ได้ว่าการทดสอบดังกล่าวเป็นทดสอบที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนจากบรรยากาศ (Atmospheric exposure) ชนิดใดชนิดหนึ่งได้เลย จึงทำให้นักวิจัยส่วนใหญ่พากันสรุปว่า การทดสอบด้วยหมอกเกลือให้ผลที่ไม่สัมพันธ์กับการกัดกร่อนจากบรรยากาศ และควรจะเป็นการทดสอบแบบต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการทดสอบดังกล่าวก็ยังนำมาใช้กันอยู่ โดยข้อมูลจากการทดสอบจะนำมาเขียนไว้ในแคตาลอก ที่เป็นข้อกำหนดของลูกค้าในตารางข้อมูลสินค้า โดยมักจะกำหนดเป็นอายุ (life) ของชนิดผิวเคลือบที่กำหนดให้ ข้อได้เปรียบของผลิตภัณฑ์สีเคลือบตัวใหม่ หรือข้อกำหนดที่ยอมรับได้จากลูกค้าโดยการทดสอบด้วยหมอกเกลือกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวเลือกอื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่จะยกเลิกการใช้มาตรฐานดังกล่าวในการทดสอบวัสดุ ในปัจจุบันได้มีข้อกำหนดเกิดขึ้นมากมายที่ลูกค้าต้องการให้มี เช่นการกำหนดจำนวนชั่วโมงที่ทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย (hours to failure) หลังการทดสอบด้วยหมอกเกลือ การพยายามที่จะยกเลิกการทดสอบเพื่อที่จะหาการทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งให้เกิดผลวิธีอื่น และได้รับการยอมรับจากนักสถาปัตย์ ผู้ที่เขียนข้อกำหนด ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวเปรียบเทียบด้วยพฤติกรรมการกัดกร่อนค่อนข้างจะใช้เวลานาน จึงเป็นไปได้ยากที่นักวิจัยในปัจจุบันไม่ใช้ข้อมูลจากการทดสอบด้วยหมอกเกลือ เมื่อพวกเขาต้องการที่จะนำเสนอข้อมูลประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อนำเสนอต่อลูกค้า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการทดสอบดังกล่าวพร้อมทั้งผลที่ได้จากการทดสอบได้รับการยอมรับจากลูกค้าต่างๆ ดังนั้นการทดสอบด้วยหมอกเกลือจึงเป็นการทดสอบเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผลจากการทดสอบสามารถนำเสนอได้ในรูปของเวลา
ขั้นตอนการทดสอบด้วยหมอกเกลือ
การทดสอบด้วยหมอกเกลือมีขั้นตอน โดยการนำชิ้นงานทดสอบเข้าไปไว้ใน Chamber ที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งการออกแบบและการควบคุมเป็นไปตามย่อหน้าที่ 4 (paragraph4), apparatus, of ASTM B117 โดยใช้สารละลายเกลือที่มีความเข้มข้น 5% ซึ่งเตรียมโดยละลายสารโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ในน้ำซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ”ASTM D1193 specification for reagent water, type IV” และให้มีระบบไหลเข้าสู่ chamber ภายใน chamber นั้นก็จะมีการปรับสภาพภายในก่อนที่จะทำการทดสอบจริงก่อนโดยอุณหภูมิภายในประมาณ 35 องศาเซลเซียส และพ่นหมอกเกลือ 5% ด้วยอัตรา 12 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง จะมีการสะสมหมอกเกลือที่ทำการพ่นให้อยู่ในอัตราอย่างน้อย 80 ลูกบาศก์เซนติเมตร ของ 2 กระบอกตวงภายใน chamber กระบอกแรกจะเก็บไว้ใกล้กับหัวฉีดพ่นไอเกลือและอีกกระบอกอยู่ไกลที่สุดจากกระบอกฉีด
เมื่อเงื่อนไขต่างๆ ข้างบนถูกต้องหมดแล้ว จะนำชิ้นงานตัวอย่างมาวางไว้ในตำแหน่งทำมุม 15-30 องศากับแนวตั้ง การจัดเรียงตัวจะดูตามการกลั่นตัวของหยดไอน้ำบนชิ้นงานและลดการเกิดเป็นแอ่งน้ำของหยดน้ำ หลีกเลี่ยงการมีปริมาณของชิ้นงานมากเกินไป สิ่งที่สำคัญคือการทำให้ไอน้ำเกลือไหลลงอย่างอิสระและเกิดทั่วผิวหน้าชิ้นงานอย่างเสมอ ชิ้นงานควรจะวางในตำแหน่งที่หยดน้ำจากชิ้นงานหนึ่งไม่สารถหยดลงบนอีกแผ่นหนึ่งได้ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบอยู่ในช่วงระหว่าง 24 ถึง 5,000 ชั่วโมง (ถ้าเป็นการทดสอบที่มีการดัดแปลงวิธีการทดสอบเช่นมีการทดสอบเป็นรอบๆ ชิ้นงานต้องสัมผัสกับไอเกลืออย่างน้อย 15 นาที) การทดสอบที่ชิ้นงานมีการหมุนและมีการตรวจสอบปริมาณน้ำเกลือที่สะสมในกระบอกเป็นรายวัน Cabinet จะต้องปิดตลอดเวลาที่ทำการทดสอบ
ในปี 1987 ได้มีการเพิ่ม Appendix x3 เข้าไปใน ASTM B117 เพื่อเป็นตัวตรวจสอบน้ำหนักที่หายไปของชิ้นงานหรือดูความรุนแรงของการกัดกร่อนของสารละลายเกลือภายใน chamber ขั้นตอนที่ใช้ในการตรวจสอบคือใช้ชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอนที่ผ่านการรีดขึ้นรูปแบบเย็นเกรด SAE 1008 ขนาด 76*127*0.8 มม. นำมาทำความสะอาด ชั่งนำหนักและนำเข้าไปใน Chamber เมื่อเวลาที่สัมผัสกับไอเกลือ 48 96 หรือ 168 ชั่วโมง จึงนำชิ้นงานออกมา ทำความสะอาดและนำมาชั่งน้ำหนักอีกครั้ง เมื่อทำภายใต้สภาวะดังกล่าว จำนวนน้ำหนักที่หายไปสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบสภาพการกัดกร่อนภายใน chamber ได้ ความถี่ที่จะใช้ในการตรวจสอบสภาพการกัดกร่อนภายในขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ใช้ แต่ในทางปฏิบัติการทั่วไปแนะนำให้ทำการตรวจสอบเป็นรายเดือน หรือเมื่อไรก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่มีผลต่อ cabinet เช่นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ชนิดของเกลือ น้ำ หรือผู้ทำการทดสอบ เป็นต้น
เนื่องจากเป็นวิธีการที่ใช้อย่างแพร่หลายและใช้เวลานาน การทดสอบการพ่นด้วยไอเกลือแบบต่อเนื่องจะเป็นวิธีการที่เหมาะมากเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบวัสดุ ซึ่งเรารู้จักกันดีในนามการจัดอันดับ (Ranking) การทดสอบแบบนี้จุดประสงค์เพื่อใช้ในเปรียบเทียบอัตราการกัดกร่อนจริงกับอัตราการกัดกร่อนที่คาดหวังที่อยู่บนพื้นฐานประสบการณ์ก่อนหน้านี้ คือสภาวการณ์ที่ใช้งานจริง จากเหตุผลนี้เองที่การทดสอบด้วยหมอกเกลือแบบต่อเนื่องนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจจับกระบวนการผลิตว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ก่อนที่จะทำการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่ต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิต Fastener สำหรับอุตสาหกรรมอากาศยานต้องการทดสอบประสิทธิภาพของชิ้นส่วนเหล่านั้นโดยการทดสอบด้วยหมอกเกลือเป็นเวลานานกว่า 100 ชั่วโมงภายใต้มาตรฐาน ASTM B117 เพื่อประเมินว่ากระบวนการชุบเคลือบ anodizing อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้หรือไม่
โรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็มีการทดสอบคล้ายๆ กันโดยเฉพาะชิ้นงานจำพวกที่ผ่านการเคลือบผิวหรือทาสี สภาวะที่ใช้ในการทดสอบโดยทั่วไปจะดูผลกระทบของสภาวะแวดล้อมการใช้งานจริงของรถยนต์ ที่จะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นผลที่เกิดจากการกัดกร่อนที่คล้ายกับสภาวะการใช้งานจริงของชิ้นส่วนนั้นๆ
ในกรณีที่การทดสอบได้แสดงให้เห็นถึงหรือใกล้เคียงกับสภาวะการใช้งานจริงเป็นไปได้ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โดยส่วนใหญ่ที่ทำการทดสอยด้วยวิธีนี้ จะทำการทดสอบชิ้นส่วนที่ใช้งานจริงหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของชิ้นงานมากกว่าที่จะเป็นการทดสอบที่ได้ผลไม่ตรงกับความต้องการหรือไม่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง อย่างไรก็ตามการทดสอบชิ้นงานหรือส่วนที่ใช้งานจริง จะแสดงให้เห็นถึงความท้าทายบางอย่างในรูปที่ว่ามันจะสนับสนุนชิ้นส่วนเหล้านั้นระหว่างการทดสอบได้อย่างไร
