1. ดูปากคนอื่นเวลาเขาพูดและพยายามทำตาม วิธีนี้อยู่บ้านก็ฝึกได้ เช่น เวลาเราดู โทรทัศน์ก็ลองทำปากเลียบแบบในทีวีและพูดตาม
2. พูดช้าๆ ไว้ (จนกว่าเราจะพูดสำเนียงที่ถูกต้องได้) การพูดช้าๆ ให้คู่สนทนาฟังรู้เรื่อง แน่นอนว่าต้องดีกว่าพูดเร็วปรื๋อฟังเผินๆ สำเนียงดี แต่ฝรั่งงงเพราะฟังเราไม่รู้เรื่องโขเลยล่ะค่ะ
3. ฟังเพลงภาษาอังกฤษ วิธีนี้น่าจะถูกใจใครหลายๆ คน ได้ฝึกภาษา ได้ศึกษาความแตกต่างของดนตรีในแต่ละภาษา แถมยังเพลินอีกต่างหาก
4. ใช้พจนานุกรม พออ่านมาถึงตอนนี้หลายคนบอกว่า ก็ใช้อยู่นะ เอ๋.. ไม่ใช่แค่ใช้หาศัพท์ค่า แต่คุณในฐานะผู้กำลังมีความมุ่งมั่นจะพูดภาษาอังกฤษเก่ง ถ้าเกิดว่าสามารถใช้ตัว Phonetics (สัทอักษร - สัญลักษณ์ที่ถอดเสียงคำอ่านภาษาอังกฤษ) ที่อยู่ในดิกชันนารีได้ การจะพูดให้เหมือนฝรั่งก็ไม่ไกลเกินเอื้อมแล้ว เพราะคุณจะมีเสียงของทุกคำอยู่ในมือ เพียงแค่พลิกเปิดหาในดิกชันนารี แล้วออกเสียงตามเท่านั้น น่าสนใจใช่ไหมล่ะค่ะ
5. ทำบัญชีคำศัพท์ใช้บ่อยที่คุณคิดว่าออกเสียงยากแล้วลองนำคำศัพท์พวกนี้ไปให้คนที่พูดภาษาอังกฤษเก่งเค้าช่วยออกเสียงเป็นตัวอย่างให้ โอ๊ะ แต่ถ้าคุณกำลังคิดว่า"รอบๆตัวฉันไม่มีใครมีคุณสมบัตินี้ซักคน แล้วจะทำไงดีล่ะเนี่ย" ก็ข้ามไปอ่านข้อต่อไปเลยค่า
6. หาหนังสือที่มีเทปหรือซีดีไว้หัดพูดตามได้มาฝึก วิธีนี้เป็นอีกวิธีหนึ่งที่จะช่วยคุณได้ฝึกอ่านจากหนังสือ แล้วออกเสียงตามจากเทปหรือซีดี หรือจะฝึกฟังก่อนแล้วค่อยไปเปิดหนังสือเช็ค ความแม่นยำของของทักษะการฟังคุณก็ยังได้ เวิร์กแน่นอนค่า
7. ออกเสียงท้ายคำ อีกปัญหาหนึ่งของคนไทยก็คือการละเลยการออกเสียงท้ายคำนะคะ แต่ถ้าอยากพูดให้เหมือนคุณฝรั่ง ต่อไปนี้ต้องเตือนตัวเองไม่ให้ลืมจุดนี้เด็ดขาดนะจ๊ะ โดยเฉพาะเสียง S และ ED การออกเสียงท้ายคำจะช่วยให้กล้ามเนื้อปากที่ใช้เวลา ออกเสียงภาษาอังกฤษของคุณ แข็งแรงขึ้นค่ะ
8. อ่านภาษาอังกฤษออกเสียงดังๆ ทุกๆ วัน วันละ 15-20 นาที จากผลการวิจัยที่ชี้ว่าการทำ อย่างนี้ติดต่อกันเป็นเวลา 3 เดือน จะช่วยให้กล้ามเนื้อปากแข็งแรงเหมาะสำหรับการฝึกพูดภาษาใหม่ๆ
