วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

Corrosion Fatigue Failure of Aloha Airline

Aloha Airlines Flight 243 บินจาก Hilo ไป Honolulu เมื่อวันที่ 28 เมษายน 1988 มีผู้โดยสาร 89 คน มีพนักงานต้อนรับ 3 คน เครื่องบินเป็นแบบ B737-200 ขณะนั้นผู้โดยสารยังรัดเข็มขัดอยู่ มีพนักงานต้อนรับถูกดูดออกไปคนหนึ่งและเสียชีวิต Flight นี้ มีผู้เสียชีวิตคนเดียว บาดเจ็บสาหัส 8 คนเป็นพนักงานต้อนรับ1 คน บาดเจ็บไม่สาหัส 57 คน และไม่ได้รับบาดเจ็บเลย 3 คน ได้เกิดความเสียหาย ซี่งส่วนใหญ่เป็นชิ้นส่วนด้านบนของลำตัวเครื่องบิน ขณะที่มันบินอยู่ที่ความสูง 24000 ft เนื่องจากแผงลำตัวของเครื่องบินที่เชื่อมต่อกันตามรอยพับด้วยตัวหมุดย้ำ (rivet) ซึ่งมีความเค้นตกค้างจากการประกอบและความเค้นจากการปรับความดันภายในเครื่องได้เกิดการกัดกร่อน ซึ่งทำให้เกิดการแตกร้าวและไม่ยึดเกาะกัน เนื่องจากเกินอายุการใช้งานของเครื่องบิน (ในกรณีนี้อายุใช้งาน 19 ปี) ผลการตรวจสอบพบว่าเป็นการเสียหายด้วยกลไกการล้าร่วมกับการกัดกร่อน (Corrosion Fatigue Cracking)

ปฏิสัมพันธ์ระหว่างการคืบและการล้า

ในสภาวะการใช้งานที่อุณหภูมิสูง วัสดุสามารถเกิดการคืบและการล้าในเวลาเดียวกันหรือเกิดขึ้นพร้อมกันได้ ซึ่งเป็นอันตรายต่อวัสดุอย่างมาก สำหรับการใช้งานวัสดุในสภาวะอุณหภูมิสูง ถ้าปรากฏลักษณะที่เกิดขึ้นดังกล่าวจะลดอายุการใช้งานของวัสดุลงอย่างมาก ยกตัวอย่าง เช่น ถ้าวัสดุเกิดการยืดตัวเนื่องจากการคืบในขณะที่มีการรับแรงเป็นคาบไปด้วย ดังนั้นอายุการใช้งานของวัสดุก็จะลดลงอย่างรวดเร็ว ผลที่เกิดขึ้นร่วมกันระหว่างการคืบและการล้าเป็นปัญหาที่หนักใจอย่างมากสำหรับนักออกแบบระบบเพื่อกำหนดอายุการใช้งานที่ชัดเจน ดังนั้น จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาและวิจัย เพื่อนำผลที่ได้ไปใช้ในการทำนายผลที่เกิดร่วมกันระหว่างการคืบและการล้าของวัสดุในการใช้งานที่สภาวะต่างๆ กัน

Metallurgical Failure Analysis and Prevention

เมื่อปลายเดือนกรกฎาคม 2553 ที่ผ่านมาผมได้ไปเข้าร่วม workshop ในหัวข้อ metallurgical failure analysis and prevention ที่ traders hotel ประเทศสิงคโปร์เป็นเวลา 3 วัน ก็ได้ความรู้เยอะ เนื่องจากวิทยากรมีประสบการณ์ในด้านนี้เป็นอย่างมาก โดยเฉพาะด้าน piping system ความรู้ที่ได้จากการร่วม workshop ดังกล่าวผมจะนำมาใช้ในการทำงานเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ และใช้ในการถ่ายทอดให้กับภาคอุตสาหกรรม เช่น ในการสัมมนาหรือการวิเคราะห์ความเสียหายให้กับภาคเอกชน ซึ่งในวันสุดท้ายก็ได้รับประกาศนียบัตร

รับใบประกาศนีบัตรจาก Mr.Shuler Cox

วันพุธที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2553

สัมมนาเรื่องการกัดกร่อนและการป้องกัน

ศูนย์เทคโนโลยีโลหะและวัสดุแห่งชาติสัมมนาเรื่อง การกัดกร่อนและการป้องกัน ในวันทื่ 8-9 ก.ย.53 อ่านเพิ่มได้ที่ http://www2.mtec.or.th/eventnstda/Template/index.aspx?EventID=S10083&ContentID=369

สำหรับผมจะบรรยายในหัวข้อ การวิเคราะห์ความเสียหายของชิ้นส่วนที่เกิดการกัดกร่อนและกรณีตัวอย่าง

กรณีตัวอย่างที่ผมจะนำเสนอมีหลายกรณี ยกตัวอย่าง เช่น
1.การแตกร้าวของไอน้ำด้วยกลไก caustic SCC
2.การเสียหายของชิ้นส่วน hook ด้วยกลไก hydrogen induced cracking (HIC)
3.การเสียหายของระบบท่อห้มฉนวนด้วยกลไก CUI และ SCC
4.การแตกหักของเพลาด้วยกลไก SCC
5.การเสียหายของลวดตะแกรงด้วยกลไก corrosion fatigue cracking (CFC)
6.การเสียหายของท่อลำเลียงไอน้ำด้วยกลไก Flow Accerlerated Corrosion (FAC)
7.การเสียหายของท่อลำเลียงสารเคมีด้วยกลไก intergranular corrosion
8.การเสียหายของท่อลำเลียงก๊าซธรรมชาติด้วยกลไก carburization
9.การเสียหายของท่อเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกลไก microbiologically induced corrosion (MIC)
10.การเสียหายของชิ้นส่วนยึดผนังห้องเย็นด้วยกลไก galvanic corrosion
11.การเสียหายของท่อทองเหลืองด้วยกลไก dezicification
12.การเสียหายของท่อทองแดงด้วยกบไก Ant-nest Corrosion
13.การเสียหายของกระป๋องบรรจุอาหารด้วยกลไก filiform corrosion
14.การเสียหายของท่อลำเลียงน้ำเสียด้วยกลไก grooving corrosion

ซึ่งในแต่ละ case จะกล่าวถึงข้อมูลเบื้องต้น ขั้นตอนและเครื่องมือที่ใช้ในการวิเคราะห์ ผลการวิเคราะห์ วิเคราะห์ผล สรุปผล และ ข้อเสนอแนะ

สมาคมการกัดกร่อนโลหะและวัสดุไทย

สำหรับรายละเอียดของสมาคมดูเพิ่มเติมได้ที่
http://www.tcma.or.th/

วันที่ 26 สิงหาคมจะมีการประชุมใหญ่ของสมาคมฯ และกิจกรรมต่างๆ มากมายดังรายละเอียดด้านล่าง

การล้างผิวเหล็กกล้าไร้สนิมด้วยกรด (Pickling) และการสร้างฟิล์ม (Passivation)

Image credit: https://www.safefoodfactory.com/en/editorials/54-pickling-and-passivating-stainless-steel/ เหล็กกล้าไร้สนิมสามารถเกิดการกัดกร่...