จุดอ่อนอย่างมากของการทดสอบด้วยหมอกเกลือแบบต่อเนื่องคือแม้จะมีความพยายามจากผู้ผลิตและเข้มงวดอย่างมากสำหรับขั้นตอนการทดสอบ การที่จะระบุว่าผ่านหรือไม่ผ่านของการทดสอบจะไม่ค่อยตรงตามโลกแห่งความเป็นจริงเท่าใดนัก นี่ไม่ต้องประหลาดใจเมื่อมันสามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานที่บางแงในโลกนี้ที่สัมผัสอยู่กับสภาวะไอเกลือแบบต่อเนื่องที่ความเข้มข้น 5 % อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ตามมาตรฐาน ASTM B117 และตั้งเป็นมาตรฐานนานาชาติ การกัดกร่อนทางเคมีมีความสลับซับซ้อนมากกว่าที่ปรากฏอยู่ในการทดสอบนี้และผลความแตกต่างของสภาพแวดล้อมอาจจะไปมีผลกระทบต่ออัตราการกัดกร่อนมากกว่าสภาวะแวดล้อมที่มีสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว การแข่งขันเรื่องราคาอย่างเข้มแข็งทำให้เกิดความกดดันเหมือนกันเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถปรับปรุง พัฒนามาตรฐานให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้
ยกตัวอย่างเช่น เป็นไปได้ว่าชิ้นงานที่ผ่านการเคลือบอาจจะผ่านการทดสอบด้วยหมอกเกลือทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ และอาจจะมีอายุการใช้งานได้นาน ในทางตรงกันข้ามชิ้นงานที่ผ่านการเคลือบผิวและผ่านการทดสอบด้วยหมอกเกลือแบบต่อเนื่อง อาจจะเกิดความเสียหายก่อนอายุที่กำหนด เมื่อมีผลของสภาวะแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงอาจจะยากในการรับประกันคุณภาพของสินค้า
ด้วยเหตุผลดังกล่าวที่ผ่านมา การทดสอบแบบเร่งให้เกิดผลด้วยหมอกเกลือเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน การทดสอบแบบดังกล่าวต้องยอมรับว่าการทดสอบการกัดกร่อนแบบเป็นคาบจะให้ผลที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับสภาวะการใช้งานจริง การทดสอบแบบคาบเป็นที่นิยมใช้กันในผู้ผลิตชั้นนำที่สนใจผลตอบแทนหรือผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ได้จากการทดสอบ และยังนำไปสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของวัสดุเพื่อให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดี ดังนั้นการที่การทดสอบดังกล่าวได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตรายใหญ่เพื่อการควบคุมคุณภาพโดยใช้มาตรฐาน ASTM B117 และมาตรฐานที่คล้ายคลึงกันอื่นๆ จึงทำให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าการทดสอบด้วยหมอกเกลือยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งวัสดุและสารเคลือบให้มีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนได้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต
คำปรารภของ Robert Baboian: ได้กล่าวว่า
“การทดสอบด้วยหมอกเกลือนั้น ถ้านำมาใช้อย่างเหมาะสมแล้วจะเป็นวิธีการทดสอบการกัดกร่อนชนิดหนึ่งที่ให้คุณค่าอย่างมหาศาล โดยเฉพาะคุณค่าทางด้านการควบคุมคุณภาพและเปรียบเทียบพฤติกรรมของวัสดุตลอดอายุการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ อากาศยานและอุตสาหกรรมทั่วไป การขนส่งและโครงสร้าง ซึ่งเราพบว่าการทาสีเคลือบผิวได้นำมาใช้ในทุกอุตสาหกรรม”
“การทดสอบได้นำมาใช้อย่างกว้างขวางสำหรับผิวเคลือบสี ซึ่งถ้านำมาใช้อย่างเหมาะสมในการควบคุมคุณภาพหรือเปรียบเทียบพฤติกรรมของวัสดุ จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล ยกตัวอย่าง เช่น การทดสอบแบบคาบที่ใช้กันทุกวันนี้ในอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นจะตกลงกันใช้มาตรฐาน B 117 การทดสอบนี้ให้คุณค่าอย่างมากมาย เนื่องจากเป็นการจำลองการทดสอบที่มีความใกล้เคียงกับสภาวะการใช้งานจริง”
แต่ถึงกระนั้นก็ยังเกิดปัญหาขึ้นกับ ASTM B117 เช่นกัน โดยเฉพาะการพยายามที่จะคัดเลือกหรือจัดอันดับประสิทธิภาพด้านการต้านทานการกัดกร่อนของชิ้นส่วนยานยนต์ มีหลายกรณีการศึกษาที่ได้ทดสอบมาและมีการสรุปว่าการทดสอบด้วยมาตรฐาน ASTM B117 ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีในการทดสอบกับชิ้นงานอะลูมิเนียมผสมเคลือบผิว หรือล้มเหลวในการที่จะทำนายอิทธิพลของส่วนผสมทางเคมีของผิวเคลือบด้วยอะลูมิเนียม-สังกะสีบนชิ้นงานเหล็กกล้าแผ่นรีดเย็น เป็นต้น
เหตุผลที่การทดสอบตามมาตรฐาน ASTM B117 ไม่มีความแม่นยำในการจำลองประสิทธิภาพด้านการกัดกร่อนของชิ้นส่วนยานยนต์นั้น เนื่องจากว่าเงื่อนไขหรือตัวแปรต่างๆ ไม่ตรงตามสภาวะการใช้งานจริงอย่างแท้จริง เหตุผลอีกอย่างหนึ่งคือชิ้นส่วนที่ทดสอบด้วยหมอกเกลือมีการสัมผัสกับสารละลายและเปียกอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความเป็นจริงนั้นชิ้นส่วนเหล่านั้นอยู่ภายใต้สภาวะที่เปียกชื้นบ้างแห้งบ้างสลับกันไป นอกจากนั้นเรายังพบว่าความเข้มข้นของเกลือในการทดสอบด้วยหมอกเกลือและในสภาวะการใช้งานจริงนั้น มีความแตกต่างกัน คือการทดสอบจะใช้สารละลายที่มีความเข้มข้นของเกลือสูง (โดยปกติประมาณ 5%) ซึ่งพบว่ามีความเข้มข้นที่สูงกว่าในสภาวะแวดล้อมของการใช้งานจริงมาก และความแตกต่างของอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันแล้วแต่สถานที่และเวลา จึงทำให้การทดสอบด้วยหมอกเกลือมีกลไกของการกัดกร่อนที่ต่างจากความเป็นจริง แต่ถ้าจะทำการทดสอบภาคสนามโดยตรงจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากรวมทั้งระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน แต่ก็มีวิธีการแก้ปัญหาสำหรับวิศวกรในการทดสอบชิ้นส่วนยานยนต์ โดยจะใช้มาตรฐาน SAE J2334 แทน ซึ่งให้ผลการทดสอบที่ดี แต่กระผมจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ แต่ถ้าท่านใดสนใจก็สามารถศึกษาได้จากเอกสารอ้างอิง
มีหลายท่านสอบว่าจากมาตรฐาน ASTM B117 เราจะเปรียบเทียบอายุการใช้ งานของชิ้นงานทดสอบได้อย่ างไรครับ
ลองพิจารณาจากภาพประกอบด้านล่างนะครับ
เอกสารอ้างอิง
ASTM B117-97 Standard practice for operating salt spray (FOG) apparatus, annual book of ASTM standard, Vol. 03.02 Wear and Erosion; metal corrosion. 2001
ปัจจุบันนี้ หลายโรงงานในประเทศไทย โดยเฉพาะอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ชั้นเคลือบต่างๆ ฯ ได้หันมาสนใจในการทดสอบพฤติกรรมการกัดกร่อนของโลหะเหล่านั้น เพื่อศึกษาความทนทานเมื่อต้องนำไปใช้งานในสภาวะที่สัมผัสกับหมอกเกลือ (เช่น เมื่อนำไปใช้ในงานใกล้ชายฝั่งทะเล) หรือความชื้นทั่วไป ซึ่งการทดสอบที่นิยมใช้กัน คือ การทดสอบด้วยหมอกเกลือตามมาตรฐาน ASTM B117 ซึ่งมีรายละเอียด ดังนี้
การทดสอบการกัดกร่อนแบบต่อเนื่องด้วยหมอกเกลือ ได้นำมาประยุกต์ใช้ในการทดสอบการกัดกร่อนของวัสดุในราวปี ค.ศ. 1939 เมื่อสมาคมการทดสอบและวัสดุแห่งอเมริกา (ASTM) ได้จัดทำและพิมพ์เป็นมาตรฐานการทดสอบด้วยหมอกเกลือและกำหนดรหัสเป็น ASTM B117 ในช่วงเวลาต่อมามาตรฐานดังกล่าวได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายและเป็นสากลมากขึ้น และยังถูกนำไปประยุกต์เป็นมาตรฐานต่างๆ ขึ้นมา เช่น BSI ของอังกฤษหรือ DIN ของเยอรมนี เป็นต้น คำว่า “salt spray” “salt fog” หรือ “salt mist” เป็นคำที่สามารถใช้แทนกันได้ตามชนิดของการทดสอบ เช่นเดียวกับคำว่า chamber หรือ cabinet ที่ใช้เรียกชื่ออุปกรณ์ที่ใช้ในการทดสอบ
เครื่องทดสอบ cyclic corrosion test
เครื่องทดสอบด้วยหมอกเกลือที่รองรับ ASTM B117 และใกล้เคียง