9. อัดเสียงตัวเองเอาไว้ฟังเพื่อเช็คข้อผิดพลาดของตน คนเราส่วนใหญ่มักจะฟังที่คนอื่นพูด แต่ไม่ค่อยจะสนใจเสียงที่ตัวเองพุดออกไปเท่าไหร่ แต่ถ้าคุณอยากรู้ข้อผิดพลาดของตัวเองล่ะก็ จงทำค่ะ เพราะเมื่อเรารู้ว่าเราบกพร่องตรงไหนแล้ว ก็จะได้แก้ปัญหาให้ถูกจุดยังไง ล่ะคะ
10. อดทนฝึกๆๆๆ หัดๆๆๆๆ และพยายามไปเรื่อยๆ มีคนจำนวนไม่น้อยเลยล่ะค่ะที่หวังจะ เก่งขึ้นมาให้ได้ภายในเวลาอันรวดเร็ว และพอไม่ได้ก็จะเกิดอาการท้อแท้ขึ้นมาอย่างรวดเร็วเช่นกัน คนเราเก่งไม่ได้ในชั่วข้ามคืนหรอกนะคะ ต้องท่องเอาไว้ค่ะว่า ความ พยายามอยู่ที่ไหน ความสำเร็จอยู่ที่นั่น
ที่มา http://in.rediff.com/getahead/2005/sep/02accent.htm
วันอาทิตย์ที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2552
วันพุธที่ 23 กันยายน พ.ศ. 2552
เคล็ดไม่ลับในการที่จะทำให้งานเขียนของคุณดูเป็นมืออาชีพ
งานเขียนที่ดีต้องประกอบด้วย 3 ส่วนคือ
Introduction: บทนำที่สามารถดึงดูดใจให้ผู้อ่านสนใจและอยากอ่านต่อ รวมทั้งบอกให้ผู้อ่านทราบถึงเรื่องราวที่กำลังจะเกิดขึ้น ในบางครั้ง เราบอกว่าบทนำก็คือ “Tell them what you are going to tell.”
Body: เนื้อหาเป็นส่วนสำคัญของการเขียนทั้งหมด ความคิดและสิ่งที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านคล้อยตามจะอยู่ในส่วนเนื้อหานี้ การจัดวางรูปแบบรวมทั้งการใช้ตัวอย่าง, ข้อมูล, เรื่องเล่าเพื่อสนับสนุนสิ่งที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ส่วนเนื้อหานี้หนังสือบางเล่มก็บอกว่าคือส่วนที่ “Tell them.” หรือการเล่าเรื่องราวที่อยากจะเล่า
Conclusion: บทสรุปเป็นการกล่าวย้อนถึงเนื้อหาที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมขอย้ำนะครับว่าเป็นเรื่องราวที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น เฉพาะในการเขียนบางประเภทเท่านั้นที่ผู้เขียนอาจจะสามารถตั้งคำถามหรือ ประเด็นใหม่ให้ผู้อ่านฉงนและนำไปคิดต่อได้ หากแต่โดยปกติแล้วเป็นเพียงการกล่าวย้อนเหมือนคำที่ว่า “Tell them what you have just told.”
Introduction: บทนำที่สามารถดึงดูดใจให้ผู้อ่านสนใจและอยากอ่านต่อ รวมทั้งบอกให้ผู้อ่านทราบถึงเรื่องราวที่กำลังจะเกิดขึ้น ในบางครั้ง เราบอกว่าบทนำก็คือ “Tell them what you are going to tell.”