การทดสอบด้วยหมอกเกลือ เป็นวิธีการทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งให้เกิดผล โดยมีจุดประสงค์ เพื่อประเมินความสามารถในการต้านทานต่อการกัดกร่อนของวัสดุ โดยการจำลองสภาวะการใช้งานจริงในภาคสนามมาทดสอบในห้องปฏิบัติการ ซึ่งเป็นวิธีการที่ทำให้นักวิทยาศาสตร์และวิศวกรสามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ได้ในระยะเวลาสั้น ยกตัวอย่างเช่น การพัฒนาผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าแผ่นเคลือบ การหาสารเคลือบผิวชนิดใหม่ หรือแม้กระทั่งสารทำความสะอาดผิวและสีทารองพื้น ที่นำมาใช้กับผลิตภัณฑ์เหล็กกล้าแผ่นที่ทาเคลือบผิวด้วยสีโลหะ เป็นต้น
สิ่งที่ผู้ทดสอบและผู้ใช้งานต้องการจากการทดสอบแบบเร่งให้เกิดผล คือ ได้ข้อมูลที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ โดยผลที่ได้จากการทดสอบมีความสัมพันธ์หรือใกล้เคียงกับสภาวะที่เกิดขึ้นจริงจากการใช้งาน ซึ่งในปัจจุบันนี้เราพบว่า ยังไม่มีใครที่ออกมาพิสูจน์ได้ว่าการทดสอบดังกล่าวเป็นทดสอบที่ทำให้เกิดการกัดกร่อนจากบรรยากาศ (Atmospheric exposure) ชนิดใดชนิดหนึ่งได้เลย จึงทำให้นักวิจัยส่วนใหญ่พากันสรุปว่า การทดสอบด้วยหมอกเกลือให้ผลที่ไม่สัมพันธ์กับการกัดกร่อนจากบรรยากาศ และควรจะเป็นการทดสอบแบบต่อเนื่อง อย่างไรก็ตามการทดสอบดังกล่าวก็ยังนำมาใช้กันอยู่ โดยข้อมูลจากการทดสอบจะนำมาเขียนไว้ในแคตาลอก ที่เป็นข้อกำหนดของลูกค้าในตารางข้อมูลสินค้า โดยมักจะกำหนดเป็นอายุ (life) ของชนิดผิวเคลือบที่กำหนดให้ ข้อได้เปรียบของผลิตภัณฑ์สีเคลือบตัวใหม่ หรือข้อกำหนดที่ยอมรับได้จากลูกค้าโดยการทดสอบด้วยหมอกเกลือกับผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวเลือกอื่นๆ ดังนั้นจึงเป็นไปได้ยากที่จะยกเลิกการใช้มาตรฐานดังกล่าวในการทดสอบวัสดุ ในปัจจุบันได้มีข้อกำหนดเกิดขึ้นมากมายที่ลูกค้าต้องการให้มี เช่นการกำหนดจำนวนชั่วโมงที่ทำให้ชิ้นงานเกิดความเสียหาย (hours to failure) หลังการทดสอบด้วยหมอกเกลือ การพยายามที่จะยกเลิกการทดสอบเพื่อที่จะหาการทดสอบการกัดกร่อนแบบเร่งให้เกิดผลวิธีอื่น และได้รับการยอมรับจากนักสถาปัตย์ ผู้ที่เขียนข้อกำหนด ประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ที่เป็นตัวเปรียบเทียบด้วยพฤติกรรมการกัดกร่อนค่อนข้างจะใช้เวลานาน จึงเป็นไปได้ยากที่นักวิจัยในปัจจุบันไม่ใช้ข้อมูลจากการทดสอบด้วยหมอกเกลือ เมื่อพวกเขาต้องการที่จะนำเสนอข้อมูลประสิทธิภาพของผลิตภัณฑ์ตัวใหม่ เพื่อนำเสนอต่อลูกค้า นั่นจึงเป็นเหตุผลว่าทำไมการทดสอบดังกล่าวพร้อมทั้งผลที่ได้จากการทดสอบได้รับการยอมรับจากลูกค้าต่างๆ ดังนั้นการทดสอบด้วยหมอกเกลือจึงเป็นการทดสอบเพื่อคัดเลือกผลิตภัณฑ์ได้เป็นอย่างดี เนื่องจากผลจากการทดสอบสามารถนำเสนอได้ในรูปของเวลา
ขั้นตอนการทดสอบด้วยหมอกเกลือ
การทดสอบด้วยหมอกเกลือมีขั้นตอน โดยการนำชิ้นงานทดสอบเข้าไปไว้ใน Chamber ที่ใช้ในการทดสอบ ซึ่งการออกแบบและการควบคุมเป็นไปตามย่อหน้าที่ 4 (paragraph4), apparatus, of ASTM B117 โดยใช้สารละลายเกลือที่มีความเข้มข้น 5% ซึ่งเตรียมโดยละลายสารโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ในน้ำซึ่งเป็นไปตามมาตรฐาน ”ASTM D1193 specification for reagent water, type IV” และให้มีระบบไหลเข้าสู่ chamber ภายใน chamber นั้นก็จะมีการปรับสภาพภายในก่อนที่จะทำการทดสอบจริงก่อนโดยอุณหภูมิภายในประมาณ 35 องศาเซลเซียส และพ่นหมอกเกลือ 5% ด้วยอัตรา 12 มิลลิลิตรต่อชั่วโมง จะมีการสะสมหมอกเกลือที่ทำการพ่นให้อยู่ในอัตราอย่างน้อย 80 ลูกบาศก์เซนติเมตร ของ 2 กระบอกตวงภายใน chamber กระบอกแรกจะเก็บไว้ใกล้กับหัวฉีดพ่นไอเกลือและอีกกระบอกอยู่ไกลที่สุดจากกระบอกฉีด
เมื่อเงื่อนไขต่างๆ ข้างบนถูกต้องหมดแล้ว จะนำชิ้นงานตัวอย่างมาวางไว้ในตำแหน่งทำมุม 15-30 องศากับแนวตั้ง การจัดเรียงตัวจะดูตามการกลั่นตัวของหยดไอน้ำบนชิ้นงานและลดการเกิดเป็นแอ่งน้ำของหยดน้ำ หลีกเลี่ยงการมีปริมาณของชิ้นงานมากเกินไป สิ่งที่สำคัญคือการทำให้ไอน้ำเกลือไหลลงอย่างอิสระและเกิดทั่วผิวหน้าชิ้นงานอย่างเสมอ ชิ้นงานควรจะวางในตำแหน่งที่หยดน้ำจากชิ้นงานหนึ่งไม่สารถหยดลงบนอีกแผ่นหนึ่งได้ ระยะเวลาที่ใช้ในการทดสอบอยู่ในช่วงระหว่าง 24 ถึง 5,000 ชั่วโมง (ถ้าเป็นการทดสอบที่มีการดัดแปลงวิธีการทดสอบเช่นมีการทดสอบเป็นรอบๆ ชิ้นงานต้องสัมผัสกับไอเกลืออย่างน้อย 15 นาที) การทดสอบที่ชิ้นงานมีการหมุนและมีการตรวจสอบปริมาณน้ำเกลือที่สะสมในกระบอกเป็นรายวัน Cabinet จะต้องปิดตลอดเวลาที่ทำการทดสอบ
ในปี 1987 ได้มีการเพิ่ม Appendix x3 เข้าไปใน ASTM B117 เพื่อเป็นตัวตรวจสอบน้ำหนักที่หายไปของชิ้นงานหรือดูความรุนแรงของการกัดกร่อนของสารละลายเกลือภายใน chamber ขั้นตอนที่ใช้ในการตรวจสอบคือใช้ชิ้นงานเหล็กกล้าคาร์บอนที่ผ่านการรีดขึ้นรูปแบบเย็นเกรด SAE 1008 ขนาด 76*127*0.8 มม. นำมาทำความสะอาด ชั่งนำหนักและนำเข้าไปใน Chamber เมื่อเวลาที่สัมผัสกับไอเกลือ 48 96 หรือ 168 ชั่วโมง จึงนำชิ้นงานออกมา ทำความสะอาดและนำมาชั่งน้ำหนักอีกครั้ง เมื่อทำภายใต้สภาวะดังกล่าว จำนวนน้ำหนักที่หายไปสามารถใช้เป็นเครื่องมือในการตรวจสอบสภาพการกัดกร่อนภายใน chamber ได้ ความถี่ที่จะใช้ในการตรวจสอบสภาพการกัดกร่อนภายในขึ้นอยู่กับวิจารณญาณของผู้ใช้ แต่ในทางปฏิบัติการทั่วไปแนะนำให้ทำการตรวจสอบเป็นรายเดือน หรือเมื่อไรก็ตามที่มีการเปลี่ยนแปลงเกิดขึ้นที่มีผลต่อ cabinet เช่นการเปลี่ยนแปลงตำแหน่ง ชนิดของเกลือ น้ำ หรือผู้ทำการทดสอบ เป็นต้น
ตัวอย่างการวางชิ้นทดสอบ (แท่งเหล็กกล้าไร้สนิม) ไว้ใน chamber
เนื่องจากเป็นวิธีการที่ใช้อย่างแพร่หลายและใช้เวลานาน การทดสอบการพ่นด้วยไอเกลือแบบต่อเนื่องจะเป็นวิธีการที่เหมาะมากเพื่อใช้ในการเปรียบเทียบวัสดุ ซึ่งเรารู้จักกันดีในนามการจัดอันดับ (Ranking) การทดสอบแบบนี้จุดประสงค์เพื่อใช้ในเปรียบเทียบอัตราการกัดกร่อนจริงกับอัตราการกัดกร่อนที่คาดหวังที่อยู่บนพื้นฐานประสบการณ์ก่อนหน้านี้ คือสภาวการณ์ที่ใช้งานจริง จากเหตุผลนี้เองที่การทดสอบด้วยหมอกเกลือแบบต่อเนื่องนำมาใช้ในการตรวจสอบคุณภาพเพื่อทำหน้าที่ในการตรวจจับกระบวนการผลิตว่าจะผ่านหรือไม่ผ่าน ก่อนที่จะทำการพัฒนาหรือปรับปรุงกระบวนการผลิตใหม่ต่อไป
ยกตัวอย่างเช่น โรงงานผลิต Fastener สำหรับอุตสาหกรรมอากาศยานต้องการทดสอบประสิทธิภาพของชิ้นส่วนเหล่านั้นโดยการทดสอบด้วยหมอกเกลือเป็นเวลานานกว่า 100 ชั่วโมงภายใต้มาตรฐาน ASTM B117 เพื่อประเมินว่ากระบวนการชุบเคลือบ anodizing อยู่ในขอบเขตที่ยอมรับได้หรือไม่
โรงงานผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ก็มีการทดสอบคล้ายๆ กันโดยเฉพาะชิ้นงานจำพวกที่ผ่านการเคลือบผิวหรือทาสี สภาวะที่ใช้ในการทดสอบโดยทั่วไปจะดูผลกระทบของสภาวะแวดล้อมการใช้งานจริงของรถยนต์ ที่จะเป็นเครื่องชี้ให้เห็นผลที่เกิดจากการกัดกร่อนที่คล้ายกับสภาวะการใช้งานจริงของชิ้นส่วนนั้นๆ
ในกรณีที่การทดสอบได้แสดงให้เห็นถึงหรือใกล้เคียงกับสภาวะการใช้งานจริงเป็นไปได้ ผู้ผลิตผลิตภัณฑ์โดยส่วนใหญ่ที่ทำการทดสอยด้วยวิธีนี้ จะทำการทดสอบชิ้นส่วนที่ใช้งานจริงหรือส่วนใดส่วนหนึ่งของชิ้นงานมากกว่าที่จะเป็นการทดสอบที่ได้ผลไม่ตรงกับความต้องการหรือไม่ใกล้เคียงกับการใช้งานจริง อย่างไรก็ตามการทดสอบชิ้นงานหรือส่วนที่ใช้งานจริง จะแสดงให้เห็นถึงความท้าทายบางอย่างในรูปที่ว่ามันจะสนับสนุนชิ้นส่วนเหล้านั้นระหว่างการทดสอบได้อย่างไร