Body: เนื้อหาเป็นส่วนสำคัญของการเขียนทั้งหมด ความคิดและสิ่งที่ผู้เขียนต้องการให้ผู้อ่านคล้อยตามจะอยู่ในส่วนเนื้อหานี้ การจัดวางรูปแบบรวมทั้งการใช้ตัวอย่าง, ข้อมูล, เรื่องเล่าเพื่อสนับสนุนสิ่งที่ผู้เขียนต้องการถ่ายทอดนั้นเป็นสิ่งที่สำคัญ ส่วนเนื้อหานี้หนังสือบางเล่มก็บอกว่าคือส่วนที่ “Tell them.” หรือการเล่าเรื่องราวที่อยากจะเล่า
Conclusion: บทสรุปเป็นการกล่าวย้อนถึงเนื้อหาที่ได้กล่าวมาแล้ว ผมขอย้ำนะครับว่าเป็นเรื่องราวที่ได้กล่าวมาแล้วเท่านั้น เฉพาะในการเขียนบางประเภทเท่านั้นที่ผู้เขียนอาจจะสามารถตั้งคำถามหรือ ประเด็นใหม่ให้ผู้อ่านฉงนและนำไปคิดต่อได้ หากแต่โดยปกติแล้วเป็นเพียงการกล่าวย้อนเหมือนคำที่ว่า “Tell them what you have just told.”
วันพุธที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2552
กษาปน์
วันนี้ได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมโรงกษาปน์
แหล่งผลิตเหรียญเพื่อใช้ในประเทศ
นอกจากจะผลิตเงินเหรียญแล้ว
ยังผลิตเหรียญที่ระลึกและเครื่องราชย์
ได้ทราบกระบวนการผลิต
ชนิดและประเภทของเหรียญ
ได้ทราบว่าเงินเหรียญมีตั้ง 9 ชนิด
และอื่นๆ
สรุป ได้ความรู้เยอะมากครับ
แหล่งผลิตเหรียญเพื่อใช้ในประเทศ
นอกจากจะผลิตเงินเหรียญแล้ว
ยังผลิตเหรียญที่ระลึกและเครื่องราชย์
ได้ทราบกระบวนการผลิต
ชนิดและประเภทของเหรียญ
ได้ทราบว่าเงินเหรียญมีตั้ง 9 ชนิด
และอื่นๆ
สรุป ได้ความรู้เยอะมากครับ
วันพฤหัสบดีที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2552
How to prepare a presentation
หลายท่านคงมีโอกาสได้เสนอผลงาน ไม่ว่าจะเป็นวิชาการหรือด้านอื่นๆ ก็ตาม ก็ต้องมีการเตรียมตัวที่ดี ซึ่งมีการข้อแนะนำดังนี้