จุดอ่อนอย่างมากของการทดสอบด้วยหมอกเกลือแบบต่อเนื่องคือแม้จะมีความพยายามจากผู้ผลิตและเข้มงวดอย่างมากสำหรับขั้นตอนการทดสอบ การที่จะระบุว่าผ่านหรือไม่ผ่านของการทดสอบจะไม่ค่อยตรงตามโลกแห่งความเป็นจริงเท่าใดนัก นี่ไม่ต้องประหลาดใจเมื่อมันสามารถประยุกต์ใช้ได้กับสถานที่บางแงในโลกนี้ที่สัมผัสอยู่กับสภาวะไอเกลือแบบต่อเนื่องที่ความเข้มข้น 5 % อุณหภูมิ 35 องศาเซลเซียส ตามมาตรฐาน ASTM B117 และตั้งเป็นมาตรฐานนานาชาติ การกัดกร่อนทางเคมีมีความสลับซับซ้อนมากกว่าที่ปรากฏอยู่ในการทดสอบนี้และผลความแตกต่างของสภาพแวดล้อมอาจจะไปมีผลกระทบต่ออัตราการกัดกร่อนมากกว่าสภาวะแวดล้อมที่มีสิ่งแวดล้อมเพียงอย่างเดียว การแข่งขันเรื่องราคาอย่างเข้มแข็งทำให้เกิดความกดดันเหมือนกันเพื่อให้ผลิตภัณฑ์สามารถปรับปรุง พัฒนามาตรฐานให้สามารถแข่งขันกับตลาดได้
ยกตัวอย่างเช่น เป็นไปได้ว่าชิ้นงานที่ผ่านการเคลือบอาจจะผ่านการทดสอบด้วยหมอกเกลือทั้งๆ ที่ค่าใช้จ่ายในการผลิตต่ำ และอาจจะมีอายุการใช้งานได้นาน ในทางตรงกันข้ามชิ้นงานที่ผ่านการเคลือบผิวและผ่านการทดสอบด้วยหมอกเกลือแบบต่อเนื่อง อาจจะเกิดความเสียหายก่อนอายุที่กำหนด เมื่อมีผลของสภาวะแวดล้อมเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้นจึงอาจจะยากในการรับประกันคุณภาพของสินค้า
ด้วยเหตุผลดังกล่าวที่ผ่านมา การทดสอบแบบเร่งให้เกิดผลด้วยหมอกเกลือเป็นที่นิยมใช้กันอย่างกว้างขวางในปัจจุบัน การทดสอบแบบดังกล่าวต้องยอมรับว่าการทดสอบการกัดกร่อนแบบเป็นคาบจะให้ผลที่ชัดเจนเมื่อเทียบกับสภาวะการใช้งานจริง การทดสอบแบบคาบเป็นที่นิยมใช้กันในผู้ผลิตชั้นนำที่สนใจผลตอบแทนหรือผลทางด้านเศรษฐศาสตร์ที่ได้จากการทดสอบ และยังนำไปสู่การวิจัยเพื่อพัฒนาและปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของวัสดุเพื่อให้มีความต้านทานต่อการกัดกร่อนได้ดี ดังนั้นการที่การทดสอบดังกล่าวได้รับการยอมรับจากผู้ผลิตรายใหญ่เพื่อการควบคุมคุณภาพโดยใช้มาตรฐาน ASTM B117 และมาตรฐานที่คล้ายคลึงกันอื่นๆ จึงทำให้เป็นที่มั่นใจได้ว่าการทดสอบด้วยหมอกเกลือยังเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการพัฒนาผลิตภัณฑ์ทั้งวัสดุและสารเคลือบให้มีความสามารถในการต้านทานการกัดกร่อนได้ดียิ่งๆ ขึ้นไปในอนาคต
คำปรารภของ Robert Baboian: ได้กล่าวว่า
“การทดสอบด้วยหมอกเกลือนั้น ถ้านำมาใช้อย่างเหมาะสมแล้วจะเป็นวิธีการทดสอบการกัดกร่อนชนิดหนึ่งที่ให้คุณค่าอย่างมหาศาล โดยเฉพาะคุณค่าทางด้านการควบคุมคุณภาพและเปรียบเทียบพฤติกรรมของวัสดุตลอดอายุการใช้งาน ไม่ว่าจะเป็นชิ้นส่วนยานยนต์ อากาศยานและอุตสาหกรรมทั่วไป การขนส่งและโครงสร้าง ซึ่งเราพบว่าการทาสีเคลือบผิวได้นำมาใช้ในทุกอุตสาหกรรม”
“การทดสอบได้นำมาใช้อย่างกว้างขวางสำหรับผิวเคลือบสี ซึ่งถ้านำมาใช้อย่างเหมาะสมในการควบคุมคุณภาพหรือเปรียบเทียบพฤติกรรมของวัสดุ จะเกิดประโยชน์อย่างมหาศาล ยกตัวอย่าง เช่น การทดสอบแบบคาบที่ใช้กันทุกวันนี้ในอุตสาหกรรมต่างๆ นั้นจะตกลงกันใช้มาตรฐาน B 117 การทดสอบนี้ให้คุณค่าอย่างมากมาย เนื่องจากเป็นการจำลองการทดสอบที่มีความใกล้เคียงกับสภาวะการใช้งานจริง”
แต่ถึงกระนั้นก็ยังเกิดปัญหาขึ้นกับ ASTM B117 เช่นกัน โดยเฉพาะการพยายามที่จะคัดเลือกหรือจัดอันดับประสิทธิภาพด้านการต้านทานการกัดกร่อนของชิ้นส่วนยานยนต์ มีหลายกรณีการศึกษาที่ได้ทดสอบมาและมีการสรุปว่าการทดสอบด้วยมาตรฐาน ASTM B117 ไม่ได้ให้ผลลัพธ์ที่ดีในการทดสอบกับชิ้นงานอะลูมิเนียมผสมเคลือบผิว หรือล้มเหลวในการที่จะทำนายอิทธิพลของส่วนผสมทางเคมีของผิวเคลือบด้วยอะลูมิเนียม-สังกะสีบนชิ้นงานเหล็กกล้าแผ่นรีดเย็น เป็นต้น
เหตุผลที่การทดสอบตามมาตรฐาน ASTM B117 ไม่มีความแม่นยำในการจำลองประสิทธิภาพด้านการกัดกร่อนของชิ้นส่วนยานยนต์นั้น เนื่องจากว่าเงื่อนไขหรือตัวแปรต่างๆ ไม่ตรงตามสภาวะการใช้งานจริงอย่างแท้จริง เหตุผลอีกอย่างหนึ่งคือชิ้นส่วนที่ทดสอบด้วยหมอกเกลือมีการสัมผัสกับสารละลายและเปียกอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ความเป็นจริงนั้นชิ้นส่วนเหล่านั้นอยู่ภายใต้สภาวะที่เปียกชื้นบ้างแห้งบ้างสลับกันไป นอกจากนั้นเรายังพบว่าความเข้มข้นของเกลือในการทดสอบด้วยหมอกเกลือและในสภาวะการใช้งานจริงนั้น มีความแตกต่างกัน คือการทดสอบจะใช้สารละลายที่มีความเข้มข้นของเกลือสูง (โดยปกติประมาณ 5%) ซึ่งพบว่ามีความเข้มข้นที่สูงกว่าในสภาวะแวดล้อมของการใช้งานจริงมาก และความแตกต่างของอุณหภูมิที่มีความแตกต่างกันแล้วแต่สถานที่และเวลา จึงทำให้การทดสอบด้วยหมอกเกลือมีกลไกของการกัดกร่อนที่ต่างจากความเป็นจริง แต่ถ้าจะทำการทดสอบภาคสนามโดยตรงจะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากรวมทั้งระยะเวลาที่ค่อนข้างนาน แต่ก็มีวิธีการแก้ปัญหาสำหรับวิศวกรในการทดสอบชิ้นส่วนยานยนต์ โดยจะใช้มาตรฐาน SAE J2334 แทน ซึ่งให้ผลการทดสอบที่ดี แต่กระผมจะไม่ขอกล่าวในที่นี้ แต่ถ้าท่านใดสนใจก็สามารถศึกษาได้จากเอกสารอ้างอิง
มีหลายท่านสอบว่าจากมาตรฐาน ASTM B117 เราจะเปรียบเทียบอายุการใช้
ลองพิจารณาจากภาพประกอบด้านล่างนะครับ
ยกตัวอย่างเช่น ถ้าผ่านการทดสอบ salt spray เป็นเวลา 120 ชม โดยชั้นเคลือบไม่เกิดการกัดกร่ อนแสดงว่าน่าจะสามารถใช้งานในสิ่ งแวดล้อมที่เป็นบรรยากาศทั่ วไปได้ 5-15 ปี ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุ นแรงของสิ่งแวดล้อมด้วยครับ
ASTM B117-97 Standard practice for operating salt spray (FOG) apparatus, annual book of ASTM standard, Vol. 03.02 Wear and Erosion; metal corrosion. 2001
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหาย (6)
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อที่ 3
วิศวกรต้องให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง
ความรู้ด้านฟิสิกส์สมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า พื้นฐานความจริงส่วนมากได้มาจากการสังเกต แต่มีการตรวจสอบอยู่สองสามอย่างที่สามารถปฏิบัติด้วยวิธีการกระทำที่ต่างจากที่กล่าวมา นี่เป็นความจริงสำหรับการทำงานของนักวิเคราะห์ความเสียหาย ซึ่งเราจะเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นบางเหตุการณ์ได้มีชิ้นส่วนสูญหายหรือถูกทำลาย แต่ยังสามารถหาสาเหตุความน่าจะเป็นของการเสียหายได้ ทั้งนี้เนื่องจากเราต้องการจะส่งเสริมให้เกิดสวัสดิภาพขึ้นกับสังคม แต่วิธีการวิเคราะห์ด้วยรูปแบบนี้จะต้องไม่เอาความคิดเห็นส่วนตัวเข้ามาปน หรือสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เราควรจะมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบอ้างอิงในการทำงานของเราเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอยู่เสมอๆ และเพื่อเป็นการนำเสนอผลที่ได้จากการตรวจสอบของเราให้เป็นที่ยอมรับ
ถึงอย่างไรก็ตาม จรรยาบรรณข้อนี้ไม่ได้ห้ามการตอบข้อซักถาม ที่ต้องใช้การคาดคะเนและพินิจพิจารณาโดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง และความรู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง นอกจากนั้น ควรเปิดเผยถึงผลประโยชน์ใดๆ ที่ตนเกี่ยวข้อง ที่อาจจะมีผลกระทบต่อดุลยพินิจของตน ในเรื่องทางเทคนิคที่ตนได้แถลง หรือเป็นประจักษ์พยานอยู่
โปรดติดตามตอนต่อไป................
วิศวกรต้องให้ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นตามหลักวิชาการ ตามที่ตนทราบอย่างถ่องแท้แก่สาธารณชนด้วยความสัตย์จริง
ความรู้ด้านฟิสิกส์สมัยใหม่ได้แสดงให้เห็นว่า พื้นฐานความจริงส่วนมากได้มาจากการสังเกต แต่มีการตรวจสอบอยู่สองสามอย่างที่สามารถปฏิบัติด้วยวิธีการกระทำที่ต่างจากที่กล่าวมา นี่เป็นความจริงสำหรับการทำงานของนักวิเคราะห์ความเสียหาย ซึ่งเราจะเห็นว่า ปัญหาที่เกิดขึ้นบางเหตุการณ์ได้มีชิ้นส่วนสูญหายหรือถูกทำลาย แต่ยังสามารถหาสาเหตุความน่าจะเป็นของการเสียหายได้ ทั้งนี้เนื่องจากเราต้องการจะส่งเสริมให้เกิดสวัสดิภาพขึ้นกับสังคม แต่วิธีการวิเคราะห์ด้วยรูปแบบนี้จะต้องไม่เอาความคิดเห็นส่วนตัวเข้ามาปน หรือสามารถกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่า เราควรจะมุ่งมั่นที่จะทำให้เกิดความชัดเจนเกี่ยวกับกรอบอ้างอิงในการทำงานของเราเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพอยู่เสมอๆ และเพื่อเป็นการนำเสนอผลที่ได้จากการตรวจสอบของเราให้เป็นที่ยอมรับ
ถึงอย่างไรก็ตาม จรรยาบรรณข้อนี้ไม่ได้ห้ามการตอบข้อซักถาม ที่ต้องใช้การคาดคะเนและพินิจพิจารณาโดยอาศัยความรู้ และประสบการณ์ของตนเอง และความรู้ที่เกี่ยวข้องในวงกว้าง นอกจากนั้น ควรเปิดเผยถึงผลประโยชน์ใดๆ ที่ตนเกี่ยวข้อง ที่อาจจะมีผลกระทบต่อดุลยพินิจของตน ในเรื่องทางเทคนิคที่ตนได้แถลง หรือเป็นประจักษ์พยานอยู่
โปรดติดตามตอนต่อไป................
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหาย (5)
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อที่ 2
วิศวกรควรปฏิบัติงานเฉพาะสาขาวิชาชีพที่ตนมีความรู้ความสามารถเท่านั้น
นี่เป็นหลักจรรยาบรรณอีกข้อหนึ่งที่ฟังดูดี แต่ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถบอกได้ก่อนที่จะทำการตรวจสอบความเสียหายได้ว่า สิ่งที่เรากำลังจะค้นหาหรือตรวจสอบอยู่ในขอบเขตความสามารถในวิชาชีพของเรา
สมมุติว่าท่านถูกว่าจ้างให้ทำการตรวจสอบความเสียหายของชิ้นส่วนที่ถูกปิดล้อมด้วยชิ้นส่วนอื่นอยู่ ท่านก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นชิ้นส่วนนั้นได้เลยถ้าไม่มีการทำลายชิ้นส่วนที่ปิดบังออกก่อน ซึ่งท่านก็คงไม่รับงานจนกว่าผมจะเห็นชิ้นงานก่อนการทดสอบ ก็คงได้แต่หวังว่าก่อนที่จะเริ่มทำการตรวจสอบ ท่านจะสามารถค้นหาในสิ่งที่เป็นความสามารถในวิชาชีพของท่านได้
เราไม่ควรปฏิเสธการตรวจสอบงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเรา ด้วยเหตุว่าไม่เคยตรวจสอบชิ้นงานลักษณะนี้มาก่อน การเข้มงวดให้เราทำงานในขอบเขตที่เรามีความสามารถและเพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะด้าน จะมีผลกระทบในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการจำกัดการพัฒนาขีดความสามารถของเราให้กว้างขึ้น จริงอยู่เมื่อบุคคลคนเดียวกันได้เจอปัญหาที่คล้ายคลึงกันครั้งแล้วครั้งเล่า ก็จะเป็นโอกาสให้เขาได้พัฒนาขีดความสามารถในวิชาชีพ และทำให้เกิดมุมมองที่กว้าง เข้าใจงานได้ชัดเจนขึ้น แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ในเรื่องอื่นเพิ่มเติม ก็จะทำให้มุมมองยิ่งแคบลงไปทุกที ในขณะที่เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังทำให้การนำวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้งานได้ลำบากขึ้น ปัญหาอื่นๆ ที่เป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติงานที่อยู่ในขอบเขตความสามารถของเราอย่างเดียวอีกอย่างหนึ่ง คือ จะเกิดความลำบากในการติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ
หลักพื้นฐานทางวิศวกรรมจะแสดงให้เห็นว่า จะออกแบบอย่างไร และหลังจากการใช้งานชิ้นส่วนนั้นจะแสดงให้เห็นว่าการออกแบบนั้นเหมาะสมหรือไม่ มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาเสมอ ขอให้มีโจทก์เถอะ พวกเราสามารถแยกแยะประเด็นที่ซับซ้อน แม้จะเป็นสถานการณ์ใหม่ๆ ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ให้ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ถ้าเราเพิ่มขีดความสามารถหรือเพิ่มขอบเขตของความรู้ขึ้น เราจะต้องเพิ่มจรรยาบรรณที่เราเกี่ยวข้องด้วยเสมอ และต้องยอมรับต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
สำหรับจรรยาบรรณข้อนี้นั้น มีบางสาขาวิชาชีพ ได้กำหนดว่า ในกรณีงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ถ้าต้องการความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์อย่างอื่น นอกเหนือจากที่ตนเชี่ยวชาญ วิศวกรต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าของตนทราบอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งแนะนำให้รู้จักผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมกับงานนั้นๆ
โปรดติดตามตอนต่อไป...............
วิศวกรควรปฏิบัติงานเฉพาะสาขาวิชาชีพที่ตนมีความรู้ความสามารถเท่านั้น
นี่เป็นหลักจรรยาบรรณอีกข้อหนึ่งที่ฟังดูดี แต่ทำอย่างไร เราจึงจะสามารถบอกได้ก่อนที่จะทำการตรวจสอบความเสียหายได้ว่า สิ่งที่เรากำลังจะค้นหาหรือตรวจสอบอยู่ในขอบเขตความสามารถในวิชาชีพของเรา
สมมุติว่าท่านถูกว่าจ้างให้ทำการตรวจสอบความเสียหายของชิ้นส่วนที่ถูกปิดล้อมด้วยชิ้นส่วนอื่นอยู่ ท่านก็ไม่สามารถที่จะมองเห็นชิ้นส่วนนั้นได้เลยถ้าไม่มีการทำลายชิ้นส่วนที่ปิดบังออกก่อน ซึ่งท่านก็คงไม่รับงานจนกว่าผมจะเห็นชิ้นงานก่อนการทดสอบ ก็คงได้แต่หวังว่าก่อนที่จะเริ่มทำการตรวจสอบ ท่านจะสามารถค้นหาในสิ่งที่เป็นความสามารถในวิชาชีพของท่านได้
เราไม่ควรปฏิเสธการตรวจสอบงานที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพเรา ด้วยเหตุว่าไม่เคยตรวจสอบชิ้นงานลักษณะนี้มาก่อน การเข้มงวดให้เราทำงานในขอบเขตที่เรามีความสามารถและเพื่อเป็นการพัฒนาขีดความสามารถเฉพาะด้าน จะมีผลกระทบในระยะยาว ซึ่งจะเป็นการจำกัดการพัฒนาขีดความสามารถของเราให้กว้างขึ้น จริงอยู่เมื่อบุคคลคนเดียวกันได้เจอปัญหาที่คล้ายคลึงกันครั้งแล้วครั้งเล่า ก็จะเป็นโอกาสให้เขาได้พัฒนาขีดความสามารถในวิชาชีพ และทำให้เกิดมุมมองที่กว้าง เข้าใจงานได้ชัดเจนขึ้น แต่ถ้าไม่มีประสบการณ์ในเรื่องอื่นเพิ่มเติม ก็จะทำให้มุมมองยิ่งแคบลงไปทุกที ในขณะที่เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมมีการพัฒนาไปเรื่อยๆ นอกจากนั้นยังทำให้การนำวิธีการแก้ปัญหาใหม่ๆ มาประยุกต์ใช้งานได้ลำบากขึ้น ปัญหาอื่นๆ ที่เป็นผลโดยตรงจากการปฏิบัติงานที่อยู่ในขอบเขตความสามารถของเราอย่างเดียวอีกอย่างหนึ่ง คือ จะเกิดความลำบากในการติดต่อสื่อสารกับผู้เชี่ยวชาญทางด้านเทคนิคและผู้เชี่ยวชาญด้านอื่นๆ
หลักพื้นฐานทางวิศวกรรมจะแสดงให้เห็นว่า จะออกแบบอย่างไร และหลังจากการใช้งานชิ้นส่วนนั้นจะแสดงให้เห็นว่าการออกแบบนั้นเหมาะสมหรือไม่ มนุษย์มีความเฉลียวฉลาดในการสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ออกมาเสมอ ขอให้มีโจทก์เถอะ พวกเราสามารถแยกแยะประเด็นที่ซับซ้อน แม้จะเป็นสถานการณ์ใหม่ๆ ก็ตาม อย่างไรก็ตาม ให้ขอให้ระลึกไว้เสมอว่า ถ้าเราเพิ่มขีดความสามารถหรือเพิ่มขอบเขตของความรู้ขึ้น เราจะต้องเพิ่มจรรยาบรรณที่เราเกี่ยวข้องด้วยเสมอ และต้องยอมรับต่อการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ
สำหรับจรรยาบรรณข้อนี้นั้น มีบางสาขาวิชาชีพ ได้กำหนดว่า ในกรณีงานที่ได้รับมอบหมายนั้น ถ้าต้องการความรู้ความสามารถ หรือประสบการณ์อย่างอื่น นอกเหนือจากที่ตนเชี่ยวชาญ วิศวกรต้องแจ้งให้ผู้ว่าจ้างหรือลูกค้าของตนทราบอย่างตรงไปตรงมา อีกทั้งแนะนำให้รู้จักผู้ที่มีความสามารถเหมาะสมกับงานนั้นๆ
โปรดติดตามตอนต่อไป...............
วันศุกร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2552
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหาย (4)
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหายข้อที่ 1
วิศวกรต้องรับผิดชอบและให้ความสำคัญต่อความปลอดภัย สุขภาพ สวัสดิภาพของสาธารณชน และสิ่งแวดล้อมเป็นอันดับแรก
หลักจรรยาบรรณข้อแรกนี้ อ่านดูแล้วเหมือนกับว่าจะง่ายต่อการปฏิบัติ แต่บางครั้งเราพบว่าการกระทำที่ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยของคนกลุ่มหนึ่ง ได้ส่งผลกระทบที่ไม่ดีกับสุขภาพของคนอีกกลุ่มหนึ่ง ดังนั้นจึงมีคำถามว่า ทำอย่างไร กิจกรรมของแต่ละกลุ่มจะตอบสนองต่อจรรยาบรรณข้อนี้ ยกตัวอย่าง เช่น ในทุกวันนี้เทคโนโลยีและวิศวกรรมการขนส่งได้พยายามทำให้มีความเร็วสูงเท่าที่จะทำได้ อันส่งผลให้สาธารณชนได้รับสินค้าในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่ถามว่า รถขนส่งที่มีความเร็วสูงได้ส่งเสริมให้เกิดความปลอดภัยกับสาธารณชนหรือไม่ หลายประเทศได้มีการพัฒนาอาวุธยุทธภัณฑ์ เพื่อคุ้มครองสวัสดิภาพของประชาชนของเขา แต่ขอถามอีกว่า เมื่อมีการสู้รบกัน มันได้ทำให้เกิดสวัสดิภาพต่อมวลมนุษยชาติขึ้นจริงหรือไม่ เท่าที่เห็น คือ มีแต่ความทุกข์ทนทุกหย่อมหญ้า มีคนตายกันเกลื่อน นี่หรือสวัสดิภาพ?
เพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของจรรยาบรรณข้อนี้ สำหรับนักวิเคราะห์ความเสียหาย จึงมีหลักปฏิบัติ คือ หลีกเลี่ยงการรับงานที่ไม่เกิดความเป็นธรรมกับสาธารณชน ทำงานให้สอดคล้องกับหลักปฏิบัติในการประกอบวิชาชีพวิศวกรรมที่เป็นที่ยอมรับ พยายามป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับสาธารณชน ถ้าตรวจเจอปัญหา ต้องแจ้งให้ผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องรับทราบ และให้ความรู้ ความเข้าใจกับสาธารณชน เพื่อให้เกิดความเข้าใจที่ถูกต้อง
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหาย (3)
การนำประมวลทางจรรยาบรรณมาใช้
แม้จะมีข้อจำกัดภายในตัวบางอย่าง แต่ประมวลแห่งจรรยาบรรณก็ช่วยให้เกิดความชัดเจนในการช่วยสร้างความสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่สุขภาพและความปลอดภัยที่ดีของมวลชน
หลักการเบื้องต้น“วิศวกรจะต้องยึดมั่นและส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศ ชื่อเสียง ของวิชาชีพวิศวกรรม โดยการใช้ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ ที่มีความซื่อสัตย์และยุติธรรม และคงไว้ซึ่งความเที่ยงตรงต่อมหาชน ลูกจ้างและลูกค้าเพื่อนำไปสู่สวัสดิภาพของมวลชน”
หลักการพื้นฐานนี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะทำได้ยาก ซึ่งถ้าคุณต้องการช่วยงานใครสักคนเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเขา คุณก็ควรจะได้รับความเชื่อมั่นจากเขา การที่เขาจะเชื่อมั่นในตัวเราได้ ก็จะต้องปฏิบัติตามหลักการเบื้องต้นที่กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวข้อที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพของประชาชน เราต้องคิดอยู่เสมอว่า อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้ามีความเชื่อมั่นต่อเราน้อยลง เราอาจจะเสียมวลชนและทำลายทั้งลูกค้าและตัวเอง ดังนั้นการปฏิบัติงานของเรา จึงถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ทำให้สังคมมีความปลอดภัย ด้วยการทำงานให้ลูกค้าเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการปกป้องสังคมด้วย
โปรดสำเหนียกอีกครั้งหนึ่งว่า
“วิศวกรจะต้องยึดมั่นและส่งเสริมความซื่อสัตย์ เกียรติยศ ชื่อเสียงแห่งวิชาชีพวิศวกรรม ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มขีดความสามารถและเกียรติคุณของวิชาชีพวิศวกรรม และสนับสนุนข้อควรปฏิบัติหรือประมวลจรรยาบรรณของวิชาชีพและสมาคม”
โปรดติดตามตอนต่อไป..................
แม้จะมีข้อจำกัดภายในตัวบางอย่าง แต่ประมวลแห่งจรรยาบรรณก็ช่วยให้เกิดความชัดเจนในการช่วยสร้างความสัมพันธ์ อันจะนำไปสู่สุขภาพและความปลอดภัยที่ดีของมวลชน
หลักการเบื้องต้น“วิศวกรจะต้องยึดมั่นและส่งเสริมความซื่อสัตย์สุจริต เกียรติยศ ชื่อเสียง ของวิชาชีพวิศวกรรม โดยการใช้ความรู้ ความชำนาญ และประสบการณ์ ที่มีความซื่อสัตย์และยุติธรรม และคงไว้ซึ่งความเที่ยงตรงต่อมหาชน ลูกจ้างและลูกค้าเพื่อนำไปสู่สวัสดิภาพของมวลชน”
หลักการพื้นฐานนี้เป็นสิ่งที่ค่อนข้างจะทำได้ยาก ซึ่งถ้าคุณต้องการช่วยงานใครสักคนเพื่อปรับปรุงผลิตภัณฑ์ของเขา คุณก็ควรจะได้รับความเชื่อมั่นจากเขา การที่เขาจะเชื่อมั่นในตัวเราได้ ก็จะต้องปฏิบัติตามหลักการเบื้องต้นที่กล่าวมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งหัวข้อที่เกี่ยวกับสวัสดิภาพของประชาชน เราต้องคิดอยู่เสมอว่า อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อลูกค้ามีความเชื่อมั่นต่อเราน้อยลง เราอาจจะเสียมวลชนและทำลายทั้งลูกค้าและตัวเอง ดังนั้นการปฏิบัติงานของเรา จึงถือว่าเป็นโอกาสที่ดีที่จะได้ทำให้สังคมมีความปลอดภัย ด้วยการทำงานให้ลูกค้าเพื่อปรับปรุงคุณภาพสินค้าให้ดีขึ้น ในขณะเดียวกันก็เป็นการปกป้องสังคมด้วย
โปรดสำเหนียกอีกครั้งหนึ่งว่า
“วิศวกรจะต้องยึดมั่นและส่งเสริมความซื่อสัตย์ เกียรติยศ ชื่อเสียงแห่งวิชาชีพวิศวกรรม ด้วยความมุ่งมั่นที่จะเพิ่มขีดความสามารถและเกียรติคุณของวิชาชีพวิศวกรรม และสนับสนุนข้อควรปฏิบัติหรือประมวลจรรยาบรรณของวิชาชีพและสมาคม”
โปรดติดตามตอนต่อไป..................
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหาย (2)
ถึงแม้ว่าเนื้อหาที่จะกล่าวต่อไปนี้จะเน้นไปที่สังคมของนักวิเคราะห์ความเสียหาย แต่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับหลายๆ วิชาชีพ
นิยามจรรยาบรรณ
โดยปกติแล้ว จรรยาบรรณไม่ใช่ข้อบังคับและไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นแนวทางหรือกรอบแห่งการดำเนินงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ พึงถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทุกสาขามีจุดประสงค์ร่วมกัน คือ มุ่งความเจริญ ความมั่นคงของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ
คำว่าจรรยาบรรณเป็นคำสมาสระหว่าง “จรรยา” ซึ่งหมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า “บรรณ” หมายถึงเอกสารหรือหนังสือ ดังนั้น เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ว่า “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้”
พฤติกรรมแบบไหนที่ถือว่าเป็นไปตามหลักจรรยาบรรณ
พฤติกรรมจรรยาบรรณ (Ethical Behavior) คือ พฤติกรรมที่เป็นผลมาจากการเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำและไม่กระทำของเรา ที่มีพื้นฐานอยู่บนความกรุณาปราณี ทั้งนี้มิได้ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ว่าให้ปฏิบัติหรือไม่ให้ปฏิบัติตาม แต่เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ให้การยอมรับในรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น งานวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุ คู่มือควรประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับการรักษาสภาพชิ้นงานและหลักฐานว่าควรเป็นอย่างไรและควรปฏิบัติเมื่อใด ควรมีการยอมรับเมื่อมีการทำผิดพลาด และดำเนินการทดสอบด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ได้คำตอบตามความเป็นจริง เป็นต้น
การเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Deepened Understanding)
ทำไมถึงต้องกล่าวว่า พฤติกรรมที่มีจรรยาบรรณ คือพฤติกรรมที่เกิดจากการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง อันที่จริงแล้วหลักจรรยาบรรณจะเกิดขึ้นเฉพาะบุคคล ซึ่งเราทราบกันดีว่า แต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีมุมมองหรือวิสัยทัศน์ที่กว้าง-แคบต่างกัน ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า การเข้าใจอย่างลึกซึ้งสามารถเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ของแต่ละคนเท่านั้น ถ้ามีการเรียนรู้บนพื้นฐานการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง จะนำไปสู่พฤติกรรมที่มีจรรยาบรรณในมาตรฐานต่ำ และถ้ามีการเรียนรู้บนพื้นฐานความเข้าใจอย่างถูกต้องและลึกซึ้ง ก็จะนำไปสู่พฤติกรรมที่มีจรรยาบรรณในมาตรฐานที่สูง
ธรรมชาติได้มอบความคิดมาให้เป็นสมบัติของมนุษย์ ทว่าไม่ได้มอบความคิดฝ่ายกุศล (ดี) มาให้เท่านั้น ยังมอบความคิดฝ่ายอกุศล (ไม่ดี) มาให้ด้วย พร้อมทั้งอิสรเสรีในการที่จะคิดดีหรือชั่วได้ตามใจปรารถนา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกเรื่องใดขึ้นมาขบคิด ความคิดจึงเป็นดาบสองคมอยู่ในตัว พร้อมที่จะทำให้เราทุกข์ได้ถ้าคิดชั่ว และพร้อมที่จะเป็นสุขได้ถ้าคิดดี เพราะฉะนั้นการที่จะคิดดีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประโยชน์และให้เกิดการเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว จำเป็นต้องมีการฝึกฝนด้านจิตใจ ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นชาวพุทธก็ควรจะฝึกปฏิบัติธรรมตามหลักแห่งสติปัฎฐานสี่ ซึ่งเป็นการฝึกให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ที่คิดและปรุงแต่ง สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี เป็นต้น แล้วนำหลักธรรมเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในชีวิตประจำวัน
เราควรจะฝึกฝนพัฒนาตัวเราเอง เพื่อให้มีความเป็นอิสระจากวิธีการในการวิเคราะห์ (ไม่ยึดติดในวิธีการเดิมๆ) ที่ให้ความน่าเชื่อถือและสามารถไว้วางใจได้ ถ้าเราสามารถบรรลุผลข้อนี้ไปได้ เราก็จะสามารถมองภาพรวมได้ชัดเจนหรือมีมุมมองที่กว้างขึ้น มุมมองที่กว้างนี้อาจจะทำให้เกิดคำถามขึ้นมาได้มากมาย ทำให้เกิดความละเอียดในการตรวจสอบ
เป็นที่ทราบกันดีว่า การให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ควรทำหรือไม่ควรทำ ผิดชอบชั่วดี ก็มีการสอนกันตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษาแล้ว นอกจากนั้นทุกศาสนาก็ล้วนแต่สอนให้คนเป็นคนดี การเข้าใจอย่างลึกซึ้งช่วยให้เราไม่มีอคติ การเล่าเรียนศึกษาและฝึกปฏิบัติจากสถานศึกษาที่สอนทางด้านวิศวกรรม ก็ล้วนแต่ชี้แนะแนวทางให้ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมมากกว่ากฎเกณฑ์ ประสบการณ์ทำให้เราเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นและดีขึ้น และที่สำคัญจะทำให้มองเห็นความสำคัญของจริยธรรม เนื่องจากส่งผลต่อความสุขทางใจด้วย
การมีความกรุณาปราณี (In the presence of compassion)
คำว่ากรุณา (Compassion) เป็นหนึ่งในสี่ของหลักพรหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นธรรมะสำหรับผู้ปกครอง แปลว่า ความปรารถนาให้คนอื่นพ้นทุกข์ แม้มนุษย์จะด้อยกว่าสัตว์เดรัจฉานในเรื่องสัญชาติญาณ แต่ก็เหนือกว่าสัตว์เดรัจฉานในเรื่องฝึกฝน ข้อสำคัญของมนุษย์จึงอยู่ที่การฝึกฝนอบรมตน เพื่อให้มีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา กรุณา ต้องการช่วยเหลือคนอื่นๆ ให้คลายความกังวลจากข้อสงสัย
สำหรับนักวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุ เราเข้าไปตรวจสอบเพื่อต้องการให้เกิดความกระจ่างถึงต้นตอของสาเหตุ ต้องการหาคนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้งาน นอกจากนั้นเรายังเสนอแนะแนวทางแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานั้นอีกในอนาคต เพื่อสวัสดิภาพของสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะการรักษาคนอื่นรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็เท่ากับรักษาตัวเราเอง ถ้าเราไม่ทำเช่นนั้นก็เท่ากับไม่รักตัวเอง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำและไม่กระทำของเรา
ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อันเกิดจากการกระทำและไม่กระทำของเรานั้น อาจจะส่งผลต่อความชัดเจนของสาเหตุที่เกิดขึ้น และส่งผลต่อเนื่องต่อผู้ผลิต ผู้ใช้งาน ในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงการผลิต การทำนาย การบำรุงรักษาและการซ่อมบำรุง ดังนั้นถ้านักวิเคราะห์ความเสียหายมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำ จะทำให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ในความเป็นจริงแล้ว มีหลายกรณีความเสียหายที่ไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยเฉพาะกรณีที่ไม่มีคนกล่าวโทษร้องทุกข์ ความเป็นจริงจึงไม่ปรากฏต่อสาธารณชน
ดังนั้น นักวิเคราะห์ความเสียหายควรจะถามตัวเองดังๆ ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานว่า
-อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราสะเพร่าในการทำงาน
-อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราเห็นด้วยกับข้อสรุปตามความคิดเห็นของเรา โดยไม่ได้ทำการทดสอบให้ครบทุกขั้นตอน เนื่องจากไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่าย
-อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราให้ความรู้ให้กับบางคน แล้วเขานำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ดี
โปรดติดตามตอนต่อไป.....................