1. Have a strong opening sentence to capture your audience.
2. Hand out at least one piece of paper.
3. Respect your audience.
4. Use humor, it helps.
5. Eye contact is very important
6. Speak to the audience, do not read.
7. Practice, it pays.
8. Speak slowly and leave gaps for questions
1. Have a strong opening sentence to capture your audience.
2. Hand out at least one piece of paper.
3. Respect your audience.
4. Use humor, it helps.
5. Eye contact is very important
6. Speak to the audience, do not read.
7. Practice, it pays.
8. Speak slowly and leave gaps for questions
สมศ.ประเมินมหาวิทยาลัยรอบ2ม.วิจัย"มทม.มทส."แซง"จุฬาฯ"
คมชัดลึก : http://www.komchadluek.net/detail/20090910/27884/สมศ.ประเมินมหาวิทยาลัยรอบ2ม.วิจัยมทม.มทส.แซงจุฬาฯ.html
สมศ.เผยผลการประเมินมหาวิทยาลัย รอบ 2 ไม่รับรอง 16 แห่ง จาก 202 แห่ง ประเภทมหาวิทยาลัยวิจัย คะแนนมหาวิทยาลัยเอกชนนำมหาวิทยาลัยรัฐ อย่างจุฬาฯ แนะควรเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเอกชนเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สาขายอดฮิต ทั้งมนุษยศาสตร์ บริหาร หลักสูตรไม่ผ่านเพียบ พบใน 29 มหาวิทยาลัยต้องมีอย่างน้อย 1 หลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน แนะปรับปรุงด่วนหวั่นกระทบปัญหาเรื่องคุณภาพบัณฑิต
เมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่อาคารพญาไท พลาซ่า ศ.เกียรติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) (องค์การมหาชน) แถลงข่าวผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2 ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2549-2551 ว่าจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2 ซึ่งประเมินมหาวิทยาลัยทั้งหมด 202 แห่ง พบว่า มีมหาวิทยาลัยที่ผ่านการประเมิน 186 แห่ง ไม่ผ่านการรับรอง มีทั้งหมด 16 แห่ง แบ่งเป็นไม่รับรอง 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยที่รอพินิจ 10 แห่ง
โดยแบ่งตามประเภทมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย จำนวน 23 แห่ง โดยผ่านระดับดีมาก 11แห่ง ได้แก่ ม.เทคโนโลยีมหานคร ได้ 4.86, ม.เทคโนโลยีสุรนารี 4.76, ม.อุบลราชธานี 4.70, ม.ธรรมศาสตร์ 4.67, ม.สงขลานครินทร์ 4.65, ม.ขอนแก่น 4.62, จุฬาฯ 4.62, ม.เกษตรศาสตร์ 4.57, ม.นเรศวร 4.56, ม.เชียงใหม่ 4.53, ม.มหิดล 4.53
และระดับดี 12 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 4.36, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 4.35, ม.แม่โจ้ 4.34, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 4.33, ม.มหาสารคาม 4.27, ส.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 4.27, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 4.20, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4.19, ม.ศิลปากร 4.11, ม.ชินวัตร 3.86, ม.คริสเตียน 3.83, ม.บูรพา 3.80 โดยทั้ง 23 แห่งผ่านการรับรองมาตรฐานจาก สมศ.