นิยามจรรยาบรรณ
โดยปกติแล้ว จรรยาบรรณไม่ใช่ข้อบังคับและไม่ใช่กฎหมาย แต่เป็นแนวทางหรือกรอบแห่งการดำเนินงานที่ผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ พึงถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด จรรยาบรรณแห่งวิชาชีพทุกสาขามีจุดประสงค์ร่วมกัน คือ มุ่งความเจริญ ความมั่นคงของผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ประกอบวิชาชีพนั้นๆ
คำว่าจรรยาบรรณเป็นคำสมาสระหว่าง “จรรยา” ซึ่งหมายถึง ความประพฤติหรือกิริยาที่ควรประพฤติ ส่วนคำว่า “บรรณ” หมายถึงเอกสารหรือหนังสือ ดังนั้น เมื่อนำมารวมกัน จึงมีความหมายตามพจนานุกรมราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ว่า “ประมวลความประพฤติที่ผู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำหนดขึ้น เพื่อรักษาและส่งเสริมเกียรติคุณ ชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้”
พฤติกรรมแบบไหนที่ถือว่าเป็นไปตามหลักจรรยาบรรณ
พฤติกรรมจรรยาบรรณ (Ethical Behavior) คือ พฤติกรรมที่เป็นผลมาจากการเข้าใจอย่างลึกซึ้งถึงผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำและไม่กระทำของเรา ที่มีพื้นฐานอยู่บนความกรุณาปราณี ทั้งนี้มิได้ตั้งเป็นกฎเกณฑ์ว่าให้ปฏิบัติหรือไม่ให้ปฏิบัติตาม แต่เป็นสิ่งที่คนส่วนใหญ่ให้การยอมรับในรายละเอียด ยกตัวอย่างเช่น งานวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุ คู่มือควรประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับการรักษาสภาพชิ้นงานและหลักฐานว่าควรเป็นอย่างไรและควรปฏิบัติเมื่อใด ควรมีการยอมรับเมื่อมีการทำผิดพลาด และดำเนินการทดสอบด้วยวิธีการที่ถูกต้องเหมาะสม เพื่อให้ได้คำตอบตามความเป็นจริง เป็นต้น
การเข้าใจอย่างลึกซึ้ง (Deepened Understanding)
ทำไมถึงต้องกล่าวว่า พฤติกรรมที่มีจรรยาบรรณ คือพฤติกรรมที่เกิดจากการเข้าใจอย่างลึกซึ้ง อันที่จริงแล้วหลักจรรยาบรรณจะเกิดขึ้นเฉพาะบุคคล ซึ่งเราทราบกันดีว่า แต่ละคนมีประสบการณ์ที่แตกต่างกัน จึงทำให้มีมุมมองหรือวิสัยทัศน์ที่กว้าง-แคบต่างกัน ดังนั้นจึงสามารถกล่าวได้ว่า การเข้าใจอย่างลึกซึ้งสามารถเกิดขึ้นได้จากประสบการณ์ของแต่ละคนเท่านั้น ถ้ามีการเรียนรู้บนพื้นฐานการเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง จะนำไปสู่พฤติกรรมที่มีจรรยาบรรณในมาตรฐานต่ำ และถ้ามีการเรียนรู้บนพื้นฐานความเข้าใจอย่างถูกต้องและลึกซึ้ง ก็จะนำไปสู่พฤติกรรมที่มีจรรยาบรรณในมาตรฐานที่สูง
ธรรมชาติได้มอบความคิดมาให้เป็นสมบัติของมนุษย์ ทว่าไม่ได้มอบความคิดฝ่ายกุศล (ดี) มาให้เท่านั้น ยังมอบความคิดฝ่ายอกุศล (ไม่ดี) มาให้ด้วย พร้อมทั้งอิสรเสรีในการที่จะคิดดีหรือชั่วได้ตามใจปรารถนา ขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกเรื่องใดขึ้นมาขบคิด ความคิดจึงเป็นดาบสองคมอยู่ในตัว พร้อมที่จะทำให้เราทุกข์ได้ถ้าคิดชั่ว และพร้อมที่จะเป็นสุขได้ถ้าคิดดี เพราะฉะนั้นการที่จะคิดดีเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ก่อให้เกิดประโยชน์และให้เกิดการเข้าใจอย่างลึกซึ้งแล้ว จำเป็นต้องมีการฝึกฝนด้านจิตใจ ยกตัวอย่าง ถ้าเป็นชาวพุทธก็ควรจะฝึกปฏิบัติธรรมตามหลักแห่งสติปัฎฐานสี่ ซึ่งเป็นการฝึกให้เรารู้เท่าทันอารมณ์ที่คิดและปรุงแต่ง สามารถแยกแยะได้ว่าสิ่งไหนดีหรือไม่ดี เป็นต้น แล้วนำหลักธรรมเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้กับการทำงานในชีวิตประจำวัน
เราควรจะฝึกฝนพัฒนาตัวเราเอง เพื่อให้มีความเป็นอิสระจากวิธีการในการวิเคราะห์ (ไม่ยึดติดในวิธีการเดิมๆ) ที่ให้ความน่าเชื่อถือและสามารถไว้วางใจได้ ถ้าเราสามารถบรรลุผลข้อนี้ไปได้ เราก็จะสามารถมองภาพรวมได้ชัดเจนหรือมีมุมมองที่กว้างขึ้น มุมมองที่กว้างนี้อาจจะทำให้เกิดคำถามขึ้นมาได้มากมาย ทำให้เกิดความละเอียดในการตรวจสอบ
เป็นที่ทราบกันดีว่า การให้ความสำคัญเกี่ยวกับเรื่องที่ควรทำหรือไม่ควรทำ ผิดชอบชั่วดี ก็มีการสอนกันตั้งแต่ชั้นอนุบาลหรือชั้นประถมศึกษาแล้ว นอกจากนั้นทุกศาสนาก็ล้วนแต่สอนให้คนเป็นคนดี การเข้าใจอย่างลึกซึ้งช่วยให้เราไม่มีอคติ การเล่าเรียนศึกษาและฝึกปฏิบัติจากสถานศึกษาที่สอนทางด้านวิศวกรรม ก็ล้วนแต่ชี้แนะแนวทางให้ปฏิบัติตามหลักจริยธรรมมากกว่ากฎเกณฑ์ ประสบการณ์ทำให้เราเรียนรู้ในสิ่งใหม่ๆ ได้มากขึ้นและดีขึ้น และที่สำคัญจะทำให้มองเห็นความสำคัญของจริยธรรม เนื่องจากส่งผลต่อความสุขทางใจด้วย
การมีความกรุณาปราณี (In the presence of compassion)
คำว่ากรุณา (Compassion) เป็นหนึ่งในสี่ของหลักพรหมวิหาร 4 ซึ่งเป็นธรรมะสำหรับผู้ปกครอง แปลว่า ความปรารถนาให้คนอื่นพ้นทุกข์ แม้มนุษย์จะด้อยกว่าสัตว์เดรัจฉานในเรื่องสัญชาติญาณ แต่ก็เหนือกว่าสัตว์เดรัจฉานในเรื่องฝึกฝน ข้อสำคัญของมนุษย์จึงอยู่ที่การฝึกฝนอบรมตน เพื่อให้มีจิตใจที่เปี่ยมไปด้วยความเมตตา กรุณา ต้องการช่วยเหลือคนอื่นๆ ให้คลายความกังวลจากข้อสงสัย
สำหรับนักวิเคราะห์ความเสียหายของวัสดุ เราเข้าไปตรวจสอบเพื่อต้องการให้เกิดความกระจ่างถึงต้นตอของสาเหตุ ต้องการหาคนรับผิดชอบ ไม่ว่าจะเป็นผู้ผลิตหรือผู้ใช้งาน นอกจากนั้นเรายังเสนอแนะแนวทางแก้ไข เพื่อไม่ให้เกิดปัญหานั้นอีกในอนาคต เพื่อสวัสดิภาพของสังคมและสิ่งแวดล้อม เพราะการรักษาคนอื่นรวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ก็เท่ากับรักษาตัวเราเอง ถ้าเราไม่ทำเช่นนั้นก็เท่ากับไม่รักตัวเอง
ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นจากการกระทำและไม่กระทำของเรา
ผลลัพธ์ที่เป็นไปได้อันเกิดจากการกระทำและไม่กระทำของเรานั้น อาจจะส่งผลต่อความชัดเจนของสาเหตุที่เกิดขึ้น และส่งผลต่อเนื่องต่อผู้ผลิต ผู้ใช้งาน ในการนำข้อมูลที่ได้ไปใช้ในการปรับปรุงการผลิต การทำนาย การบำรุงรักษาและการซ่อมบำรุง ดังนั้นถ้านักวิเคราะห์ความเสียหายมีความรับผิดชอบต่องานที่ทำ จะทำให้เกิดความโปร่งใส สามารถตรวจสอบได้ ในความเป็นจริงแล้ว มีหลายกรณีความเสียหายที่ไม่ได้ทำการตรวจสอบ โดยเฉพาะกรณีที่ไม่มีคนกล่าวโทษร้องทุกข์ ความเป็นจริงจึงไม่ปรากฏต่อสาธารณชน
ดังนั้น นักวิเคราะห์ความเสียหายควรจะถามตัวเองดังๆ ก่อนที่จะลงมือปฏิบัติงานว่า
-อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราสะเพร่าในการทำงาน
-อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราเห็นด้วยกับข้อสรุปตามความคิดเห็นของเรา โดยไม่ได้ทำการทดสอบให้ครบทุกขั้นตอน เนื่องจากไม่ต้องการเสียค่าใช้จ่าย
-อะไรจะเกิดขึ้นเมื่อเราให้ความรู้ให้กับบางคน แล้วเขานำไปใช้ประโยชน์ในทางที่ไม่ดี
โปรดติดตามตอนต่อไป.....................