ศ.เกียรติคุณ ดร.สมหวัง กล่าวต่อว่า จากผลการประเมิน เป็นที่น่าสังเกตว่า ม.เทคโนโลยีมหานคร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน กลับได้คะแนนในระดับดีมากในกลุ่มของมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งแตกต่างจากมหาวิทยาลัยรัฐ หรือมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ อีกทั้ง ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ กลับอยู่ในระดับดี จึงอยากให้ รมว.ศึกษาธิการ ลองพิจารณาให้การสนับสนุนงบวิจัยกับมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในสังคม เพราะเอกชนลงทุนเพื่อการศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีคะแนนสูงกว่ามหาวิทยาลัยเก่าชื่อดัง น่าจะเป็นเพราะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ บุคลากรเป็นคนหนุ่มสาวที่มีไฟ
ส่วนมหาวิทยาลัยเก่า ก็อาจจะไม่ฟิตเท่า หรือมีไขมันมาก นอกจากนี้การขยายวิทยาเขตใหม่ๆ ก็เป็นตัวฉุดให้คะแนนของมหาวิทยาลัยเก่า เพราะเท่ากับเป็นการเริ่มต้นใหม่ อย่างเช่น ม.ศิลปากร และมศว เมื่อพิจารณาหลักสูตรและการเรียนการสอนระดับดีมาก 6 แห่ง ระดับดี 15 แห่ง และระดับพอใช้ 2 แห่ง โดยเฉพาะในส่วนของมศว ผลการประเมินของสมศ.ตรงกับการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่อยู่ในระดับพอใช้เช่นกัน
2.กลุ่มเน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม มี 101 แห่ง พบว่า ได้รับการรับรอง 98 แห่ง รอพินิจ 2 แห่ง และไม่ผ่านการประเมิน 1 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยที่ได้ในคะแนนระดับดีมาก มีเพียง 26 แห่ง ระดับดี 74 แห่ง และควรปรับปรุง 1 แห่ง 3.กลุ่มเน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม มีทั้งหมด 15 แห่ง พบว่า ได้รับการรับรอง 13 แห่ง รอพินิจ 2 แห่ง และทั้ง 15 แห่ง ได้คะแนนประเมินในระดับดี 4.กลุ่มเน้นการผลิตบัณฑิต มี 63 แห่ง พบว่า ได้รับการรับรอง 52 แห่ง รอพินิจ 6 แห่ง และไม่รับรอง 5 แห่ง
ทั้งนี้ หากแบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชา แบ่งเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2.กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ 3.กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 4.กลุ่มสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 5.กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ 6.กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ 7.กลุ่มสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 8.กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ 9.กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ10.กลุ่มสาขาวิชาสหวิทยาการ ซึ่งกลุ่มสาขาที่มีมหาวิทยาลัยเปิดสอนเยอะที่สุด คือกลุ่มที่ 6 สาขาบริหารธุรกิจฯ และเป็นกลุ่มที่สมศ.ไม่รับรองมากที่สุด ถึง 14 สาขา
รองลงมา คือกลุ่มที่ 9 สาขามนุษยศาสตร์ฯ ไม่รับรอง14 สาขา จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มสาขาที่สมศ.ไม่รับรองมีการเปิดการเรียนการสอนจำนวนมากในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชา 3 กลุ่มสาขาที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ 1.สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2.สาขาวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ และ3.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ไม่งั้นจะกระทบต่อคุณภาพของบัณฑิตที่จบออกไปจากสถาบันดังกล่าว