จรรยาบรรณของนักวิเคราะห์ความเสียหาย (1)
บทนำ
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึง จริยธรรม จรรยาบรรณ หรือ คุณธรรมกันมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดความสงบสุข ความสมัครสมานสามัคคีกันของคนในสังคมได้ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะประกอบสัมมาอาชีพใดก็ตาม ควรจะดำเนินกิจกรรมของตัวเองตามหลักของวิชาชีพและหลักจริยธรรม ในปัจจุบันนี้มีการประกอบวิชาชีพมากมายหลายแขนง แต่ละแขนงก็มีความแตกต่างกันออกไปทั้งในรูปแบบของกิจกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม แต่ทุกวิชาชีพก็ล้วนแต่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเป็นของของตน ถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งประพฤติเสื่อมเสีย ก็ทำให้เหล่าสมาชิกและชื่อเสียงของวิชาชีพนั้นพลอยได้รับความเสื่อมเสียไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาชีพที่มีผลกระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง เช่น วิศวกร ครู แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ สื่อ และนักการเมือง เป็นต้น เพื่อให้เป็นการเข้าใจตรงกันในการปฏิบัติงาน บางวิชาชีพจึงได้กำหนดและเขียนหลักที่พึงปฏิบัติ เรียกกันว่า หลักจรรยาบรรณ ขึ้นมา
สำหรับในสังคมของวิศวกรรมการตรวจสอบความเสียหาย (Engineering Investigation) ซึ่งเป็นวิชาชีพอีกแขนงหนึ่งที่มีส่วนในการชี้เป็นชี้ตาย หรือ มีส่วนทำให้คนใดคนหนึ่งหรือฝ่ายใดหนึ่งได้ผลประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ดังนั้นการทำงานของนักวิเคราะห์ความเสียหายจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรม ตรงไปตรงมา เป็นไปตามหลักฐานที่ปรากฏและหลักวิชาการ ไม่เอนเอียงไปตามกระแส ตามอำนาจของเงินตราหรือกิเลสต่างๆ ที่มายั่วยุให้เราทำผิดหลักจรรยาบรรณ
เจตนาที่เขียนหัวข้อนี้ขึ้นมาก็เพื่อจะแบ่งปันประสบการณ์ของนักวิเคราะห์ความเสียหายคนหนึ่งที่เผชิญหน้ากับงานที่เกิดการเสียหายอยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นงานที่ต้องตัดสินว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดการเสียหายด้วยสาเหตุใด ใครเป็นคนทำให้เกิด โดยได้ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณทางวิศวกรรม และเพื่อเป็นการเตือนสติหรือกระตุ้นต่อมจริยธรรมให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพเดียวกันนี้ได้นำไปปฏิบัติ อันจะทำให้คนในสังคมอาศัยอยู่ร่วมกันได้สันติสุข
วิศวกรรมหลายสาขาได้นำเอาหลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณมาใช้ในการปฏิบัติงาน แต่เรามักจะพบว่าพวกเขาส่วนมากไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้อย่างแท้จริงในบางสถานการณ์ บางครั้งประมวลจรรยาบรรณที่กำหนดขึ้นมาก็มีความขัดแย้งในตัวมันเอง แต่สิ่งที่ประหลาดใจ คือ ผมพบว่าการทำงานตามหลักศีลธรรมกลับประสบผลสำเร็จมากกว่าการปฏิบัติตามประมวลแห่งจรรยาบรรณ (Code of Ethics) ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบในมุมมองของผมที่เป็นชาวพุทธ คือ หลักธรรมคำสอนต่างๆ นั้น ได้มาจากศาสดาผู้ที่ไม่มีกิเลสบัญญัติขึ้นมา ในขณะที่กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เหล่านี้ ได้มาจากผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ เป็นคนบัญญัติขึ้นมา
โปรดติดตามตอนต่อไป.................
เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบันได้มีการกล่าวถึง จริยธรรม จรรยาบรรณ หรือ คุณธรรมกันมาก โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับผู้นำ เนื่องจากเป็นตัวชี้วัดความสงบสุข ความสมัครสมานสามัคคีกันของคนในสังคมได้ด้วย ดังนั้นจึงจำเป็นอย่างยิ่งที่ทุกคนในสังคม ไม่ว่าจะประกอบสัมมาอาชีพใดก็ตาม ควรจะดำเนินกิจกรรมของตัวเองตามหลักของวิชาชีพและหลักจริยธรรม ในปัจจุบันนี้มีการประกอบวิชาชีพมากมายหลายแขนง แต่ละแขนงก็มีความแตกต่างกันออกไปทั้งในรูปแบบของกิจกรรมและผลกระทบที่เกิดขึ้นกับสังคม แต่ทุกวิชาชีพก็ล้วนแต่มีเกียรติ มีศักดิ์ศรีเป็นของของตน ถ้าสมาชิกคนใดคนหนึ่งประพฤติเสื่อมเสีย ก็ทำให้เหล่าสมาชิกและชื่อเสียงของวิชาชีพนั้นพลอยได้รับความเสื่อมเสียไปด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งวิชาชีพที่มีผลกระทบกับสังคมและสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง เช่น วิศวกร ครู แพทย์ พยาบาล ทหาร ตำรวจ สื่อ และนักการเมือง เป็นต้น เพื่อให้เป็นการเข้าใจตรงกันในการปฏิบัติงาน บางวิชาชีพจึงได้กำหนดและเขียนหลักที่พึงปฏิบัติ เรียกกันว่า หลักจรรยาบรรณ ขึ้นมา
สำหรับในสังคมของวิศวกรรมการตรวจสอบความเสียหาย (Engineering Investigation) ซึ่งเป็นวิชาชีพอีกแขนงหนึ่งที่มีส่วนในการชี้เป็นชี้ตาย หรือ มีส่วนทำให้คนใดคนหนึ่งหรือฝ่ายใดหนึ่งได้ผลประโยชน์หรือเสียประโยชน์ ดังนั้นการทำงานของนักวิเคราะห์ความเสียหายจึงจำเป็นต้องดำเนินการอย่างเป็นธรรม ตรงไปตรงมา เป็นไปตามหลักฐานที่ปรากฏและหลักวิชาการ ไม่เอนเอียงไปตามกระแส ตามอำนาจของเงินตราหรือกิเลสต่างๆ ที่มายั่วยุให้เราทำผิดหลักจรรยาบรรณ
เจตนาที่เขียนหัวข้อนี้ขึ้นมาก็เพื่อจะแบ่งปันประสบการณ์ของนักวิเคราะห์ความเสียหายคนหนึ่งที่เผชิญหน้ากับงานที่เกิดการเสียหายอยู่เป็นประจำ ซึ่งเป็นงานที่ต้องตัดสินว่าสิ่งเหล่านั้นเกิดการเสียหายด้วยสาเหตุใด ใครเป็นคนทำให้เกิด โดยได้ปฏิบัติตามหลักจรรยาบรรณทางวิศวกรรม และเพื่อเป็นการเตือนสติหรือกระตุ้นต่อมจริยธรรมให้ผู้ที่ประกอบวิชาชีพเดียวกันนี้ได้นำไปปฏิบัติ อันจะทำให้คนในสังคมอาศัยอยู่ร่วมกันได้สันติสุข
วิศวกรรมหลายสาขาได้นำเอาหลักจริยธรรมหรือจรรยาบรรณมาใช้ในการปฏิบัติงาน แต่เรามักจะพบว่าพวกเขาส่วนมากไม่สามารถที่จะนำมาใช้ได้อย่างแท้จริงในบางสถานการณ์ บางครั้งประมวลจรรยาบรรณที่กำหนดขึ้นมาก็มีความขัดแย้งในตัวมันเอง แต่สิ่งที่ประหลาดใจ คือ ผมพบว่าการทำงานตามหลักศีลธรรมกลับประสบผลสำเร็จมากกว่าการปฏิบัติตามประมวลแห่งจรรยาบรรณ (Code of Ethics) ถามว่าทำไมจึงเป็นเช่นนั้น คำตอบในมุมมองของผมที่เป็นชาวพุทธ คือ หลักธรรมคำสอนต่างๆ นั้น ได้มาจากศาสดาผู้ที่ไม่มีกิเลสบัญญัติขึ้นมา ในขณะที่กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ เหล่านี้ ได้มาจากผู้ที่ยังมีกิเลสอยู่ เป็นคนบัญญัติขึ้นมา
โปรดติดตามตอนต่อไป.................
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า ...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...