ผอ.สมศ.กล่าวอีกว่า รายละเอียดของผลการประเมินดังกล่าว สมศ.ได้ประกาศต่อสาธารณชนทางเว็บไซต์ของ สมศ. และสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งที่ได้รับการรับรองและไม่ได้รับการรับรองจากสมศ. ก็ยอมรับผลการประเมินของ สมศ. ทั้งนี้ในส่วนของสถาบันที่รอการพินิจ 10 แห่ง จะกลับไปปรับปรุงพัฒนาภายใน 6 เดือนถึง 1 ปี และเข้ารับการประเมินจาก สมศ.อีกครั้ง ส่วนที่ไม่ผ่านการรับรอง 6 แห่ง ได้เสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เข้าไปช่วยพัฒนาปรับปรุงอีก 2 ปี ซึ่งจะสามารถเข้ารับการประเมินอีกครั้งในรอบที่สาม ในปี 2554 ในส่วนขณะที่มหาวิทยาลัยใน 29 สถาบันอุดมศึกษา ใน 202 แห่ง ที่สมศ.ประเมินพบว่า มีอย่างน้อย 1 กลุ่มสาขาวิชาที่สมศ.ไม่รับรอง
“ผลการประเมินมหาวิทยาลัยรอบ 2 หากเปรียบเทียบกับรอบแรกนั้นทางด้านงานวิจัย ถือว่ามหาวิทยาลัยยังไม่ได้มีการพัฒนาอย่างชัดเจน ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาอยู่ในระดับดีขึ้นมาเล็กน้อย ประกันคุณภาพภายในดีขึ้นกว่าเดิม การทำนุบำรุงดีมากขึ้น ดังนั้น ทำให้เห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีการพัฒนา แต่อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัย และทุกสาขาวิชาควรจะผ่านการรับรองจากสมศ.ทั้งหมด เพราะการประเมินของสมศ.นั้นใช้เกณฑ์ขั้นต่ำที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของมหาวิทยาลัย” ศ.เกียรติคุณ ดร.สมหวังกล่าว
สมศ.เผยผลการประเมินมหาวิทยาลัย รอบ 2 ไม่รับรอง 16 แห่ง จาก 202 แห่ง ประเภทมหาวิทยาลัยวิจัย คะแนนมหาวิทยาลัยเอกชนนำมหาวิทยาลัยรัฐ อย่างจุฬาฯ แนะควรเปิดโอกาสให้มหาวิทยาลัยเอกชนเป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ สาขายอดฮิต ทั้งมนุษยศาสตร์ บริหาร หลักสูตรไม่ผ่านเพียบ พบใน 29 มหาวิทยาลัยต้องมีอย่างน้อย 1 หลักสูตรที่ไม่ได้มาตรฐาน แนะปรับปรุงด่วนหวั่นกระทบปัญหาเรื่องคุณภาพบัณฑิต
เมื่อวันที่ 8 กันยายน ที่อาคารพญาไท พลาซ่า ศ.เกียรติคุณ ดร.สมหวัง พิธิยานุวัฒน์ ผู้อำนวยการสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (สมศ.) (องค์การมหาชน) แถลงข่าวผลการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2 ระดับอุดมศึกษา พ.ศ.2549-2551 ว่าจากการประเมินคุณภาพภายนอกรอบ 2 ซึ่งประเมินมหาวิทยาลัยทั้งหมด 202 แห่ง พบว่า มีมหาวิทยาลัยที่ผ่านการประเมิน 186 แห่ง ไม่ผ่านการรับรอง มีทั้งหมด 16 แห่ง แบ่งเป็นไม่รับรอง 6 แห่ง และมหาวิทยาลัยที่รอพินิจ 10 แห่ง
โดยแบ่งตามประเภทมหาวิทยาลัยออกเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มเน้นการผลิตบัณฑิตและวิจัย จำนวน 23 แห่ง โดยผ่านระดับดีมาก 11แห่ง ได้แก่ ม.เทคโนโลยีมหานคร ได้ 4.86, ม.เทคโนโลยีสุรนารี 4.76, ม.อุบลราชธานี 4.70, ม.ธรรมศาสตร์ 4.67, ม.สงขลานครินทร์ 4.65, ม.ขอนแก่น 4.62, จุฬาฯ 4.62, ม.เกษตรศาสตร์ 4.57, ม.นเรศวร 4.56, ม.เชียงใหม่ 4.53, ม.มหิดล 4.53
และระดับดี 12 แห่ง ได้แก่ วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า 4.36, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ 4.35, ม.แม่โจ้ 4.34, สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ 4.33, ม.มหาสารคาม 4.27, ส.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง 4.27, ม.ศรีนครินทรวิโรฒ 4.20, ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี 4.19, ม.ศิลปากร 4.11, ม.ชินวัตร 3.86, ม.คริสเตียน 3.83, ม.บูรพา 3.80 โดยทั้ง 23 แห่งผ่านการรับรองมาตรฐานจาก สมศ.
ศ.เกียรติคุณ ดร.สมหวัง กล่าวต่อว่า จากผลการประเมิน เป็นที่น่าสังเกตว่า ม.เทคโนโลยีมหานคร ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเอกชน กลับได้คะแนนในระดับดีมากในกลุ่มของมหาวิทยาลัยวิจัย ซึ่งแตกต่างจากมหาวิทยาลัยรัฐ หรือมหาวิทยาลัยในกำกับรัฐ อีกทั้ง ม.เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ กลับอยู่ในระดับดี จึงอยากให้ รมว.ศึกษาธิการ ลองพิจารณาให้การสนับสนุนงบวิจัยกับมหาวิทยาลัยเอกชน เพื่อสร้างความเป็นธรรมและความเท่าเทียมในสังคม เพราะเอกชนลงทุนเพื่อการศึกษา ส่วนมหาวิทยาลัยอุบลราชธานี ซึ่งมีคะแนนสูงกว่ามหาวิทยาลัยเก่าชื่อดัง น่าจะเป็นเพราะเป็นมหาวิทยาลัยใหม่ บุคลากรเป็นคนหนุ่มสาวที่มีไฟ
ส่วนมหาวิทยาลัยเก่า ก็อาจจะไม่ฟิตเท่า หรือมีไขมันมาก นอกจากนี้การขยายวิทยาเขตใหม่ๆ ก็เป็นตัวฉุดให้คะแนนของมหาวิทยาลัยเก่า เพราะเท่ากับเป็นการเริ่มต้นใหม่ อย่างเช่น ม.ศิลปากร และมศว เมื่อพิจารณาหลักสูตรและการเรียนการสอนระดับดีมาก 6 แห่ง ระดับดี 15 แห่ง และระดับพอใช้ 2 แห่ง โดยเฉพาะในส่วนของมศว ผลการประเมินของสมศ.ตรงกับการประเมินคุณภาพภายในของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) ที่อยู่ในระดับพอใช้เช่นกัน
2.กลุ่มเน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาสังคม มี 101 แห่ง พบว่า ได้รับการรับรอง 98 แห่ง รอพินิจ 2 แห่ง และไม่ผ่านการประเมิน 1 แห่ง โดยมหาวิทยาลัยที่ได้ในคะแนนระดับดีมาก มีเพียง 26 แห่ง ระดับดี 74 แห่ง และควรปรับปรุง 1 แห่ง 3.กลุ่มเน้นการผลิตบัณฑิตและพัฒนาศิลปะและวัฒนธรรม มีทั้งหมด 15 แห่ง พบว่า ได้รับการรับรอง 13 แห่ง รอพินิจ 2 แห่ง และทั้ง 15 แห่ง ได้คะแนนประเมินในระดับดี 4.กลุ่มเน้นการผลิตบัณฑิต มี 63 แห่ง พบว่า ได้รับการรับรอง 52 แห่ง รอพินิจ 6 แห่ง และไม่รับรอง 5 แห่ง
ทั้งนี้ หากแบ่งเป็นกลุ่มสาขาวิชา แบ่งเป็น 10 กลุ่ม ได้แก่ 1.กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 2.กลุ่มสาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ 3.กลุ่มสาขาวิชาวิศวกรรมศาสตร์ 4.กลุ่มสาขาสถาปัตยกรรมศาสตร์ 5.กลุ่มสาขาเกษตรศาสตร์ 6.กลุ่มสาขาวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ 7.กลุ่มสาขาวิชาครุศาสตร์/ศึกษาศาสตร์ 8.กลุ่มสาขาวิชาศิลปกรรม วิจิตรศิลป์ และประยุกต์ศิลป์ 9.กลุ่มสาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ และ10.กลุ่มสาขาวิชาสหวิทยาการ ซึ่งกลุ่มสาขาที่มีมหาวิทยาลัยเปิดสอนเยอะที่สุด คือกลุ่มที่ 6 สาขาบริหารธุรกิจฯ และเป็นกลุ่มที่สมศ.ไม่รับรองมากที่สุด ถึง 14 สาขา
รองลงมา คือกลุ่มที่ 9 สาขามนุษยศาสตร์ฯ ไม่รับรอง14 สาขา จึงเป็นที่น่าสังเกตว่า กลุ่มสาขาที่สมศ.ไม่รับรองมีการเปิดการเรียนการสอนจำนวนมากในมหาวิทยาลัย อย่างไรก็ตาม หากมีการปรับปรุงหลักสูตรสาขาวิชา 3 กลุ่มสาขาที่ต้องพัฒนาอย่างเร่งด่วน ได้แก่ 1.สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 2.สาขาวิชาบริหารธุรกิจ พาณิชยศาสตร์ การบัญชี การจัดการ การท่องเที่ยว และเศรษฐศาสตร์ และ3.สาขาวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพและชีวภาพ ไม่งั้นจะกระทบต่อคุณภาพของบัณฑิตที่จบออกไปจากสถาบันดังกล่าว
ผอ.สมศ.กล่าวอีกว่า รายละเอียดของผลการประเมินดังกล่าว สมศ.ได้ประกาศต่อสาธารณชนทางเว็บไซต์ของ สมศ. และสถาบันอุดมศึกษาทุกแห่งที่ได้รับการรับรองและไม่ได้รับการรับรองจากสมศ. ก็ยอมรับผลการประเมินของ สมศ. ทั้งนี้ในส่วนของสถาบันที่รอการพินิจ 10 แห่ง จะกลับไปปรับปรุงพัฒนาภายใน 6 เดือนถึง 1 ปี และเข้ารับการประเมินจาก สมศ.อีกครั้ง ส่วนที่ไม่ผ่านการรับรอง 6 แห่ง ได้เสนอสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา ให้เข้าไปช่วยพัฒนาปรับปรุงอีก 2 ปี ซึ่งจะสามารถเข้ารับการประเมินอีกครั้งในรอบที่สาม ในปี 2554 ในส่วนขณะที่มหาวิทยาลัยใน 29 สถาบันอุดมศึกษา ใน 202 แห่ง ที่สมศ.ประเมินพบว่า มีอย่างน้อย 1 กลุ่มสาขาวิชาที่สมศ.ไม่รับรอง
“ผลการประเมินมหาวิทยาลัยรอบ 2 หากเปรียบเทียบกับรอบแรกนั้นทางด้านงานวิจัย ถือว่ามหาวิทยาลัยยังไม่ได้มีการพัฒนาอย่างชัดเจน ในเรื่องการพัฒนาคุณภาพนักศึกษาอยู่ในระดับดีขึ้นมาเล็กน้อย ประกันคุณภาพภายในดีขึ้นกว่าเดิม การทำนุบำรุงดีมากขึ้น ดังนั้น ทำให้เห็นได้ว่ามหาวิทยาลัยส่วนใหญ่มีการพัฒนา แต่อย่างไรก็ตาม มหาวิทยาลัย และทุกสาขาวิชาควรจะผ่านการรับรองจากสมศ.ทั้งหมด เพราะการประเมินของสมศ.นั้นใช้เกณฑ์ขั้นต่ำที่เหมาะสมกับแต่ละประเภทของมหาวิทยาลัย” ศ.เกียรติคุณ ดร.สมหวังกล่าว
วันพุธที่ 2 กันยายน พ.ศ. 2552
บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
คนเรา ถ้ามีความเพียรเสียอย่าง อุปสรรคอะไรมาขวางกั้น ก็ผ่านไปได้เสมอ
"วิริเยน ทุกขมัจเจติ"
บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
เมื่อมีความเพียรหมั่นขยันไม่ท้อแท้แล้ว สำเร็จได้ทุกคน
ความเพียรที่พูดนี้ คือความเพียรเพื่อจะละกิเลสที่มีอยู่นั่นแหละ
จึงจะเป็นไปเพื่อพ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร
"วิริเยน ทุกขมัจเจติ"
บุคคลล่วงทุกข์ได้เพราะความเพียร
เมื่อมีความเพียรหมั่นขยันไม่ท้อแท้แล้ว สำเร็จได้ทุกคน
ความเพียรที่พูดนี้ คือความเพียรเพื่อจะละกิเลสที่มีอยู่นั่นแหละ
จึงจะเป็นไปเพื่อพ้นทุกข์ภัยในวัฏสงสาร
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)
การกัดกร่อนกับท่อทองแดงแบบรังมด (Ant-nest corrosion)
วันนี้มีเคสจากหน่วยงานขนส่งมวลแห่งหนึ่งแจ้งว่าท่อทองแดงในระบบเครื่องปรับอากาศเกิดการกัดกร่อนแล้วนำมาสู่การรั่วมาปรึกษา ผมจำได้ว่าเคยวิเคราะห...
-
วันนี้เราเรียนรู้รูปแบบการเสียหายของวัสดุในรูปแบบถัดมา นั่นก็คือ การล้า หรือ Fatigue จะมีรายละเอียดเป็นอย่างไร เชิญติดตามได้เลยครับ คำว่า ...
-
cr : https://doi.org/10.1016/j.ijplas.2023.103601 เมื่อชิ้นส่วนโลหะถูกนำมาใช้งานภายใต้สภาวะอุณหภูมิสูงในขณะเดียวกันก็รับความเค้นแรงดึงไปด้ว...
-
วันนี้ขอนำเสนอรูปแบบการเสียหายของวัสดุแบบที่ 2 คือ การเสียหายแบบเหนียว วัสดุเหนียวที่ถูกใช้งานภายใต้สภาวะการรับความเค้นแรงดึง (Tensile Str...